โคมลอยเป็นชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ เป็นบอลลูนลมร้อนขนาดเล็กอย่างหนึ่ง มักทำจากไม้ไผ่ตั้งเป็นโครงติดกระดาษสาทาน้ำมัน ข้างในใส่เทียนหรือเชื้อเพลิงแล้วจุด ความร้อนจะก่ออากาศภายในโคม โคมจึงเบาขึ้นจนค่อย ๆ ลอยไปในอากาศ เพราะฉะนั้น โคมลอยจึงลอยได้เท่าที่เพลิงยังไม่มอด เมื่อมอดแล้วก็ตกลงสู่พื้นโลกดังเดิม

โคมข่งหมิงสมัยใหม่
บรรยากาศงานยี่เป็งในตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการปล่อยโคมลอย

ในทวีปเอเชียและที่อื่นทั่วโลก มีการทำโคมลอยเป็นประเพณีมาหลายศตวรรษแล้ว เพื่อปล่อยสำหรับเล่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซึ่งมีมายาวนาน ชื่อ "โคมลอย" เป็นคำแปลของชื่อภาษาจีน เทียนเติง (天燈, 天灯) โคมลอยนั้น บางทีก็เรียก ไฟลอยหรือเทียนลอย แต่คำอย่างหลังนี้มักใช้หมายถึง ระเบิดที่ใช้กันในสงครามโลกครั้งที่สองมากกว่า

ประวัติ แก้

โจเซฟ นีดแฮม นักจีนศึกษาและนักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ว่า ชาวจีนทดลองบอลลูนลมร้อนขนาดเล็กเพื่อส่งสัญญาณมาตั้งแต่ 3 ศตวรรษก่อนคริสตกาล ระหว่างยุครณรัฐ ทว่า ตามประเพณี การประดิษฐ์นั้นยกให้เป็นของปราชญ์และนักยุทธศาสตร์ทางทหาร จูเก่อเลี่ยง (234–181 ปีก่อนคริสตกาล) [1] ฉายา ข่งหมิง กล่าวกันว่าเขาใช้สารซึ่งเขียนในโคมลอยเพื่อขอความช่วยเหลือครั้งเขาถูกทหารข้าศึกล้อม ด้วยเหตุนี้ โคมลอยจึงยังรู้จักในประเทศจีนว่า โคมข่งหมิง (孔明燈, 孔明灯)

โคมลอยเป็นคำอธิบายการพบเห็นยูเอฟโอที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งตลอดมาจนถึงปัจจุบัน[2][3]

การใช้ แก้

จีนแผ่นดินใหญ่ แก้

ในจีนโบราณ โคมลอยใช้ในทางยุทธศาสตร์ในสงคราม ทว่า ช่วงหลัง มีการใช้นอกเหนือจากทางทหารเมื่อได้รับความนิยมในหมู่เด็กในเทศกาล ต่อมา โคมลอยเหล่านี้รวมอยู่ในเทศกาลอย่างเทศกาลไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม

ไต้หวัน แก้

ย่านผิงซี (Pingxi District) ในนครนิวไทเปของไต้หวันจัดเทศกาลโคมประจำปีซึ่งมีการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้าราตรีพร้อมกับมีคำอธิษฐานเขียนไว้บนโคม

ไทย แก้

ชาวล้านนาทางภาคเหนือของประเทศไทยใช้โคมลอยตลอดปี เพื่อการเฉลิมฉลองและโอกาสพิเศษอื่น เทศกาลสำคัญมากหนึ่งซึ่งใช้โคมลอย คือ เทศกาลยี่เป็ง ซึ่งจัดในวันเพ็ญ เดือน 2 ของปฏิทินล้านนา (ตรงกับลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของปฏิทินจันทรคติไทย) การเฉลิมฉลองยี่เป็งที่ซับซ้อนที่สุดเห็นได้ในจังหวัดเชียงใหม่ เมืองหลวงโบราณของอดีตราชอาณาจักรล้านนา เทศกาลนี้มุ่งหมายให้เป็นเวลาทำบุญ ในสมัยปัจจุบัน ชาวไทยทุกภาคนิยมลอยโคมเมื่อโคมลอยถูกรวมอยู่ในเทศกาลในส่วนที่เหลือของประเทศ

นอกเหนือจากนี้ คนยังประดับบ้าน สวนและวัดด้วยโคมกระดาษรูปทรงประณีต (เรียก โคมไฟ) หลายแบบ มองว่าการปล่อยโคมลอยทำให้โชคดี และชาวไทยจำนวนมากเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาและความกังวลลอยไป

