ในวิชาเศรษฐศาสตร์ โรคดัตช์ (อังกฤษ: Dutch disease) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตในภาคเศรษฐกิจหนึ่ง (เช่นการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ) แต่ไปทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆถดถอย (เช่นภาคการผลิตหรือเกษตรกรรม) สามารถอธิบายด้วยกลไกทางการค้าระหว่างประเทศคือ การที่ภาคเศรษฐกิจใดๆเติบโตขึ้นจะนำมาซึ่งเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติ ส่งผลให้สกุลเงินของประเทศแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ การแข็งค่าของสกุลเงินทำให้ประเทศมีต้นทุนในการส่งออกสูงขึ้นและมีต้นทุนการนำเข้าลดลง ทำให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกด้อยลง

เมื่อกล่าวถึงโรคดัตช์ โดยส่วนมากมักจะสื่อถึงการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อถึง "การเจริญเติบโตใดๆที่ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้าจำนวนมาก รวมถึงความผันผวนด้านราคาพลังงาน ด้านเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ"[1]

คำว่าโรคดัตช์ถูกบัญญัติขึ้นในค.ศ. 1977 โดยนิตยสาร The Economist เพื่ออธิบายถึงภาวะถดถอยของภาคการผลิตในประเทศเนเธอร์แลนด์ภายหลังค้นพบแหล่งก๊าซโกรนิงเงินซึ่งเป็นแหล่งก๊าซขนาดใหญ่เมื่อค.ศ. 1959[2] ตัวอย่างของโรคดัตช์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดคือประเทศเวเนซุเอลา การเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ในสมัยประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ ทำให้สกุลเงินโบลิวาร์แข็งค่าขึ้นมหาศาล กรุงการากัสกลายเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกตามอัตราแลกเปลี่ยน รายได้มหาศาลจากน้ำมันเพียงพอเลี้ยงดูประชากรทั้งประเทศ ทำให้ประเทศละเลยภาคเศรษฐกิจอื่นๆและต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทั้งหมด เมื่อเกิดภาวะราคาน้ำมันถดถอยอย่างรวดเร็วในค.ศ. 2014 ก็ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤตการทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา

อ้างอิง แก้

  1. Ebrahim-zadeh, Christine (March 2003). "Back to Basics – Dutch Disease: Too much wealth managed unwisely". Finance and Development, A quarterly magazine of the IMF. IMF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-17. This syndrome has come to be known as "Dutch disease". Although the disease is generally associated with a natural resource discovery, it can occur from any development that results in a large inflow of foreign currency, including a sharp surge in natural resource prices, foreign assistance, and foreign direct investment. Economists have used the Dutch disease model to examine such episodes, including the impact of the flow of American treasures into sixteenth-century Spain and gold discoveries in Australia in the 1850s.
  2. "The Dutch Disease" (November 26, 1977). The Economist, pp. 82–83.