โพนีเอกซ์เพรส (Pony Express) คือบริการไปรษณีย์ม้าด่วนข้ามทวีปอเมริกาเหนือจากเซนต์โยเซฟ มิสซูรีไปซาคราเมนโต แคลิฟอร์เนียระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2404 โดยใช้วิธีส่งเอกสารข้อความโดยการบรรทุกหลังม้าแล้วขี่ผลัดไปตามเส้นทางที่ราบทุ่งหญ้า ทะเลทราย และภูเขาตอนกลางของ อเมริกาตะวันตก บริการนี้ช่วยร่นเวลาการจัดส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่เคยส่งจากชายฝั่งแอตแลนติกไปยังฝั่งแปซิฟิกลงเหลือเพียง 10 วัน[1]

แฟรงค์ อี. เวบเบอร์ คนขี่โพนีเอกซ์เพรส ประมาณ พ.ศ. 2404
อนุสาวรีย์โพนีเอกซ์เพรส ที่เซนต์โยเซฟ รัฐมิสซูรี

จากการเดินทางที่ง่ายและสะดวกกว่าด้วยการขี่ม้าเมื่อเทียบกับการใช้รถสเตทโคชเทียมม้า ทำให้ผู้ริเริ่มการให้บริการโพนีเอกซ์เพรสคาดหวังว่าจะสามารถชนะและได้รับสัญญาจ้างงานจัดส่งไปษณีย์ภัณฑ์ของรัฐบาลมาไว้ในมือได้

บริการโพนีเอกซ์เพรสได้แสดงให้เห็นได้ว่าการควบรวมระบบบริการข้ามทวีปไว้ด้วยกันมีความเป็นไปได้ และจะทำให้การให้บริการทำได้ต่อเนื่องกันตลอดปี ซึ่งแต่ก่อนถือกันว่าไม่มีทางเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ดี โทรเลขข้ามทวีปที่ขึ้นและเข้ามาทดแทน ทำให้การให้บริการโพนีเอกซ์เพรสก้าวเข้าสู่ยุคโรมานซ์ของตำนาน "อเมริกันตะวันตก" (American West) กลายเป็นบริการที่ขึ้นอยู่กับความกล้าหาญอดทนของผู้ขี่ม้าเป็นรายบุคคลที่ต้องต่อสู้กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและรวมทั้งการกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน "ลูกผู้ชายอเมริกัน"

ประวัติ แก้

 
ที่ทำการใหญ่ที่ "พาทีเฮาส์" ในเมืองเซนต์โยเซฟ มิสซูรี

โพนีเอกซ์เพรสก่อตั้งโดยวิลเลียม เฮปเบิร์น รัสเซลล์ วิลเลียม บี. แวดเดลล์และอเลกซานเดอร์ เมเจอร์ เปิดทำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2404 การให้บริการเที่ยวไปตะวันตกใช้เวลา 10 วัน 7 ชั่วโมง 45 นาที บริการเที่ยวตะวันออกใช้เวลา 11 วัน กับ 12 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงม้าและคนขี่เดินทางได้เฉลี่ยประมาณ 400 กิโลเมตร บริการโพนีเอกเพรสเริ่มกิจการก่อนสงครามกลางเมืองประมาณ 1 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในการที่จะต้องติดต่อกับทางตะวันตกในขณะนั้น

เส้นทาง แก้

 
แผนที่เส้นทางโพนีเอกซ์เพรสจากการอุทยานแห่ง
 
เส้นทางโพนีเอกซ์เพรสช่วงผ่านรัฐยูทา

เส้นทางโพนีเอกซ์เพรสผ่านไปตามเส้นทางออริกอน เส้นทางมอร์มอน และเส้นทางแคลิฟอร์เนีย หลังจากข้ามแม่น้ำมิสซูรีที่เซนต์โยเซฟที่ไปแคนซัสจะไปตามเส้นทางของทางหลวงสาย ยูเอส 36 ในปัจจุบัน ที่มีชื่อปัจจุบันว่า "ทางหลวงโพนีเอกซ์เพรส" จากนั้นก็มุ่งสู่แมรีส์วิลล์ แคนซัส และเลี้ยวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือไปตามแม่น้ำบลูริเวอร์

เที่ยวแรก แก้

การขี่ม้าเดินทางเที่ยวแรกกำหนดออกจากซานฟรานซิสโกและและเซนต์โยเซฟพร้อมๆ กันในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2404 การเริ่มของเที่ยวสายตะวันตกได้รับการประโคมข่าวมากกว่าเที่ยวตะวันออกแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีภาพถ่ายของการรเริ่มออกเดินทางครั้งปฐมฤกษ์ของทั้งสองเที่ยวดังกล่าวและเชื่อกันว่าไม่ได้มีการถ่ายรูปโอกาสนี้ไว้

การปิดตัว แก้

 
สแตมป์ราคา 25 เซนต์ที่พิมพ์โดยบริษัทเวลส์ฟาร์โกถูกยกเลิกในเวอร์จิเนียซิตี เนวาดาและนำกลับมาใช้ใหม่ในการให้บริการโพนีเอกซ์เพรสที่ให้บริการระหว่างเวอร์จิเนียซิตีกับซาคราเมนโตที่เริ่มบริการเมื่อ พ.ศ. 2405
 
บริการไปรษณีย์ที่ใช้สัญลักษณ์โพนีเอกซ์เพรสก่อน พ.ศ. 2513 ไม่ได้เกิดจากแรงดลใจของโพนีเอกซ์เพรสอย่างที่เข้าใจกัน

แม้ว่าบริการของโพนีเอกซ์เพรสพิสูจน์ได้ว่าเส้นทางภาคกลางตอนเหนือมีกำไรและอยู่ได้ แต่รัสเซลล์ เมเจอร์และแวดเดิลกลับไม่ได้รับสัญญาจ้างในเส้นทางนั้น การจ้างกลับไปตกอยู่กับบริษัทโฮลลาเดย์ของเจเรมี ดีฮุต ผู้รับโอนกิจการจากบริษัทบัทเตอร์ฟิลด์สเตทในปี พ.ศ. 2404 และได้มารับช่วงสถานีม้าไปรษณีย์ของรัสเซลล์ เมเจอร์และแวดเดิลและใช้เป็นสถานีเสตทโคชของตน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2404 โพนีเอกซ์เพรสให้บริการจัดส่งไปรษณีย์เฉพาะเส้นทางระหว่างซอล์ทเลกซิตีกับซาคราเมนโต โพนีเอกซ์เพรสประกาศปิดตัวเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2404 เพียงสองวันหลังจากโทรเลขข้ามทวีปเปิดบริการถึงเมืองซอลท์เลก [2]

โพนีเอกซ์เพรสมีรายได้เพียง 90,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ขาดทุนถึง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังสงครามกลางเมืองเลิกในปี พ.ศ. 2409 โฮลลาเดย์ขายโพนีเอกซเพรสและทรัพย์สินต่างๆ ให้กับบริษัทเวลส์ฟาร์โก เป็นเงินถึง 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทเวลส์ฟาร์โกใช้สัญลักษ์โพนีเอกซ์เพรสในหน่วยรักษาความปลอดภัยและรถนิรภัยที่รับซื้อกิจการรักษาความปลอดภัยนี้มาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2538 และเลิกใช้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2544

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Bradley, Glenn D. The Story of the Pony Express: An Account of the Most Remarkable Mail Service Ever in Existence, and Its Place in History. Project Gutenberg Release #4671
  2. "The History stjosephmuseum.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้