บราซิลและโปรตุเกส แก้

 
การปล่อยโคมลอยในประเทศเม็กซิโก

โคมลอยเป็นลักษณะตามประเพณีหนึ่งของเทศกาลเดือนมิถุนายน (Festas Juninas) เมื่อปลายเดือนมิถุนายน อ้างว่า ผู้อยู่ในนิคมนำจารีตประเพณีดังกล่าวจากโปรตุเกสไปบราซิลในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยังคงเหนียวแน่นในประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปร์ตู ประเพณีวันหยุดเดือนมิถุนายนยังรวมประทัดและดอกไม้ไฟ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนเช่นกัน ฉะนั้นจึงคาดคะเนว่า นักสำรวจชาวโปรตุเกสอาจนำส่วนเหล่านี้มาจากจีนราว ค.ศ. 1500 มีการดัดแปลงการออกแบบปละจารีตประเพณีของโคมลอยบราซิลให้เข้ากับเทศกาลของตน

โคมลอยบราซิลปกติทำโดยเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเล็ก แต่ผู้ใหญ่ร่วมด้วยบางครั้ง โดยเฉพาะบอลลูนขนาดใหญ่และประณีตมาก การปล่อยโคมขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึงสองเมตร ปกติจะต้องอาศัยการร่วมมือของหลายคนช่วยจับบอลลูนให้ตึงเต็มที่ก่อนพอง

อันตราย แก้

 
ขยะโคมลอยที่เขตสงวนธรรมชาติแห่งชาติ (national nature reserve) Muir of Dinnet ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติสกอตแลนด์

โคมลอยอาจตกสู่พื้นขณะไฟยังลุกอยู่ ทำให้เป็นอัคคีภัย[4] ในการออกแบบตรงแบบ ตราบเท่าที่โคมตั้งตรงอยู่ กระดาษจะไม่ร้อนจนติดไฟ แต่หากโคมเอียง (อาจเกิดจากลมหรือการชนวัตถุบางอย่าง) โคมอาจติดไฟขณะอยู่ในอากาศ ปกติกระดาษจะไหม้หมดในไม่กี่นาที แต่ต้นเพลิงยังจุดอยู่จนตกถึงพื้น

หลังบอลลูนตก โครงลวดบางที่เหลือจะสลายไปช้ามาก เหลือเป็นภัยต่อสัตว์ที่อาจไปกลืนมัน[5] ใน ค.ศ. 2009 บริษัทอังกฤษ สกายออบส์ไชนีสแลนเทินส์ พัฒนาโคมซึ่งมีเชือกกันไฟสลายได้ทางชีวภาพแทนลวดโลหะ[6] ผู้ผลิตสัญชาติยุโรปอื่นอีกมากรับการออกแบบคล้ายกันนี้ ใน ค.ศ. 2012 บริษัทเดียวกันออกการออกแบบที่ได้สิทธิบัตรโดยมีฐานกันไฟหลังมีรายงานโคมทำให้เกิดไฟ[7]

ยังอ้างว่าโคมไฟเป็นอันตรายต่ออากาศยาน[8] เที่ยวบินบางกอกแอร์เวย์หนึ่งถูกยกเลิกหลังพบโคมกระดาษอยู่ในเครื่องยนต์ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่[9]

วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เกิดเพลิงใหญ่สุดที่เคยมีมาในเวสต์มิดแลนส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัสดุรีไซเคิล 100,000 ตันและก่อความเสียหายมูลค่าที่ประเมิน 6 ล้านปอนด์ เริ่มจากโคมลอยซึ่งตกที่โรงรีไซเคิลพลาสติกในสเมธวิก (Smethwick) กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสามารถจับภาพโคมเริ่มต้นไฟได้[10][11] ในการสนองต่อเหตุดังกล่าว พาวนด์แลนด์ตัดสินใจหยุดขายโคมลอยและเรียกคืนสต็อกทั้งหมดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2013[12]

รัฐบาลสหราชอาณาจักรตัดสินใจไม่ห้ามโคมลอย แต่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 สถาบันมาตรฐานการค้า ตามการอภิปรายระหว่างรัฐบาลและอุตสาหกรรม ออกกฎระเบียบอุตสาหกรรมเพื่อให้แนวทางแก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกโคมลอย ซึ่งต้องให้การผลิต และคำเตือนและคำชี้แจง[13]

สถานะทางกฎหมาย แก้

แม้มีใช้มาหลายศตวรรษ แต่บางคนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นได้ทำให้พืชผลหรือเพลิงไหม้อาคาร และอาจทำอันตรายต่อสัตว์ที่อาจกินเศษที่เหลือ แม้มิได้แพร่หลายทั่วไป แต่บางที่ห้ามโคมลอยด้วยเหตุผลเหล่านี้[14]

