โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก (วิดีโอเกม)

โซนิดเคอะเฮดจ์ฮ็อก (อังกฤษ: Sonic the Hedgehog; ญี่ปุ่น: ソニック・ザ・ヘッジホッグโรมาจิโซนนิคคุ ซา เฮดจิฮ็อกกุ) เป็นเกมแอ็กชั่นแพลทฟอร์ม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ผลิตโดยโซนิคทีม จำหน่ายโดยเซกา วางจำหน่ายบนเครื่องเซกา เมก้าไดรฟ์ ในช่วงปี ค.ศ. 1991 และได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก

โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก
ผู้พัฒนาโซนิคทีม
ผู้จัดจำหน่ายเซกา
โปรแกรมเมอร์
  • ยูจิ นากะ Edit this on Wikidata
แต่งเพลง
  • Masato Nakamura Edit this on Wikidata
ชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
23 มิถุนายน 1991
  • เมก้าไดรฟ์
    • NA: 23 มิถุนายน 1991
    • PAL: กรกฎาคม 1991
    • JP: 26 กรกฎาคม 1991
    อาร์เคด
    • ทั่วโลก: 1991[1]
    เกมบอยแอดวานซ์
    • NA: 14 พฤศจิกายน 2006
    วินโดวส์
    • ทั่วโลก: 26 ตุลาคม 2010
    3DS
    • JP: 15 พฤษภาคม 2013
    • ทั่วโลก: 5 ธันวาคม 2013
    ไอโอเอส
    • EU: 15 พฤษภาคม 2013
    • NA: 16 พฤษภาคม 2013
    แอนดรอยด์
    • ทั่วโลก: 16 พฤษภาคม 2013
    นินเท็นโด สวิตช์
    • ทั่วโลก: 20 กันยายน2018
รูปแบบ

โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อกแตกต่างจากเกมประเภทเดียวกันในตลาดทั่วๆไป โดยมีการนำเสนอการเล่นที่รวดเร็วและฉับไว รวมทั้งระบบแหวนที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับเกมชุดนี้มาโดยตลอด

เนื้อเรื่อง แก้

ศาสตราจารย์ไอโว โรบ็อทนิก วางแผนจะครองโลกโดยการรวบรวมเคออสเอเมอรัลด์ 6 เม็ดตามตำนานของเซาท์ไอส์แลนด์ แต่ก็ต้องถูกขัดขวางโดยโซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก

รูปแบบการเล่น แก้

 
ภาพรวมของตัวเกมในด่านแรกกรีนฮิลล์โซน

ภาพรวม แก้

รูปแบบการเล่นของเกมโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อกนั้นมีความคล้ายคลึงกับเกมแอ็กชั่นแพลทฟอร์ทั่วๆไป โดยโซนิคมีความสามารถพื้นฐานในการวิ่งและกระโดด โดยมีอุปสรรคต่างๆขวางทางทั้งสิ่งกีดขวางและศัตรู

ในช่วงที่วางจำหน่ายเกมโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อกนำเสนอตัวเกมสู่ผู้เล่นในรูปแบบฉากที่เน้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีทั้งวงแหวน, สปริง และกับดักมากมาย และต่างจากเกมอื่นๆซึ่งมีอยู่แค่ระดับเดียว เกมโซนิคมีการออกแบบฉากให้มีความสูงและต่ำ มีน้ำและลาวา โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้กระทบถึงระดับความเร็วของเครื่องแม้แต่นิดเดียว

ในปัจจุบันเกมโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อกเกมนี้ ผู้เล่นยังคงสามารถหามาเล่นได้ทั้งในรูปแบบชุดสะสมของเครื่องเกมคิวบ์, เพลย์สเตชัน 2, เอกซ์บ็อกซ์ และ คอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันเครื่องเกมนินเทนโด วี ก็สามารถเล่นเกมนี้ได้โดยผ่านทางระบบคอนโซลจำลองโดยใช้คะแนน 800 แต้ม

การเคลื่อนไหว แก้

การเคลื่อนไหวของโซนิคนั้นเมื่อผู้เล่นกดกระโดด โซนิคจะทำการม้วนตัว ซึ่งในขณะม้วนตัวนั้นเขาสามารถโจมตีศัตรูได้ทุกประเภท (ยกเว้นศัตรูตัวนั้นอยู่ในสภาพไม่สามารถโจมตีเข้าได้) นอกจากนั้นเมื่อโซนิควิ่งผู้เล่นสามารถกดลงเพื่อให้เขาหมุนตัวและทำลายศัตรูที่ขวางทางรวมทั้งช่วยเร่งความเร็วได้

นอกเหนือจากนั้นเกมได้นำระบบฟิสิกส์เข้ามาใช้ในเกม โดยเฉพาะเมื่อโซนิคต้องวิ่งขึ้นเนินเฉียง ความเร็วเขาจะตกลง แต่เมื่อเมื่อวิ่งลงความเร็วจะเพิ่ม และเมื่ออยู่ในน้ำการกระทำอะไรต่างๆจะทำได้ช้าลง แต่การกระโดดจะสูงขึ้น ซึ่งในใต้น้ำโซนิคจะมีเวลหายใจได้ 30 วินาที หลังจากนั้นเขาจะจมน้ำแล้วผู้เล่นจะเสียค่าชีวิตไป ซึ่งผู้เล่นสามารถป้องกันจุดนี้ได้ด้วยการเดินเข้าไปหาฟองอากาศให้โซนิคหายใจ หรือไม่ก็กระโดดให้ออกจากน้ำ

คุณลักษณะพิเศษ แก้

พื้นฐานทั่วไปของเกมโซนิคนั้น เป้าหมายของเกมคือผู้เล่นจะต้องไปให้ถึงเส้นชัยและปราบบอสในช่วงท้ายของแต่ละด่าน

ในระห่วางดำเนินเกมนั้นผู้เล่นจะต้องสะสมแหวน (ซึ่งคนไทยหลายคนเรียกผิดว่าเป็นเหรียญเพราะได้รับอิทธิพลมากจากเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอร์) คล้ายคลึงกับเกมแอ็กชั่นแพลทฟอร์มทั่วๆไป เมื่อผู้เล่นสะสมแหวนได้ครบ 100 และ 200 วงผู้เล่นจะได้ค่าชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ชีวิต (หลังจาก 300 วงขึ้นไปผู้เล่นจะไม่ได้รับอะไรตอบแทน) ซึ่งหลังจากที่จบในแต่ละฉาก แหวนจะถูกนับเป็นคะแนนโดยได้คะแนนวงละ 100 แต้ม แต่จุดที่ทำให้แหวนแตกต่างจากเกมอื่นก็คือแหวนเปรียบเสมือนเกราะคุ้มกันของโซนิค โดยปกติเมื่อโซนิคสัมผัสวัตถุหรือศัตรูที่ทำให้เขาบาดเจ็บ โซนิคจะตายและเสียค่าชีวิตทันที แต่ถ้าผู้เล่นมีแหวนอยู่ โซนิคจะกระเด็นแล้วแหวนทั้งหมดจะหลุดออกจากตัวและกลิ้งไปทั่วฉากเพื่อให้ผู้เล่นมีโอกาสได้เก็บ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เล่นต้องจดจำเสมอว่าตราบใดที่ยังมีแหวนอยู่ โซนิคจะไม่มีวันตายและทุกครั้งที่ตายแหวนจะถูกนับเป็น 0 ใหม่ทุกครั้ง

ในระหว่างเล่นเกมผู้เล่นจะผ่านเสาจุดเช็คพอยนท์ซึ่งจะทำหน้าที่บันทึกเวลาในเกม โดยปกติถ้าผู้เล่นเสียค่าชีวิตลงผู้เล่นจะถูกพามาที่จุดเริ่มต้นของฉากนั้นๆ แต่ถ้าผู้เล่นผ่านเช็คพอยนท์มาแล้ว เมื่อผู้เล่นเสียชีวิต ตัวเกมจะมาเริ่มใหม่ในจุดเช็คพอยนท์ล่าสุดที่ผู้เล่นผ่านมาพร้อมกับตั้งเวลาไว้ตามที่ผู้เล่นได้แตะมันและแหวนจะกลับเป็น 0 และเพราะผู้เล่นมีเช็คพอยนท์ได้ทีละจุด จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้เล่นสามารถวิ่งกลับไปแตะเช็คพอยนท์เก่าที่เคยผ่านมาก็ได้

ในตัวเกมยังมีระบบเวลาโดยเมื่อครบ 10 นาทีผู้เล่นจะถูกบังคับให้เสียชีวิตทันทีละเมื่อผู้เล่นกลับไปที่เช็คพอยนท์ผู้เล่นจะได้รับเวลาตามเวลาที่ผู้เล่นแตะเช็คพอยนท์ (ซึ่งระบบนี้ถูกปรับปรุงในภาคหลังๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้เวลาจะถูกนับเป็น 0:00 ใหม่)

