โทรทัศน์ภาคพื้นดิน

โทรทัศน์ภาคพื้นดิน (อังกฤษ: Terrestrial television) เป็นประเภทของการออกอากาศโทรทัศน์ที่สัญญาณโทรทัศน์ถูกส่งโดยคลื่นวิทยุจากเครื่องส่งสัญญาณภาคพื้นดิน (บนพื้นโลก) ของสถานีโทรทัศน์ ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีสายอากาศ คำว่า ภาคพื้นดิน นั้น พบได้ทั่วไปในทวีปยุโรปและแถบลาตินอเมริกา ในขณะที่ในสหรัฐจะเรียกว่า โทรทัศน์ออกอากาศ หรือ โทรทัศน์ผ่านเสาอากาศ (อังกฤษ: Over-the-air television; ชื่อย่อ: OTA) คำว่า "ภาคพื้นดิน" ใช้เพื่อแยกความแตกต่างของการออกอากาศโทรทัศน์ประเภทนี้จากเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (การออกอากาศผ่านดาวเทียมโดยตรง หรือ DBS) ซึ่งสัญญาณโทรทัศน์จะถูกส่งไปยังเครื่องรับจากดาวเทียม, โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสัญญาณจะถูกส่งไปยังเครื่องรับผ่านสายเคเบิล และไอพีทีวี ซึ่งรับสัญญาณผ่านทางอินเทอร์เน็ตสตรีม หรือบนเครือข่ายที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินจะออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ที่มีความถี่ระหว่าง 52 ถึง 600 เมกะเฮิรตซ์ ในย่านความถี่ VHF และ UHF เนื่องจากคลื่นวิทยุในแถบเหล่านี้เคลื่อนที่ตามแนวสายตา การรับสัญญาณจะถูกจำกัดด้วยขอบภาพที่มองเห็นได้ในระยะทาง 40-60 ไมล์ (64-97 กิโลเมตร)

เสาอากาศแบบ "หนวดกุ้ง" ในร่ม มักใช้สำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

โทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นเทคโนโลยีแรกที่ใช้ในการออกอากาศโทรทัศน์ บีบีซีเริ่มออกอากาศในปี ค.ศ. 1929 และในปี ค.ศ. 1930 สถานีวิทยุหลายแห่งมีผังรายการสำหรับทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ระบบการทดลองในช่วงต้นเหล่านี้ยังมีคุณภาพของภาพไม่เพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของประชาชน เนื่องจากเทคโนโลยีโทรทัศน์เครื่องกล และโทรทัศน์ก็ไม่แพร่หลาย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการกำเนิดของเทคโนโลยีโทรทัศน์สแกนอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจการออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นไปตามรูปแบบของเครือข่ายวิทยุ กับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นในเมืองที่มีเครือข่ายโทรทัศน์ ทั้งเชิงพาณิชย์ (ในสหรัฐ) หรือควบคุมโดยรัฐบาล (ในยุโรป) เพื่อให้บริการเนื้อหา การออกอากาศทางโทรทัศน์มีสีดำและสีขาวจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นโทรทัศน์สีในช่วงทศวรรษ 1950 และ1960[1]

ไม่มีวิธีอื่นในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ จนกระทั่งทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็นมีจุดเริ่มต้นของโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลและระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน (CATV) โดยระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชนนั้น ในตอนแรกมีเพียงสัญญาณออกอากาศภาคพื้นดินอีกครั้งเท่านั้น ด้วยการนำมาใช้สายเคเบิลอย่างกว้างขวางทั่วสหรัฐในทศวรรษ 1970 และ 1980 การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินจึงเริ่มลดลง ในปี ค.ศ. 2018 คาดว่ามีเพียงประมาณ 14% ของครัวเรือนสหรัฐเท่านั้นที่ยังคงใช้ใช้เสาอากาศอยู่[2][3] อย่างไรก็ตาม ในภูมิภาคอื่น ๆ โทรทัศน์ภาคพื้นดิน ยังคงเป็นวิธีการรับสัญญาณโทรทัศน์ที่คนส่วนใหญ่ต้องการอยู่ และมีการประเมินโดยดีลอยต์ทูชโทมัตสุในปี 2020 พบว่า มีอย่างน้อย 1.6 พันล้านคนในโลก ที่รับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน[4] และประเทศที่รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีผู้ชมทั้งหมด 250 ล้านคน

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก แก้

 
เสาอากาศก้างปลาบนหลังคา จำเป็นสำหรับการรับโทรทัศน์ภาคพื้นดินในพื้นที่รับสัญญาณห่างไกลจากสถานีโทรทัศน์

ทวีปยุโรป แก้

หลังจากการประชุม ST61 ความถี่ยูเอชเอฟถูกใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1964 ด้วยการแนะนำของช่องบีบีซีทู และช่องวีเอชเอฟถูกเก็บไว้ในระบบเก่า 405 เส้น ในขณะที่ยูเอชเอฟใช้สำหรับการออกอากาศในระบบ 625 เส้น (ซึ่งภายหลังใช้สีแพล) การแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบ 405 เส้น ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากมีการเปิดตัวรายการบนโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก 4 รายการในย่านความถี่ยูเอชเอฟ จนกระทั่งเครื่องส่งสัญญาณ 405 เส้นเครื่องสุดท้ายปิดใช้งานในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1985 วีเอชเอฟในย่านความถี่ระดับ 3 ถูกใช้ในประเทศอื่น ๆ ทั่วยุโรปเพื่อออกอากาศสีแพล จนกระทั่งมีการวางแผนและทำการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล

ความสำเร็จของทีวีแอนะล็อกทั่วยุโรปแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีสิทธิ์ในการใช้ความถี่จำนวนหนึ่งตามแผน ST61 แต่ก็ไม่ได้เปิดให้บริการทั้งหมด

สหรัฐ แก้

ในปี ค.ศ. 1941 มาตรฐานเอ็นทีเอสซีตัวแรกถูกนำเสนอขึ้นโดยคณะกรรมการระบบโทรทัศน์แห่งชาติ มาตรฐานนี้กำหนดรูปแบบการส่งสัญญาณสำหรับภาพขาวดำที่มีความละเอียดในแนวตั้ง 525 เส้นที่ 60 ฟิลด์ต่อวินาที ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 มาตรฐานนี้ถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานที่เข้ากันได้ย้อนหลังสำหรับโทรทัศน์สี มาตรฐานเอ็นทีเอสซีนั้นถูกใช้กับทีวีแอนะล็อกเฉพาะในสหรัฐและประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งมีการเปิดตัวโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ถึงแม้ปัจจุบัน ประเทศเม็กซิโกได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกทั้งหมด รวมถึงสหรัฐและประเทศแคนาดาได้ปิดสถานีโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเกือบทั้งหมดไปแล้ว แต่มาตรฐานเอ็นทีเอสซียังคงถูกใช้ในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกา ในขณะที่ทดสอบแพลตฟอร์มทีวีดิจิทัลของพวกเขา[5]

ในช่วงปลายยุค 90 และต้นยุค 2000 คณะกรรมการระบบโทรทัศน์ขั้นสูงพัฒนามาตรฐานเอทีเอสซีขึ้น สำหรับใช้ในการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลความละเอียดสูง ในที่สุดมาตรฐานนี้ก็ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ รัฐในสหรัฐ รวมถึงประเทศแคนาดา สาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศเม็กซิโก ประเทศเอลซัลวาดอร์ ประเทศกัวเตมาลา และประเทศฮอนดูรัส อย่างไรก็ตาม 3 ประเทศสุดท้ายทิ้งระบบนี้ไว้ในความโปรดปรานของบริการออกอากาศภาคพื้นดินแบบรวมระหว่างประเทศ[6][7]

