โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ

โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ (ญี่ปุ่น: 徳川 秀忠โรมาจิTokugawa Hidetada2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 - 14 มีนาคม ค.ศ. 1632) เป็นโชกุนคนที่ 2 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 หลังจากผู้เป็นบิดาได้ลงจากตำแหน่งโชกุนในปี ค.ศ. 1605 ท่านจึงขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อมาขณะอายุได้เพียง 26 ปี ในสมัยของท่านตระกูลโทะกุงะวะสามารถขยายอำนาจออกไปได้อย่างกว้างขวาง และลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ขณะอายุได้ 44 ปีแต่ก็ยังทรงอิทธิพลอยู่ก่อนจะที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1632 ขณะอายุได้ 53 ปี

 
โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ
เกิด2 พฤษภาคม พ.ศ. 1579
ถึงแก่กรรม14 มีนาคม ค.ศ. 1632
ตระกูลโทะกุงะวะ
บิดามารดาบิดา:โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ มารดา:ไซโง โนะ ซึโบะเนะ
บุตรSenhime
Tamahime
Katsuhime
Hatsuhime
โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ
โทะกุงะวะ ทะดะนะงะ
โฮะชินะ มะสะยูกิ
Others

ปฐมวัย แก้

โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ เกิดในปีค.ศ. 1579 มีชื่อว่า นะกะมะรุ (Nakamaru) เป็นบุตรชายคนที่สามของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ไดเมียวแห่ง แคว้นมิกะวะ (Mikawa, 三河) กับนางไซโง (Saigō-no-Tsubone, 西郷の局) ภรรยาน้อยคนโปรดของอิเอะยะซุนะกะมะรุมีพี่ชายสองคนพี่ชายคนโตต่างมารดาคือ มะสึไดระ โนะบุยะซุ (Matsudaira Nobuyasu, 松平信康) ถูกบังคับให้กระทำการ เซ็ปปุกุ ในค.ศ. 1579 ไม่นานหลังการกำเนิดของฮิเดะตะดะด้วยถูกสงสัยว่ากบฏต่อโอดะ โนะบุนะงะ พี่ชายคนรองต่างมารดาเช่นกันคือ ยูกิ ฮิเดะยะซุ (Yūki Hideyasu, 結城秀康) ไปเป็นบุตรบุญธรรมของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ในค.ศ. 1589 นางไซโงมารดาของนะกะมะรุได้เสียชีวิตลง

ในค.ศ. 1590 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้มอบหมายให้โทะกุงะวะ อิเอะยะสุ ทำการรุกรานเพื่อพิชิต ตระกูลโฮโจยุคหลัง (Hōjō, 北条) ทางตะวันออกในแถบคันโต โดยส่งนะกะมะรุมาเป็นตัวประกันที่ปราสาทโอซะกะ ในค.ศ. 1592 ได้ทำพิธี เก็มปุกุ ที่ปราสาทโอซะกะและได้รับชื่อใหม่ว่า ฮิเดะตะดะ ปีต่อมาในค.ศ. 1593 ฮิเดะตะดะได้ติดตามบิดาไปยังฐานที่มั่นใหม่ของตระกูลโทะกุงะวะ คือ ปราสาทเอะโดะ และในค.ศ. 1595 ได้แต่งงานกับนางโก (Gō, 江) หลานสาวของโอดะ โนะบุนะงะ ฮิเดะตะดะเป็นบุตรชายคนโปรดของอิเอะยะซุบิดา จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทายาทที่จะสืบทอดตระกูลโทะกุงะวะต่อไป

โชกุนฮิเดะตะดะ แก้

ในค.ศ. 1600 ฮิเดะตะดะจับศึกครั้งแรกในสงครามคราวเซะกิงะฮะระ (Sekigahara-no-tatakai, 関ヶ原の戦い) โดยฮิเดะตะดะยกทัพไปตามเส้นทางนะกะเซ็น (Nakasen-dō, 中山道) คือเส้นทางบนภูเขากลางเกาะฮอนชูเพื่อไปสมทบกับทัพของอิเอะยะสุผู้เป็นบิดาที่โอซะกะ แต่ทัพของฮิเดะตะดะได้ถูกตระกูลซะนะดะ (Sanada, 真田) ขัดขวางทำให้ไปช่วยบิดาที่เซะกิงะฮะระไม่ทันเวลา สร้างความไม่พอใจแก่อิเอะยะสุผู้เป็นบิดาอย่างมาก

ยุทธการเซะกิงะฮะระทำให้อิเอะยะสุมีอำนาจเหนือญี่ปุ่นอย่างเบ็ดเสร็จ ในค.ศ. 1603 อิเอะยะสุได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเคียวโตะให้เป็น เซอิไทโชกุน (Seii Taishōgun, 征夷大将軍) ในปีเดียวกันนั้นเองอิเอะยะสุได้ส่งหลานสาวของตน หรือบุตรสาวคนโตสุดของฮิเดะตะดะ คือ ท่านหญิงเซ็น (Sen-hime, 千姫) ไปแต่งงานกับโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ (Toyotomi Hideyori, 豊臣秀頼) บุตรชายของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ที่ปราสาทโอซะกะ สองปีต่อมาในค.ศ. 1605 โชกุนอิเอะยะสุได้สละตำแหน่งให้แก่ฮิเดะตะดะ ฮิเดะตะดะจึงได้สืบทอดเป็นโชกุนคนที่สองของระบอบโชกุนโทะกุงะวะ แต่อำนาจการปกครองทั้งหมดยังคงอยู่ที่อิเอะยะสุซึ่งดำรงตำแหน่ง โอโงโช (Ogōshō, 大御所) ผลงานของโชกุนฮิเดะตะดะในช่วงนี้คือ การประกาศขับไล่มิชชันนารีโปรตุเกส และการปราบปรามชาวคริสเตียนในค.ศ. 1612 และค.ศ. 1614

