ดาวเทียม Landsat-7 เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautics and Space Administration : NASA) องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) และกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 สูงจากพื้นโลก 705 ก.ม. โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในแนวเหนือใต้และโคจรซ้ำบริเวณเดิมทุก 16 วัน อุปกรณ์บันทึกข้อมูลระบบ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM+) ซึ่งประกอบด้วยระบบบันทึกข้อมูลหลายช่วงคลื่น (Multispectral) รายละเอียดภาพ 30 เมตร และระบบบันทึกข้อมูลช่วงคลื่อนเดียว (Panchromatic) รายละเอียดภาพ 15 เมตร

ดาวเทียม Landsat-7 พัฒนาโดย 3 หน่วยงาน คือ แก้

  1. NASA: รับผิดชอบด้านการพัฒนาตัวดาวเทียม, อุปกรณ์, จรวดส่งดาวเทียมและระบบควบคุมภาคพื้นดิน ตลอดจนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร, การตรวจสอบการโคจรและการปรับเทียบอุปกรณ์
  2. NOAA: รับผิดชอบด้านระบบปฏิบัติการของดาวเทียมทั้งหมด ตลอดอายุการโคจร
  3. USGS: รับผิดชอบด้านการรับสัญญาณข้อมูล, การผลิตข้อมูล, การเก็บรักษาข้อมูล และการแจกจ่ายข้อมูลถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta II จากฐานทัพอากาศ Vandenberg, California เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2542

คุณลักษณะดาวเทียม แก้

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร
น้ำหนัก 2,150 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร 705 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก 98.2 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล 10:00 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ 98.9 นาที
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน 14.5 รอบ
ระบบบันทึกข้อมูล ETM+ (Enhanced Thermatic Mapper Plus)
รายละเอียดภาพ 30, 60 (อินฟราเรดความร้อน) และ 15 (PAN) เมตร
ความกว้างของภาพ 185 กิโลเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร
อายุการทำงานที่ค่ดหมาย 5 ปี


อุปกรณ์บันทึกข้อมูล แก้

ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร) ประเภทข้อมูลที่ได้
ระบบ Enhanced Thermatic Mapper Plus (ETM+)
แบนด์ 1 : แบนด์ 1 : 0.450-0.515 (น้ำเงิน-เขียว) ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง, แยกพืชและสภาพความเขียว
แบนด์ 2 : 0.525-0.605 (เขียว) แยกชนิดพืช
แบนด์ 3 : 0.630-0.690 (แดง) ความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟีลล์ในพืชพรรณต่าง ๆ
แบนด์ 4 : 0.775-0.900 (อินฟราเรดใกล้) ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ, ปริมาณ มวลชีวะ
แบนด์ 5 : 1.550 - 1.750 (อินฟราเรดคลื่นสั้น) พืช, ความชื้นในดิน, แยกความแตกต่างเมฆและหิมะ
แบนด์ 6 : 10.40 - 12.50 (อินฟราเรดความร้อน) ความร้อนผิวหน้า, ความชื้นของดิน, ความเครียดของพืช
แบนด์ 7 : 2.090 - 2.350 (อินฟราเรดสะท้อน) แยกชนิดหิน
PAN : 0.520-0.900 (สีเขียว-อินฟราเรดใกล้) แหล่งชุมชน, สิ่งก่อสร้าง, เส้นทางคมนาคม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. เก็บถาวร 2010-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. บริการข้อมูลจากดาวเทียม สทอภ.
  3. http://www.gistda.or.th/index.php/service/75