แม่น้ำลพบุรี เป็นลำน้ำสาขาที่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลไปรวมเข้ากับแม่น้ำป่าสัก มีความยาวทั้งหมด 85 กิโลเมตร[1][2]

แม่น้ำลพบุรี
คลองสะพานหนึ่ง (ซ้าย) ไหลไปบรรจบกับคลองสะพานสองและแม่น้ำลพบุรี (ขวา) บริเวณวัดมณีชลขัณฑ์ อำเภอเมืองลพบุรี
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดสิงห์บุรี, ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่งตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
 • พิกัดภูมิศาสตร์14°52′37.6″N 100°24′39.5″E / 14.877111°N 100.410972°E / 14.877111; 100.410972
ปากน้ำแม่น้ำป่าสัก
 • ตำแหน่ง
ตำบลหัวรอและตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 • พิกัด
14°21′51.7″N 100°34′46.2″E / 14.364361°N 100.579500°E / 14.364361; 100.579500
ความยาว85 กิโลเมตร (53 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลำน้ำสาขา 
 • ขวาแม่น้ำบางขาม, แม่น้ำโพธิ์สามต้น

ประวัติ แก้

ต้นน้ำของแม่น้ำลพบุรีอยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี[2] ไหลทางตะวันออกผ่านอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี, อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ก่อนไหลลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอบ้านแพรก, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง[3] และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักหน้าตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงจะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 63 กิโลเมตร[4]

แต่เดิมแม่น้ำลพบุรีสายเก่าไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดขุนยวนโดยมีลักษณะไหลโอบบริเวณเกาะเมืองด้านเหนือไปทางตะวันตก[5] ครั้นได้มีการขุดลอกคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำลพบุรีกับแม่น้ำป่าสักที่อยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณวัดตองปุ เรียกว่า "คูขื่อหน้า" ทำให้กรุงศรีอยุธยามีสัณฐานเป็นเกาะ[6] กลายเป็นคูเมืองทางเหนือของกรุงศรีอยุธยา[7] อีกทั้งแม่น้ำลพบุรีไหลลงแม่น้ำป่าสักมากขึ้นเพราะระยะทางใกล้กว่า ส่วนแม่น้ำลพบุรีสายเดิมที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก็ตื้นเขินและแคบลงเรียกกันว่า "คลองเมือง"[8]

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลพบุรีมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแล้ว จนเป็นแหล่งชุมชนที่พัฒนาเป็นบ้านเมืองแล้วเป็นรัฐ ได้แก่ รัฐทวารวดี, รัฐละโว้-อโยธยา ก่อนพัฒนาเป็นกรุงศรีอยุธยาในกาลต่อมา[2] ในยุคทวารวดี สายน้ำนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับคลองและสายน้ำไปยังเมืองบางไผ่ (อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี), เมืองจันเสน (อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์), เมืองอู่ตะเภา (อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท) ดังจะพบวัดเก่าสมัยอยุธยาเรียงรายตามลำน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้สันนิษฐานไว้ในหนังสือ "ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสตั้งแต่พระราชวังจันทรเกษมถึงจังหวัดลพบุรี" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "เส้นทางสายนี้คงเป็นแม่น้ำลพบุรีสายเดิม และพระนางจามเทวีเดินทางจากละโว้ ขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย ผ่านตามเส้นทางน้ำที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาแถบหลังอำเภอพยุหะคีรี"[9]

ในอดีตแม่น้ำลพบุรีมีความสำคัญในด้านการคมนาคมทางน้ำ ที่จังหวัดลพบุรีมีการใช้ลำน้ำนี้เพื่อติดต่อค้าขายกับกรุงเทพมหานคร โดยมีท่าเรือสำหรับเดินทางไปยังกรุงเทพฯ ที่ท่าน้ำตรงข้ามวัดพรหมาสตร์ นอกจากนี้ชาวบ้านยังใช้เดินทางไปต่างเมือง คือเมืองสิงห์บุรีและบ้านแพรก แต่ปัจจุบันผู้คนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ การสัญจรทางน้ำในแม่น้ำลพบุรีจึงหายไป[1]

สภาพน้ำ แก้

จากการสำรวจสภาพน้ำของแม่น้ำลพบุรีในปี พ.ศ. 2546 พบว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้[10] และจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2554 พบว่าแม่น้ำลพบุรีมีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากร้อยละ 25 และอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 25[11] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแม่น้ำลพบุรีมีปัญหาโคลนตมและวัชพืชสะสมจนตื้นเขิน[1]

แม่น้ำลพบุรียังมีความสมบูรณ์อยู่มาก โดยกรมประมงได้มีการปล่อยปลา และกุ้งจำนวนมาก เนื่องในโอกาสพิธีสำคัญต่าง ๆ[12]

เขตชุมชนในลุ่มน้ำ แก้

 
ป้อมเพชร จุดบรรจบของลำน้ำป่าสักกับแม่น้ำเจ้าพระยา

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ทะรี. "ย้อนวันวาน...แม่น้ำลพบุรี การสัญจรบนสายน้ำที่จางหาย..." Lopburiguide.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-03. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำลพบุรี" (PDF). Sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ขนส่งทางน้ำฯ ส่งเครื่องจักรกลหนักเปิดทางน้ำในแม่น้ำลพบุรี เขต จ.อยุธยาฯ หลังผักตบชวากั้นทางน้ำเกือบ". สนุกดอตคอม. 10 ตุลาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา". หอมรดกไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. ศรีศักร วัลลิโภดม (2555). "กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา". เมืองโบราณ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา". หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. สุจิตต์ วงษ์เทศ (17 ธันวาคม 2557). "ทำลายอโยธยา เลยไม่รู้อยุธยามาจากไหน?". .sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "คลองขุดในประเทศไทย". สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (2540). "ข้อสังเกตเรื่อง "ยุคเหล็กลุ่มลพบุรี-ป่าสัก"". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง". สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "แม่น้ำลพบุรี". ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "แห่ดูปลาบึกยักษ์จับได้ในแม่น้ำลพบุรี". โพสต์ทูเดย์. 21 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้