โจเซ

(เปลี่ยนทางจาก โจะเซ)

มังงะโจเซ (ญี่ปุ่น: 女性漫画 โรมาจิ: Josei Manga) รู้จักกันในชื่อ เลดีส์คอมิกส์ (; ญี่ปุ่น: レディースコミック อังกฤษ: Ladies Comics) และในชื่อย่อว่า เรดิโกมิ (ญี่ปุ่น: レディコミโรมาจิredikomi) เป็นคำเรียกกลุ่มการ์ตูนญี่ปุ่นที่ก่อกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1980 ในความหมายเฉพาะ โจเซ สื่อถึงมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับโชโจะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิงและวัยรุ่นหญิงตอนปลาย[a] แต่ในเชิงปฏิบัติ การแยกระหว่าง โชโจะ กับ โจเซ มักคลุมเครือ

ภาพหน้าปกซีรีส์มังงะโจเซ โคเรชุสซันดนโทะโคอิ!! [ja] อัตชีวประวัติที่บันทึกการตั้งครรภ์ของผู้เขียนตอนอายุ 43 ปี โดยโมโตโกะ ฟูจิตะ

การ์ตูนแนวโจเซส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่เพศหญิงในญี่ปุ่น แต่ก็มีบ้างเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเรียนมัธยม สไตล์การวาดภาพคล้ายกับการ์ตูนแนวโชโจะ แต่ตาไม่หวานและเป็นประกายเท่า และภาพโดยรวมดูเหมือนจริงมากขึ้น การ์ตูนโจเซจะเล่าเรื่องและมีมุมมองของความรักอย่างสมจริงสมจริงและบางครั้งก็มีเซ็กส์เป็นองค์ประกอบของเรื่อง ผิดกับความรักในการ์ตูนโชโจะซึ่งมักเป็นความรักในอุดมคติในวัยเรียน การ์ตูนโจะเซอีกกลุ่มหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย คล้าย ๆ กับการ์ตูนแนวยาโออิ โดยการ์ตูนเหล่านั้นจะมีเนื้อหาสมจริงสมจังกว่าโดยเน้นเรื่องความเป็นจริงในชีวิตเป็นหลัก

ศัพท์มูล แก้

มีบางคำที่ใช้สื่อถึงมังงะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่:

เลดีส์คอมิก (ญี่ปุ่น
レディースコミック)
ศัพท์แรกที่ใช้ระบุกลุ่มมังงะ[1] ถือเป็นคำแบบ วาเซ-เอโงะ ที่ "สตรี" จะเข้าใจเป็นคำพ้องของ "ผู้หญิง" ซึ่งบ่งบอกถึงการเน้นผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่[2] ต่อมาคำนี้ได้รับความหมายเชิงลบในคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องมากมีการเชื่อมโยงกับมังงะลามและคุณภาพต่ำ ถึงแม้ว่าความเชื่อมโยงนี้เสื่อมสลายในคริสต์ทศวรรษ 2000[1][3] คำย่อสำหรับเลดีส์คอมิคือ เรดิโกมิ (ญี่ปุ่น: レディコミโรมาจิredikomi) และในประเทศญี่ปุ่น คำย่อนี้เป็นศัพท์ที่ใช้งานมากที่สุดสำหรับหมวดหมู่มังงะนี้[4][5]
ยังเลดีส์ (อังกฤษ
Young ladies; ญี่ปุ่น: ヤングレディース )
ศัพท์ทาง วาเซ-เอโงะ ที่ระบุหมวดหมู่ตรงกลางระหว่างมังงะสำหรับผู้ใหญ่กับมังงะโชโจะ[6]
มังงะโจเซ (ญี่ปุ่น
女性漫画)
คิดค้นโดยนักวิจารณ์และนักวิชาการในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อแยกมังงะทั้งหมดที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยผู้ใหญ่จากมังงะโชโจะ[3] แม้ว่าผู้ชมฝั่งญี่ปุ่นไม่ค่อยนิยมใช้คำนี้[7] แต่ผู้ชมฝั่งตะวันตกใช้คำนี้กันโดยทั่วไป[8]

หมายเหตุ แก้

  1. เทียบกับผู้ชายเป็นเซเน็ง (ผู้ชายวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่นชายตอนปลาย) และโชเน็ง (วัยรุ่นชายและเด็กผู้ชาย)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Ito 2011, p. 12.
  2. Ito 2011, p. 11.
  3. 3.0 3.1 Thorn, Rachel. "What Shôjo Manga Are and Are Not: A Quick Guide for the Confused". Matt-Thorn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 10, 2022.
  4. ดูหนัง18+
  5. Ito 2002, p. 69.
  6. Ogi 2003, p. 792.
  7. Ogi 2003, p. 791.
  8. Pham 2010, p. 81.

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Clements, Jonathan (2010). "Living Happily Never After in Women's Manga". ใน Steiff, Josef; Barkman, Adam (บ.ก.). Manga & Philosophy. Open Court. ISBN 978-0812696790.
  • Jones, Gretchen (2003). "'Ladies' Comics': Japan's Not-So-Underground Market in Pornography for Women". US-Japan Women's Journal English Supplement. 22: 3–30.
  • Jones, Gretchen (2005). "Bad Girls Like to Watch: Writing and Reading Ladies' Comics". ใน Miller, Laura; Bardsley, Jan (บ.ก.). Bad Girls of Japan. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1403969477.