ในค.ศ. 1614 เกิดข่าวลือว่าโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ และมารดาของตนคือ นางโยะโดะ โดะโนะ (淀殿, Yodo-dono พี่สาวของนางโก) ได้วางแผนซ่องสุมกำลังคนเพื่อที่จะฟื้นฟูตระกูลโทะโยะโตะมิให้กลับมาปกครองญี่ปุ่นอีกครั้ง ในค.ศ. 1615 โชกุนฮิเดะตะดะ ร่วมกับโอโงโชอิเอะยะสุ ยกทัพขนาดมหึมาไปทำการล้อมปราสาทโอซะกะ ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว จนกระทั่งฝ่ายโทะโยะโตะมิพ่ายแพ้ ฮิเดะโยะริกระทำการเซ็ปปุกุและเสียชีวิตไปพร้อมกับมารดาเมื่อปราสาทโอซะกะถูกเผาพลาญ โดยท่านหญิงเซ็นภรรยาของฮิเดะโยะริได้รับการช่วยเหลือออกมาก่อน

ในค.ศ. 1615 โชกุนฮิเดะตะดะได้ออกกฎหมายซะมุไร คือ บุเกะ ชุฮัตโตะ (Buke-Shuhatto, 武家諸法度) ออกมาเป็นฉบับแรกในสมัยเอะโดะ ในค.ศ. 1616 โอโงโชอิเอะยะสุถึงแก่อสัญกรรม โชกุนฮิเดะตะดะจึงมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ โดยดำเนินนโยบายตรงข้ามกับบิดาของตน คือ การกีดกันการค้าขายของชาวตะวันตก[1] โดยกำจัดการค้าขายกับจีนไว้ที่เมืองท่านะงะซะกิเท่านั้น และชาวฮอลันดาและอังกฤษที่เมืองท่าฮิระโดะ จนกระทั่งอังกฤษได้ล้มเลิกการค้าขายกับญี่ปุ่นไปในค.ศ. 1623 และในค.ศ. 1622 ได้ประหารชาวคริสเตียนจำนวนมากที่เมืองนะงะซะกิ ในค.ศ. 1620 โชกุนฮิเดะตะดะได้ส่งบุตรสาวของตนคือ มะซะโกะ (Masako, 和子) ไปเป็นพระสนมในพระจักรพรรดิโก-มิซุโน (Go-Mizunoo, 後水尾) ซึ่งต่อมาในภายหลังได้ประสูติพระจักรพรรดินีเมโช (Meishō, 明正)

บั้นปลายชีวิต แก้

ในค.ศ. 1623 โชกุนฮิเดะตะดะได้สละตำแหน่งให้แก่โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ (Tokugawa Iemitsu, 徳川家光) บุตรชายคนโตของตน และย้ายมาตำรงตำแหน่งเป็นโอโงโชเช่นเดียวกับบิดาของตน แต่ยังคงอำนาจไว้ที่ตนเช่นเดิมเช่นกัน ในปีเดียวกันนั้นเองโอโงโชอิเดะทะดะได้มีคำสั่งให้ค้นหาและลงโทษชาวคริสเตียนจำนวนมากในเมืองเอะโดะ การปราบปรามชาวคริสต์ระลอกใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งในค.ศ. 1629 ที่เมืองนะงะซะกิ โดยทางบะกุฟุได้บังคับให้ชาวเมืองกระทำการฟุมิเอะ (fumi-e, 踏み絵) คือการเหยียบย่ำลงบนรูปของพระเยซูเพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ได้เป็นคริสเตียน

ในค.ศ. 1624 โอโงโชฮิเดะตะดะและโชกุนอิเอะมิสึได้จัดขบวนอย่างใหญ่โตเดินทางไปยังเมืองเคียวโตะเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนัก ในโอกาสที่บุตรสาวของโอโงโช ฮิเดะตะดะคือ พระจักรพรรดินีมะซะโกะได้ประสูติพระธิดาในปีนั้น (ภายหลังคือ พระจักรพรรดินีเมโช) ซึ่งเป็นติดต่อกันครั้งสุดท้าย ระหว่างเอะโดะบะกุฟุกับราชสำนักที่เคียวโตะในรอบสองร้อยปี จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์จีวรสีม่วง (Shie-jiken, 紫衣事件) ในค.ศ. 1629 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักเคียวโตะและบะกุฟุต้องขาดสะบั้นลง

โอโงโชฮิเดะตะดะถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1632 ด้วยอายุ 53 ปี

สมัยของโชกุนโทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และได้รับทูตจากอาณาจักรอยุธยาในค.ศ. 1616, ค.ศ. 1621, ค.ศ. 1623, และ ค.ศ. 1626[2]

ครอบครัว แก้

ก่อนหน้า โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ ถัดไป
โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ    
โชกุนแห่งเอะโดะบะกุฟุ
(ค.ศ. 1605-ค.ศ. 1623)
  โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ

<references>

อ้างอิง แก้

  1. Dorothy Perkins, The samurai of Japan: a chronology from their origin in the Heian era (794
  2. http://www.ayutthaya-history.com/Historical_Events16.html