แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง

แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง (อังกฤษ: The Sun Also Rises) เป็นนวนิยายเรื่องเอกเรื่องแรกของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม จัดพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2469 มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้อพยพชาวอเมริกันและชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป ในยุค ค.ศ. 1920 ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ซึ่งตั้งโดยเฮมิงเวย์ตามคำแนะนำของสำนักพิมพ์ นำมาจากพระธรรมปัญญาจารย์ 1:5 ที่มีเนื้อความว่าThe sun also ariseth, and the sun goeth down, and hasteth to his place where he arose. [Note 1]ซึ่งเป็นคัมภีร์ลำดับที่ 25[Note 2] หรือ 21[Note 3]ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ โดยก่อนหน้านี้เฮมิงเวย์ตั้งชื่อให้กับนวนิยายเรื่องนี้ว่า เฟียสตา (อังกฤษ: Fiesta) ซึ่งชื่อดังกล่าวได้นำไปใช้ในการจัดพิมพ์ในฉบับสหราชอาณาจักร และฉบับภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ภาษาอิตาลี และภาษาสเปนของนวนิยายเรื่องนี้

แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง  
ผู้ประพันธ์เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ประเภทวรรณกรรม
สำนักพิมพ์ชาร์ลส์ สคริบเนอร์สัน (สหรัฐอเมริกา); โจนาธาน เคป (ในสหราชอาณาจักร โดยใช้ชื่อว่า Fiesta: A Novel)
วันที่พิมพ์มิถุนายน พ.ศ. 2469 (USA) & พ.ศ. 2470 (UK)
ชนิดสื่อจัดพิมพ์ในรูปของปกแข็งและปกอ่อน
หน้า259 หน้ากระดาษ (ฉบับปกแข็ง)
ISBNNA ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBNT}}: invalid character
เรื่องก่อนหน้ากระแสลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ 
เรื่องถัดไปเม็นวิทเอาท์วีเมน (รวมเรื่องสั้น) 

เนื้อเรื่องย่อ แก้

เรื่องราวเริ่มกล่าวถึงนักเขียนชาวอเมริกัน ซึ่งมีชื่อว่า "แจ็ค บาร์นส์" ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงปารีสร่วมกับมิตรสหาย ในสมัยกลางยุค 20 และเดินทางไปชมการสู้วัวกระทิงที่สเปน เขาหลงรัก"เบรตต์ แอชลี" ทั้งที่จริงแล้วเธอค่อนข้างเป็นคนเจ้าชู้ รักง่ายหน่ายเร็ว เธอมีคู่หมั้นชื่อ"ไมค์" ทั้งยังมี"โคห์น"อดีตนักมวยชาวยิว และ"โรเมโร"มาธาดอร์ที่ต่างหลงรักเธอ แม้ว่าจะสร้างความเจ็บปวดใจให้ชายหลายคน แต่ก็ดูราวกับว่าทุกคนยังคงหลงในตัวเธออยู่ดี[1]

เบื้องหลัง แก้

ใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1925 เฮมิงเวย์ได้เดินทางเยี่ยมชมเทศกาล ซานเฟมิน ในแปมป์โลนา ในสเปน ซึ่งเป็นเทศกาลที่สามของเขาเข้าเยี่ยมชม ก่อนที่จะได้แรงดลบันดาลใจในการเขียนเรื่อง "แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง" ในเวลาต่อมา[2]

ประวัติการจัดพิมพ์ แก้

นวนิยายเรื่อง แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นโดยสำนักพิมพ์สคริบเนอร์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1926 ฉบับจัดพิมพ์ครั้งแรกถูกจัดพิมพ์ขึ้นเป็นจำนวน 5,090 เล่ม ในจัดจำหน่ายในราคาเล่มละ 2 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ในฉบับภาษาบริติชอิงลิชใช้ชื่อเรียกนวนิยายชุดนี้ว่า เฟียสตา [3]

รูปแบบการเขียน แก้

แฮมมิงเวย์ในยามว่างในการเขียนเรื่อง แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง ถือเป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเขา โดยรูปแบบการเขียนมีอิทธิพลต่อการเขียนที่ฉีกแนวไปจากเดิม

[1]

การตอบรับ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 บทวิเคราะห์ "แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง"
  2. Donaldson, op cit, p 89
  3. Oliver, Charles M. (1999). Ernest Hemingway A to Z: The Essential Reference to the Life and Work. New York: Checkmark. ISBN 0-8160-3467-2.

เชิงอรรถ แก้

  1. คำแปลพระธรรมปัญญาจารย์ในวิกิซอร์ซ ให้คำแปลของเนื้อความดังกล่าวว่า "ดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตก แล้วรีบไปถึงที่ซึ่งขึ้นมานั้น"
  2. นับตามลำดับคัมภีร์ในนิกายโรมันคาทอลิก
  3. นับตามลำดับคัมภีร์ในนิกายโปรเตสแตนต์

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้