โบฮีเมียนแรปโซดี (ภาพยนตร์)

โบฮีเมียนแรปโซดี (อังกฤษ: Bohemian Rhapsody) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติในปี ค.ศ. 2018 โดยเป็นเรื่องราวของเฟรดดี เมอร์คูรี นักร้องนำวงร็อกอังกฤษนามว่า ควีน โดยดำเนินเรื่องชีวิตของเขาตั้งแต่เริ่มเข้าวงในปี 1970 จนถึงการแสดงในคอนเสิร์ตไลฟ์เอดในปี 1985 ที่สนามเดิมของสนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอน ภาพยนตร์เป็นการร่วมทุนของบริษัทอังกฤษและอเมริกัน สร้างโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์, นิวรีเจนซี, จีเคฟิมส์ และควีนฟิมส์ โดยฟอกซ์ทำหน้าที่จัดจำหน่าย ภาพยนตร์กำกับโดยไบรอัน ซิงเงอร์ เขียนบทโดยแอนโทนี แม็กคาร์เทน และสร้างโดยเกรอัม คิง และผู้จัดการวงควีน จิม บีช นำแสดงโดยรามี แมลิก รับบทเป็นเมอร์คิวรี ร่วมด้วยลูซี บอยน์ตัน, กวิลิม ลี, เบน ฮาร์ดี, โจ แมซเซลโล, ไอแดน กิลเลน, ทอม ฮอลแลนเดอร์, อัลเลน ลีช และไมก์ ไมเยอส์ในบทสมทบ สมาชิกของวงควีน ไบรอัน เมย์และโรเจอร์ เทย์เลอร์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา

โบฮีเมียนแรปโซดี
กำกับไบรอัน ซิงเกอร์[a]
บทภาพยนตร์แอนโทนี แมคคาร์เทน
เนื้อเรื่อง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพนิวตัน ทอมัส ซีเกล
ตัดต่อจอห์น อ็อตแมน
ดนตรีประกอบจอห์น อ็อตแมน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย20th Century Fox
วันฉาย23 ตุลาคม ค.ศ. 2018 (2018-10-23)(SSE Arena)
24 ตุลาคม 2018 (สหราชอาณาจักร)
2 พฤศจิกายน 2018 (สหรัฐ)
ความยาว134 นาที[3]
ประเทศ
  • สหราชอาณาจักร[4]
  • สหรัฐ[4]
ทุนสร้าง$50–55 ล้าน
ทำเงิน$903.7 ล้าน[5]

มีการประกาศจะสร้าง โบฮีเมียนแรปโซดี ตั้งแต่ปี 2010 โดยจะให้ซาชา บารอน โคเฮนรับบทเมอร์คิวรี หลังจากนั้นเขาออกจากโครงการนี้ในปี 2013 เนื่องด้วยความคิดที่ต่างกับเหล่าผู้สร้าง จนได้พับโครงการนี้อีกหลายปี ก่อนที่แมลิกจะเข้ามารับบทนี้ในเดือนพฤศจิกายน 2016 ไบรอัน ซิงเงอร์เริ่มกำกับในเดือนกันยายน 2017 ที่ลอนดอน แต่ถูกไล่ออกในเดือนธันวาคม 2017 เนื่องจากมีความขัดแย้งกับนักแสดงและทีมงาน เดกซ์เตอร์ เฟลตเชอร์ซึ่งเริ่มกำกับภาพยนตร์นี้ตั้งแต่ช่วงแรกในขั้นตอนพัฒนาจึงได้รับการว่าจ้างให้มากำกับภาพยนตร์ให้ลุล่วงไป แต่เครดิตผู้กำกับภาพยนตร์ยังคงเป็นของซิงเงอร์ ตามคู่มือสมาคมผู้กำกับแห่งอเมริกา ส่วนเฟลตเชอร์ได้รับเครดิตในฐานะผู้อำนวยการสร้างและภาพยนตร์ถ่ายทำเสร็จในเดือนมกราคม 2018

ภาพยนตร์ออกฉายในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2018 และในสหรัฐเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2018 ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งบวกและลบ ได้รับเสียวิจารณ์ในการนำเสนอชีวิตของเมอร์คิวรีและเพศสภาพของเขา รวมถึงสมาชิกคนอื่นของวงก็ได้รับคำวิจารณ์ แต่การแสดงของแมลิกและการดำเนินเพลงได้รับคำชม[6][7] ภาพยนตร์ยังมีเนื้อหาคลาดเคลื่อนจากความจริงหลายจุด[8] ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศ ทำรายได้รวมทั่วโลก 869 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีค่าผลิตราว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ทั่วโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 6 และสร้างสถิติบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศในฐานะภาพยนตร์ชีวประว้ติและภาพยนตร์แนวชีวิตมากที่สุดตลอดกาล

โบฮีเมียนแรปโซดี ได้รับหลายรางวัล ทั้ง 4 รางวัลใหญ่ในเวทีรางวัลออสการ์ครั้งที่ 91 ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (แมลิก), สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม, สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม และสาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทชีวิต จากงานมอบรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 76 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสมาคมผู้อำนวยการสร้างแห่งสหรัฐ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลบาฟตา สาขาภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม ส่วนแมลิกได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ และบาฟตา ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

อ้างอิง แก้

  1. Galuppo, Mia (12 June 2018). "Bryan Singer to Get Directing Credit on Queen Biopic 'Bohemian Rhapsody'". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 21 June 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Film releases". Variety Insight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2018. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
  3. "Bohemian Rhapsody (12A)". British Board of Film Classification. 19 October 2018. สืบค้นเมื่อ 27 October 2018.
  4. 4.0 4.1 "Bohemian Rhapsody (2018)". AllMovie. สืบค้นเมื่อ 24 September 2017.
  5. "Bohemian Rhapsody (2018)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ May 9, 2019.
  6. Yang, Rachel (23 October 2018). "'Bohemian Rhapsody' Sees Mixed Reviews as Critics Praise Rami Malek". Variety. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  7. Sblendorio, Peter (7 November 2018). "How 'Rhapsody' addresses Freddie Mercury's sexuality". The Detroit News. สืบค้นเมื่อ 9 November 2018.
  8. Greene, Andy (1 November 2018). "Fact-Checking the Queen Biopic, 'Bohemian Rhapsody'". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน