โกศล ไกรฤกษ์ (10 เมษายน พ.ศ. 2469 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 5 สมัย และ อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม กับ พรรคประชากรไทย

โกศล ไกรฤกษ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม 2525 – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527
ก่อนหน้าเกษม ศิริสัมพันธ์
ถัดไปพงส์ สารสิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2469
กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (78 ปี)
คู่สมรสนางประดับ ไกรฤกษ์

ประวัติ แก้

โกศล ไกรฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2469 เป็นบุตรชายของร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์ กับนางสำนึง (อมาตยกุล)ไกรฤกษ์ [1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ เตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งต่อมาได้เข้าเรียนต่อ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบการศึกษา

โกศล สมรสกับ นางประดับ ไกรฤกษ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ นางสาวดวงตา ไกรฤกษ์ นางสาวพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพิษณุโลก และ นายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก

โกศล ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร

การทำงาน แก้

โกศลมีอาชีพเป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงเจ้าของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตะวันออกไฟแนนซ์ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

งานการเมือง แก้

โกศล ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 5 สมัย [2]

โกศล ไกรฤกษ์ ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] (พ.ศ. 2523) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2524)[4] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[6] เมื่อปี พ.ศ. 2526 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2533[7], เป็นต้น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

โกศล ไกรฤกษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคอิสระ
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชากรไทย

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

โกศล ไกรฤกษ์ เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานและโรคไต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สิริอายุรวม 78 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีพุทธศักราช 2538 มหาวิทยาลัยนเรศวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-03. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ และนายตามใจ ขำภโต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี นายโกศล ไกรฤกษ์ และนายวิศิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใหม่)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  8. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก. สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
ก่อนหน้า โกศล ไกรฤกษ์ ถัดไป
ปุณมี ปุณศรี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(30 เมษายน 2526 – 13 มกราคม 2529)
  สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์