ในระหว่างเล่นเกมผู้เล่นจะพบกล่องสิ่งของ ซึ่งข้างในจะบรรจุของแตกต่างกัน 4 อย่างคือ แหวน, เกราะ, ค่าชีวิตและไอเท็มอมตะ แหวนนั้นจะให้ผู้เล่น 10 วง เกราะจะให้เกราะล้อมตัวผู้เล่น ซึ่งทำให้ผู้เล่นมีโอกาสบาดเจ็บเพิ่มอีก 1 ครั้งแล้วเกราะจะหายไป รวมทั้งเมื่อจบด่านเช่นกัน ค่าชีวิตจะบวกค่าชีวิตให้ 1 ตัว ส่วนไอเท็มอมตะ ผู้เล่นจะได้รับพลังอมตะชั่วคราวที่สามารถทำลายศัตรูด้วยการแตะและไม่มีวันบาดเจ็บ ยกเว้นตกเหวหรือโดนบีบ ระหว่างที่ผู้เล่นได้ไอเท็มอมตะ จะมีการเปลี่ยนดนตรีเพื่อบอกถึงเวลาที่ผู้เล่นจะได้รับพลังอมตะ พอหมดเวลาก็จะหายไป กล่องสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็นทั่วไป บางครั้งจะซ่อนอยู่ให้ผู้เล่นได้ค้นหา

ระหว่างการเล่นเกมผู้เล่นจะต้องพบกับสิ่งต่างๆที่จะสามารถทำรายผู้เล่นได้ ได้แก่พวกศัตรูหรือที่เรียกว่าแบ็ดนิกส์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ดร.เอ็กแมนจับพวกสัตว์มาไว้ข้างในเพื่อใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อน เหล่าแบ็ดนิกส์จะมีคุณลักษณะการเคลื่อนไหวและการจู่โจมแตกต่างกันในแต่ละตัว แต่โดยส่วนมากแล้วพวกมันไม่มีพลังชีวิต เมื่อถูกโจมตีก็จะถูกทำลายทันที นอกเหนือจากนั้นแล้วยังมีวัตถุและฉากที่ขัดขวางผู้เล่นให้เสียแหวนและค่าชีวิต อันได้แก่ หนาม ซึ่งบางครั้งจะซ่อนตัว เหว, ลาวา, น้ำ และการบีบอัดต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคในเกมทั้งสิ้น แต่บางอันกลับต้องใช้ในการผ่านด่าน

เกมนี้ไม่มีระบบเซฟเกมหรือรหัสผ่าน ผู้เล่นต้องเล่นรวดเดียวจบตั้งแต่ต้นเกมจนจบเกม จนกว่าผู้คอนทินิวของผู้เล่นหมดหรือปิดเครื่อง

ในตอนท้ายของแต่ละฉากผู้เล่นจะพบกับป้ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงให้ผู้เล่นเห็นว่าจบฉากแล้ว ระหว่างที่โซนิคจะวิ่งผ่านป้ายออกจากหน้าจอไปทางขวานั้น ถ้าผู้เล่นกดกระโดดผู้เล่นจะได้รับคะแนนโบนัสที่ได้ตามความสูงของการกระโดด และถ้าผู้เล่นมีแหวนเกิน 50 วงขึ้นไป แหวนยักษ์จะปรากฏออกมาให้ผู้เล่นกระโดดเข้าไปในฉากโบนัส

ฉากต่างๆ แก้

ฉากในเกมนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฉาก (ยกเว้นไฟนอลโซน) โดยใช้คำว่า Act และในช่วงท้ายของ Act ที่สองผู้เล่นจะต้องปะทะกับบอส ดังนั้นเท่ากับว่าผู้เล่นสามารถเข้าเล่นฉากโบนัสได้เฉพาะ Act แรกเท่านั้น และเพราะเกมนี้มีโอกาสที่ผู้เล่นเล่นฉากโบนัสทั้งหมด 6 ครั้ง นั่นหมายความว่าผู้เล่นจะต้องไม่พลาดแม้แต่ฉากเดียว

  • กรีนฮิลล์โซน (Green Hill Zone)
  • มาร์เบิลโซน (Marble Zone)
  • สปริงยาร์ดโซน (Spring Yard Zone)
  • ไลบีรินท์โซน (Labyrinth Zone)
  • สตาร์ไลท์โซน (Star Light Zone)
  • สแครพเบรนโซน (Scrap Brain Zone)
  • ไฟนอลโซน (Final Zone)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "Sonic The Hedgehog". The International Arcade Museum. Killer List of Video Games. สืบค้นเมื่อ April 23, 2020.