โทรทัศน์ภาคพื้นดินในทวีปอเมริกาทำงานบนช่องสัญญาณแอนะล็อก 2 ถึง 6 (VHF ย่านความถี่ต่ำ 54 - 88 MHz หรือที่รู้จักกันในชื่อ ย่านความถี่ระดับ 1 ในยุโรป), 7 ถึง 13 (VHF ย่านความถี่สูง 174 ถึง 216 MHz หรือที่รู้จักในชื่อ ย่านความถี่ที่ 3) และ 14 ถึง 51 (ย่านความถี่โทรทัศน์ UHF 470 ถึง 698 MHz หรือที่รู้จักในชื่อ ย่านความถี่ที่ 4-5) ต่างจากการส่งสัญญาณแบบแอนาล็อกของหมายเลขช่องในมาตรฐาน ATSC ซึ่งไม่สอดคล้องกับความถี่วิทยุ แต่จะมีการกำหนดช่องเสมือน สำหรับเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลอภิพันธุ์สำหรับเอทีเอสซีสตรีม เพื่อให้สถานีโทรทัศน์สามารถส่งผ่านความถี่ใด ๆ ก็ได้ แต่ยังคงแสดงหมายเลขช่องเดียวกัน[8] นอกจากนี้เครื่องรับและส่งสัญญาณโทรทัศน์สำหรับออกอากาศฟรี สามารถนำมาใช้ใหม่เพื่อกระจายสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินโดยใช้ช่องสัญญาณที่ไม่ได้ใช้เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการรับสัญญาณเล็กน้อย[9]

ช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก 2-6, 7-13 และ 14-51 ใช้เฉพาะสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียงกำลังต่ำในสหรัฐ ช่อง 52-69 ยังคงใช้งานโดยสถานีที่มีอยู่บางสถานี แต่ช่องเหล่านี้จะต้องว่างหาก บริษัทโทรคมนาคมแจ้งให้สถานียกเลิกคลื่นสัญญาณนั้น โดยในแผน สัญญาณโทรทัศน์ออกอากาศจะถูกส่งด้วยโพลาไรซ์แนวนอน

ทวีปเอเชีย แก้

การออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินในทวีปเอเชียเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 ในประเทศญี่ปุ่น ผ่านการทดลองที่ดำเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีการกระจายเสียงของเอ็นเอชเค อย่างไรก็ตาม การทดลองเหล่านี้ต้องหยุดชะงักลงกะทันหันจากการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในมหาสมุทรแปซิฟิก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 ช่องเอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวีเริ่มออกอากาศ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1953 บรรษัทเครือข่ายนิปปงเทเลวิ เปิดตัวนิปปงเทเลวิ สถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์แห่งแรกในเอเชีย ในประเทศฟิลิปปินส์ ระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงอัลโต (ปัจจุบันคือ เอบีเอส-ซีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น) ได้เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเชิงพาณิชย์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ดีแซคทีวี เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1953 โดยความช่วยเหลือของบริษัทวิทยุแห่งสหรัฐ (RCA)

ประเทศไทย แก้

ในประเทศไทยเคยมีความพยายามในการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2474 โดยติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์โทรทัศน์ แต่ถูกยกเลิกไปหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการนำเสนอโครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพแก่สภาผู้แทนราษฎร แต่ถูกตีตก จากนั้นก็เริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์ในไทยครั้งแรกในการแสดงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ทำให้สื่อมวลชนได้นำเสนอโทรทัศน์ในเวลาต่อมา ก่อนที่ 3 ปีต่อมาจะเริ่มออกอากาศเชิงพาณิชย์ของสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ในระบบวีเอชเอฟ 525 เส้น 30 อัตราภาพ ภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม (ปัจจุบันคือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ได้เริ่มออกอากาศสถานีโทรทัศน์สีช่องแรกของไทย ด้วยระบบแพร่ภาพ 625 เส้น 25 อัตราภาพ ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ปัจจุบันคือช่อง 7 เอชดี)

แต่เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล เพราะสถานีโทรทัศน์ที่เอกชนดำเนินงานก็มีการทำสัมปทานกับหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ประชาชนเชื่อว่ามีการที่รัฐบาลใช้อำนาจบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และประชาชนไม่ได้รับรู้ความจริงที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลชุดต่อมาจึงเปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของไทย ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) จากนั้นในปี พ.ศ. 2556 กสทช. ได้เริ่มประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และออกอากาศเชิงพาณิชย์ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2557 สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่องเดิมจึงได้เริ่มยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ก่อนจะยุติออกอากาศในช่องส่วนใหญ่ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561 ยกเว้นสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ติดสัญญาสัมปทานกับ บมจ.อสมท และยุติการออกอากาศอย่างสมบูรณ์ในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลาในการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทยทั้งสิ้น 64 ปี 9 เดือน 1 วัน

โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล แก้

ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ความสนใจในโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั่วยุโรปเกิดขึ้นจากการที่การประชุมการบริหารไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งยุโรป จัดการประชุม "เชสเตอร์ '97'" เพื่อตกลงกันถึงวิธีการบรรจุการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลลงในแผนความถี่ ST61

การเปิดตัวโทรทัศน์ภาคพื้นดินดิจิทัลในปลายยุค 90 และต้นศตวรรษที่ 21 ทำให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเรียกประชุมวิทยุคมนาคมระดับภูมิภาคเพื่อยกเลิกแผน ST61 และวางแผนใหม่สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลระบบเดียวทั่วประเทศ

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 สหภาพยุโรปตัดสินใจยุติการออกอากาศทีวีแอนะล็อกทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2012 และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (ประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมดได้ตกลงใช้ DVB-T) เนเธอร์แลนด์ได้เสร็จสิ้นการเปลี่ยนผ่านในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศตัดสินใจที่จะเสร็จสิ้นการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วที่สุดในปี ค.ศ. 2008 (ประเทศสวีเดน) และ ค.ศ. 2009 (ประเทศเดนมาร์ก) ขณะที่สหราชอาณาจักรเริ่มปิดการออกอากาศแบบแอนะล็อกในส่วนภูมิภาคในปลายปี ค.ศ. 2007 แต่แล้วเสร็จทั่วประเทศในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ส่วนประเทศนอร์เวย์หยุดส่งสัญญาณโทรทัศน์แอนะล็อกในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009[10] แต่มี 2 ประเทศสมาชิก (ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศ) ได้แสดงความกังวลว่าพวกเขาอาจไม่สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้ภายในปี ค.ศ. 2012 เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค ส่วนประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปที่เหลือได้หยุดการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบแอนะล็อกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2012

หลายประเทศกำลังพัฒนาและประเมินผลของทีวีดิจิทัล

ออสเตรเลียใช้มาตรฐาน DVB-T และหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมของรัฐบาล ฝ่ายโทรคมนาคมและสื่อของออสเตรเลียได้รับคำสั่งว่าการออกอากาศแบบแอนะล็อกทั้งหมดจะยุติลงภายในปี ค.ศ. 2012 การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามคำสั่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2009 ด้วยโปรแกรมที่มีความแม่นยำสูง ศูนย์กลางในการปิดระบบแอนะล็อกแห่งแรกอยู่ในเมืองมิลดูรา ในพื้นที่ชนบทของรัฐวิกทอเรียในปี ค.ศ. 2010 รัฐบาลจะจัดหากล่องแปลงสัญญาณดิจิทัลฟรีสำหรับบ้านผู้ด้อยโอกาสทั่วประเทศเพื่อลดการหยุดชะงักของการเปลี่ยนผ่าน เครือข่ายโทรทัศน์ออกอากาศฟรีที่สำคัญของออสเตรเลียได้รับใบอนุญาตการส่งสัญญาณดิจิทัลทั้งหมด และแต่ละช่องจะต้องออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างน้อย 1 ช่อง และโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน 1 ช่องสู่ตลาดของพวกเขาทั้งหมด

ในทวีปอเมริกาเหนือ ข้อกำหนดที่วางไว้โดยเอทีเอสซีได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับทีวีดิจิทัล ในสหรัฐ คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ กำหนดวันสุดท้ายสำหรับการออกอากาศทีวีแอนะล็อกในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2009 เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ทั้งหมดจะต้องมีเครื่องรับทีวีดิจิทัลโดยใช้เอทีเอสซี ในประเทศแคนาดา คณะกรรมการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม กำหนดวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2009 เป็นวันยุติการออกอากาศทีวีแอนะล็อกในกรุงออตตาวาและเมืองปริมณฑล[11][12] ในประเทศเม็กซิโก สถาบันโทรคมนาคมแห่งชาติได้กำหนดวันสุดท้ายสำหรับการออกอากาศทีวีแอนะล็อกในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015