นครซานย่า ประเทศจีน ห้ามโคมลอยเนื่องจากภัยต่ออากาศยานและการนำทางน่านฟ้า[15]

การปล่อยโคมลอยมิชอบด้วยกฎหมายในส่วนใหญ่ของประเทศเยอรมนี แม้การใช้ไม่ผิดกฎหมาย เช่นในแฮร์ฟอร์ด จำเป็นต้องขอคำอนุญาตล่วงหน้าจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในประเทศออสเตรีย การผลิต ขาย นำเข้าหรือจัดจำหน่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย[16] ในประเทศอาร์เจนตินา ชิลีและโคลอมเบีย การปล่อยโคมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับในประเทศสเปนและเวียดนาม ในประเทศบราซิล การปล่อยโคมเป็นอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม มีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปีตั้งแต่ ค.ศ. 1998[8]

การค้าปลีกโคมลอย (แต่ไม่รวมการครอบครองและใช้) ซึ่ง "อาศัยไฟเปิดเพื่อให้ความร้อนอากาศในโคม" ถูกห้ามในประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011[17]

โคมลอยยังถูกห้ามในเทศมณฑลคิตทิทัส (Kittitas) รัฐวอชิงตัน เนื่องจากความกังวลต่อไฟเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2013[18]

ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โคมลอย หรือเรียก บอลลูนไฟหรือร่มไฟ ถูกห้ามตั้งแต่ ค.ศ. 1892[19]

ในบริเตนใหญ่ การใช้โคมลอยไม่ผิดกฎหมาย แต่ในประกาศที่กำหนดโดยการบินพลเรือนซึ่งระบุใน CAP 736 และเป็นอันตรายต่ออากาศยานมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปีและโทษปรับ 5,000 ปอนด์[20]

อ้างอิง แก้

  1. Yinke Deng (2005). 中国古代发明 (Ancient Chinese Inventions). 五洲传播出版社. ISBN 7508508378.
  2. Speigel, Lee (2011-04-04). "Chicago UFO Mystery Solved: They Were Sky Lanterns in Honor of Child Abuse Victims". AOL News. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  3. Scribbens, Nicola (2009-06-11). "Readers say Burnham-On-Sea UFO was probably a Chinese lantern". Burnham-On-Sea.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-02.
  4. Gancia, Barbara (2004-08-06). "Inconseqüência sazonal vitima mais um" (ภาษาโปรตุเกส). Folha de São Paulo (online). สืบค้นเมื่อ 2013-02-02. Firefighters have been striving for five days to put out a criminal fire in the Guarulhos region. This time it was a tire recycling company; but it could have happened to my home, or to yours, dear reader.
  5. Hickman, Leo (2009-07-31). "What's the environmental impact of a sky lantern?". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  6. "Sky's The Limit For Eco Friendly Chinese Lanterns". Manchester Evening News. 2011-06-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  7. "Sky Orbs wins £100k Russian order". Manchester Evening News. 2012-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  8. 8.0 8.1 "Balão cai no aeroporto de Cumbica; Infraero faz campanha de prevenção" (ภาษาโปรตุเกส). Folha de São Paulo (online). 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24. Only last year the state-owned company recorded at the Guarulhos [=Cumbica] airport 104 incident. In 2008 [...] there were already 17 incidents.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-01-03.
  10. Smethwick blaze CCTV released - ITV News
  11. "Smethwick fire: Chinese lantern 'caused largest blaze'". BBC News. 2013-07-01.
  12. "Poundland Stops Selling Chinese Lanterns After Massive Fire In Smethwick". Huffington Post. 2013-07-06. Retrieved 2013-07-06.
  13. UK TSI: INDUSTRY CODE OF PRACTICE – SKY LANTERNS, August 2014[ลิงก์เสีย]
  14. "Chinese lanterns pose danger to livestock, NFU says". BBC News. 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  15. Romana, Chito (2009-03-27). "Why Did China Ban Traditional Flying Lanterns? - World View". Blogs.abcnews.com. ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  16. "BUNDESGESETZBLATT FÜR DIE REPUBLIK ÖSTERREICH" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). 2009-12-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-24.
  17. "Sky lanterns". Australian Competition and Consumer Commission. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  18. "Fire danger prompts ban of sky lanterns". 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-07-12.
  19. "§ 22-1317. Flying fire balloons or parachutes".
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-09. สืบค้นเมื่อ 2015-01-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้