โซลานีน

ไกลโคแอลคาลอยด์

โซลานีน (อังกฤษ: solanine) เป็นพิษไกลโคแอลคาลอยด์ที่อยู่ในกลุ่มซาโปนิน พบในส่วนใบ ผลและหัวของพืชวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว มีสูตรเคมีคือ C45H73NO15[1] มีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ มีการแยกโซลานีนครั้งแรกจากผลมะแว้งนกในปี ค.ศ. 1820[2]

แอลฟา-โซลานีน
ชื่อ
IUPAC name
(2S,3R,4S,5S,6R) -2- (((2R,3S,4S,5R,6R) -3-hydroxy-2- (hydroxymethyl) -5- (((2R,3R,4R,5R,6S) -3,4,5-trihydroxy-6-methyltetrahydro-2H-pyran-2-yl) oxy) -6- (((4S,6aR,6bS,8aS,8bR,9S,9aR,14aS,15aS,15bS) -6a,8a,9-trimethyl-3,4,5,6,6a,6b,7,8,8a,8b,9,9a,10,11,12,13,14a,15,15a,15b-icosahydro-1H-naphtho[2',1':4,5]indeno[1,2-b]indolizin-4-yl) oxy) tetrahydro-2H-pyran-4-yl) oxy) -6- (hydroxymethyl) tetrahydro-2H-pyran-3,4,5-triol
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.039.875 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
UNII
  • InChI=1S/C45H73NO15/c1-19-6-9-27-20 (2) 31-28 (46(27) 16-19) 15-26-24-8-7-22-14-23 (10-12-44 (22,4) 25 (24) 11-13-45 (26,31) 5) 57-43-40 (61-41-37 (54) 35 (52) 32 (49) 21 (3) 56-41) 39 (34(51) 30 (18-48) 59-43) 60-42-38 (55) 36 (53) 33 (50) 29 (17-47) 58-42/h7,19-21,23-43,47-55H,6,8-18H2,1-5H3/t19-,20+,21-,23-,24+,25-,26-,27+,28-,29+,30+,31-,32-,33+,34-,35+,36-,37+,38+,39-,40+,41+,42-,43+,44-,45-/m0/s1 ☒N
    Key: ZGVSETXHNHBTRK-OTYSSXIJSA-N ☒N
  • InChI=1/C45H73NO15/c1-19-6-9-27-20 (2) 31-28 (46(27) 16-19) 15-26-24-8-7-22-14-23 (10-12-44 (22,4) 25 (24) 11-13-45 (26,31) 5) 57-43-40 (61-41-37 (54) 35 (52) 32 (49) 21 (3) 56-41) 39 (34(51) 30 (18-48) 59-43) 60-42-38 (55) 36 (53) 33 (50) 29 (17-47) 58-42/h7,19-21,23-43,47-55H,6,8-18H2,1-5H3/t19-,20+,21-,23-,24+,25-,26-,27+,28-,29+,30+,31-,32-,33+,34-,35+,36-,37+,38+,39-,40+,41+,42-,43+,44-,45-/m0/s1
    Key: ZGVSETXHNHBTRK-OTYSSXIJBP
  • C[C@H]1CC[C@@H]2[C@H]([C@H]3[C@@H](N2C1) C[C@@H]4[C@@]3 (CC[C@H]5[C@H]4CC=C6[C@@]5 (CC[C@@H](C6) O[C@H]7[C@@H]([C@H]([C@H]([C@H](O7) CO) O) O[C@H]8[C@@H]([C@H]([C@@H]([C@H](O8) CO) O) O) O) O[C@@H]9[C@@H]([C@@H]([C@H]([C@@H](O9) C) O) O) O) C) C) C
คุณสมบัติ
C45H73NO15
มวลโมเลกุล 868.06
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งผลึกสีขาว
จุดหลอมเหลว 271–273 °C (520–523 °F; 544–546 K)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

มันฝรั่ง มะเขือเทศและมะเขือยาวมีสารโซลานีน โดยมันฝรั่งสร้างโซลานีนและชาโคนีนเพื่อใช้ปกป้องตัวเอง โดยพบมากในส่วนใบ ลำต้นและหัว เมื่อหัวมันฝรั่งถูกแสงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวและมีปริมาณไกลโคแอลคาลอยด์มากขึ้น สีเขียวเกิดจากคลอโรฟิลล์ซึ่งไม่เป็นอันตราย แต่ใช้บ่งชี้ถึงปริมาณของโซลานีนและชาโคนีนในมันฝรั่ง นอกจากนี้ยังบ่งชี้ได้จากรสขมของมันฝรั่ง

พิษโซลานีน แก้

อาการ แก้

พิษโซลานีนก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้ ท้องร่วง อาเจียน ปวดเกร็งกระเพาะอาหาร แสบคอ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะและเวียนศีรษะ ในรายที่มีอาการหนักจะเห็นภาพหลอน สูญเสียประสาทสัมผัส เป็นอัมพาต เป็นไข้ ดีซ่าน ม่านตาขยายและอุณหภูมิกายต่ำกว่าปกติ จากการศึกษาพบว่าขนาด 2-5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัมทำให้อาการเป็นพิษและ 3-6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัมทำให้เสียชีวิตได้[3] โซลานีนมักออกฤทธิ์หลังรับเข้าไป 8-12 ชั่วโมง หรือเร็วถึง 10 นาทีหากรับสารนี้ในปริมาณสูง

กลไกการออกฤทธิ์ แก้

โซลานีนจะยับยั้งเอนไซม์คอลิเนสเตอเรส ทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด[4] การศึกษาหนึ่งชี้ว่ากลไกความเป็นพิษของโซลานีนเกิดจากความสัมพันธ์ของสารเคมีในเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรีย การทดลองพบว่าโซลานีนทำให้ช่องโพแทสเซียมในไมโทคอนเดรียขยาย ส่งผลให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ลดลง โพแทสเซียมไอออนจากไมโทคอนเดรียจะส่งไปที่โซโตพลาซึม ทำให้ความเข้มข้นของโพแทสเซียมไอออนในไซโตพลาซึมมากขึ้นจนเซลล์ถูกทำลายและเกิดภาวะอะพอพโทซิส[5]

อ้างอิง แก้

  1. "alpha-Solanine" (PDF). INDOFINE Chemical. สืบค้นเมื่อ February 4, 2017.
  2. Desfosses, M. (1820) : Extrait d'une lettre à M. Robiquet. In: J. de Pharmacie. Bd. 6, S. 374–376.
  3. Executive Summary of Chaconine & Solanine
  4. Friedman, Mendel; McDonald, Gary M. (1999). "Postharvest Changes in Glycoalkaloid Content of Potatoes". ใน Jackson, Lauren S.; Knize, Mark G.; Morgan, Jeffrey N. (บ.ก.). Impact of Processing on Food Safety. Advances in Experimental Medicine and Biology. Vol. 459. pp. 121–43. doi:10.1007/978-1-4615-4853-9_9. ISBN 978-1-4615-4853-9. PMID 10335373.
  5. Gao, Shi-Yong; Wang, Qiu-Juan; Ji, Yu-Bin (2006). "Effect of solanine on the membrane potential of mitochondria in HepG2 cells and [Ca2+]i in the cells". World Journal of Gastroenterology. 12 (21): 3359–67. doi:10.3748/wjg.v12.i21.3359. PMC 4087866. PMID 16733852.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้