ประเทศไทย แก้

การประมูลคลื่นความถี่วิทยุ แก้

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2009 การแข่งขันของสหรัฐสำหรับคลื่นวิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด นำไปสู่การถกเถียงเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นไปได้ในปัจจุบันโดยโทรทัศน์ และ FCC ก็เริ่มสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่มีให้สำหรับบรอดแบนด์ไร้สาย บางคนเสนอให้ผสมทั้งสองเข้าด้วยกันบนช่องสัญญาณต่าง ๆ ที่เปิดไว้อยู่แล้ว (เช่น ไวท์สเปซ) ในขณะที่คนอื่นเสนอให้ "บรรจุใหม่" บางสถานีและบังคับให้ปิดสถานีบางสถานีเพียงไม่กี่ปีหลังจากทำสิ่งเดียวกัน (โดยไม่มีการชดเชยกับผู้แพร่ภาพกระจายเสียง) ในการยุติการออกอากาศโทรทัศน์แอนะล็อกในสหรัฐ พ.ศ. 2552

มีบางคนได้เสนอให้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน โดยพิจารณาว่าควรใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และกำหนดให้ผู้ชมเปลี่ยนไปใช้การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือสายเคเบิล สิ่งนี้จะกำจัดโทรทัศน์ผ่านมือถือซึ่งล่าช้าไปหลายปี โดยการตัดสินใจของ FCC ในการเลือกมาตรฐานเอทีเอสซี และการปรับ 8VSB ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน แทนที่จะเป็นมาตรฐานโอเอฟดีเอ็มที่ใช้สำหรับการออกอากาศทีวีดิจิทัลทั่วโลก

เมื่อเทียบกับยุโรปและเอเชีย สิ่งนี้มีโทรทัศน์มือถือในสหรัฐฯ เนื่องจากไม่สามารถรับเอทีเอสซีขณะที่เคลื่อนที่ (หรือบ่อยครั้งแม้ขณะที่อยู่กับที่) โดยไม่ต้องใช้ ATSC-M/H ในการออกอากาศแบบภาคพื้นดิน DVB-T หรือ ISDB-T สามารถทำได้แม้ไม่มี DVB-H หรือ 1seg

อ้างอิง แก้

  1. "The Color Revolution: Television In The Sixties". TVObscurities. 15 กุมภาพันธ์ 2005. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017.
  2. "OTA Homes Cross 16M Mark, Per Nielsen", '"TVTechnology, 13 กุมภาพันธ์ 2019, Michael Balderston
  3. "Nielsen: Broadcast Reliance Grew in 2012", TVTechnology, 14 มกราคม 2013, Archived at the Wayback Machine
  4. https://www.broadbandtvnews.com/2019/12/11/deloitte-terrestrial-tv-has-surprising-staying-power/
  5. Mick Hurbis-Cherrier (2007). "NTSC Broadcast Standards" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017.
  6. "เกี่ยวกับ ATSC". คณะกรรมการระบบโทรทัศน์ขั้นสูง. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017.
  7. "มาตรฐาน ATSC". คณะกรรมการระบบโทรทัศน์ขั้นสูง. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017.[ลิงก์เสีย]
  8. มาตรฐาน ATSC: โปรโตคอลข้อมูล โปรแกรม และระบบสำหรับการออกอากาศภาคพื้นดินและเคเบิล (PDF), คณะกรรมการระบบโทรทัศน์ขั้นสูง, สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017
  9. "FCC regulations CFR 47 Part 74 Subpart L: FM Broadcast Translator Stations and FM Broadcast Booster Stations". Edocket.access.gpo.gov. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2017.
  10. "DVB – Digital Video Broadcasting – Norway". Digital Video Broadcasting Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  11. "The Commission establishes a new approach for Canadian conventional television" (Press release). คณะกรรมการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมของแคนาดา. 17 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007.
  12. "Broadcasting Public Notice CRTC 2007–53". Sections 50 to 80. คณะกรรมการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมของแคนาดา. 17 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้