โซเม็ง เส้นหมี่ขาว 素麺; 索麺 ภาษาจีนกลางอ่านว่า ซู่เมี่ยน แปลตามตัวว่า plain noodles

โซเม็ง
ประเภทบะหมี่ญี่ปุ่น
แหล่งกำเนิดญี่ปุ่น
อุณหภูมิเสิร์ฟแบบเย็น
ส่วนผสมหลักเส้นหมี่ (แป้งสาลี)

โซเม็ง คือ เส้นหมี่ญี่ปุ่นสีขาวทำมาจากแป้งสาลี ที่เส้นบางมาก เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1.3 มิลลิเมตร ปกติเสิร์ฟเป็นบะหมี่เย็น เส้นผ่านศูนย์กลางมีขนาดแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเส้นโซเม็งกับเส้นหมี่ที่หนากว่าอย่างฮิยามูงิและอูดง ตอนทำ เส้นโซเม็งจะถูกยืดคล้ายกับเส้นอูดงบางชนิด แป้งโด (dough) ถูกยืดด้วยน้ำมันพืชเพื่อให้ได้เส้นที่บางมาก ๆ แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง

โซเม็งจะกินกันเป็นบะหมี่เย็นร่วมกับน้ำจิ้มรสอ่อน[1] ที่เรียกว่า "สึยุ" สึยุนั้นปกติจะเป็นน้ำซอสที่ทำจากปลาโอแห้ง (คัตสึโอบูชิ) ที่สามารถปรุงรสด้วยต้นหอมญี่ปุ่น ขิง หรือขิงญี่ปุ่น ที่เรียกว่า เมียวงะ ในฤดูร้อน โซเม็งแช่น้ำแข็งจะเป็นที่นิยมในการดับร้อน

โซเม็งเสิร์ฟในซุปร้อน ปกติจะเรียกว่า นิวเม็ง รับประทานกันในฤดูหนาว คล้ายกับโซบะหรืออูดง

นางาชิโซเม็ง แก้

 
โซเม็งราง

นางาชิโซเม็ง 流しそうめん; 流し素麺; 流し索麺 (flowing noodles) ภัตตาคารบางแห่งนำเสนอในฤดูร้อน จะวางเส้นหมี่ในรางไม้ไผ่ยาว[2] ขวางตามยาวของภัตตาคาร ในรางจะมีน้ำเย็นจัดใส ๆ เมื่อเส้นโซเม็งไหลผ่าน ผู้รับประทานจะคีบออกด้วยตะเกียบของพวกเขา แล้วจุ่มเส้นในสึยุ การจับเส้นหมี่ต้องใช้ความคล่องแคล่วพอสมควร แต่เส้นหมี่ที่คีบกันได้ไม่ทันนั้น ปกติแล้วจะไม่ถูกนำมากินอีก ดังนั้นผู้รับประทานจะถูกกดดันให้คีบให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความฟุ่มเฟือยเล็กน้อยได้ถูกคิดขึ้นโดยการใส่เส้นโซเม็งของพวกเขาลงในลำธารจริง ๆ ซึ่งนั่นผู้รับประทานสามารถเพลิดเพลินกับมื้ออาหารของพวกเขา ในสวนที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม มีการออกแบบเครื่องจำลองประสบการณ์นี้ให้ทำได้ที่บ้าน

โซเม็งคาโบจะ แก้

โซเม็งคาโบจะ 素麺南瓜; そうめんカボチャ; ソウメンカボチャ เป็นแตงผลรีชนิดหนึ่ง ที่เนื้อแตกเป็นเส้นคล้ายเส้นโซเม็งหรือเส้นสปาเกตตี คำว่า คาโบจะ มาจากคำว่า กัมพูชา ในภาษาญี่ปุ่นใช้หมายถึงฟักทองชนิดหนึ่งที่ชาวโปรตุเกสได้นำพันธุ์จากประเทศกัมพูชามาปลูกในญี่ปุ่น (ฟักทองเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา) ส่วนคำว่า 南瓜 ภาษาญี่ปุ่นสามารถอ่านได้ว่า นังกะ (หรือ โบบูระ) ตรงกับภาษาจีนกลางว่า หนานกวา แปลว่า ฟักทอง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hiking in Japan - Richard Ryall, Craig McLachlan, David Joll. p. 177.
  2. Adika, Alon (September 21, 2013). "Tsushima: a boundary island of Japan". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โซเม็ง