โรคเขตร้อน คือ โรคที่พบดาษดื่นหรือเฉพาะในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน แต่พบน้อยกว่าในเขตอบอุ่น เพราะการมีฤดูหนาวทำให้ประชากรแมลงลดลงเพราะต้องจำศีล ปัจจุบัน แมลงอย่างยุงและแมลงวันเป็นพาหะหรือตัวนำโรคที่พบมากที่สุด แมลงเหล่านี้อาจนำปรสิต แบคทีเรีย หรือไวรัส ซึ่งติดเชื้อมายังมนุษย์ และสัตว์ โรคเหล่านี้ติดต่อได้มากที่สุดโดย "การกัด" ของแมลง ซึ่งทำให้แพร่เชื้อโรคผ่านการแลกเปลี่ยนเลือดใต้หนัง สำหรับโรคเขตร้อนยังไม่มีวัคซีน และหลายโรคไม่มีหนทางรักษา

การสำรวจป่าดิบเขตร้อน การทำลายป่า การเข้าเมืองและการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการท่องเที่ยวในเขตร้อนอื่น เป็นสาเหตุให้อุบัติการณ์ของโรคเขตร้อนเพิ่มขึ้น[1][2]

อ้างอิง แก้