แมททิว "แมต" โจเซฟ ค็อกแลน (Matthew "Matt" Joseph Korklan) เกิดวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1983 นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน สังกัดWWE ในชื่อ อีแวน บอร์น (Evan Bourne)[1] ก่อนที่จะเซ็นสัญญาเข้าร่วม WWE เขาเคยใช้ชื่อ แมต ไซดัล (Matt Sydal) และได้ร่วมปล้ำในสมาคมต่างๆมาแล้วมากมาย อาทิ Independent Wrestling Association Mid-South, ริงออฟออเนอร์ (ROH) และค่ายดราก้อนเกทของญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ชื่อในการปล้ำว่าแมต ไซดัลมาโดยตลอด จนกระทั่งเริ่มมีชื่อเสียงจากการเข้าร่วม Wrestling Society X ซึ่งออกอากาศทางเอ็มทีวีเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะโด่งดังเต็มที่กับค่ายTNA ซึ่งความมีชื่อเสียงและความมีฝีมือของเขานี้เองทำให้ได้เข้าสู่ WWE ในเวลาต่อมา

Matt Sydal
ชื่อเกิดMatthew Joseph Korklan[1]
เกิด (1983-03-19) มีนาคม 19, 1983 (41 ปี)[1]
St. Louis, Missouri, U.S.[1]
ที่พักClearwater, Florida, U.S.
การศึกษาUniversity of Missouri
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนEvan Bourne[2]
Lance Sydal[1]
Matt[1]
Matt Sydal[3]
ส่วนสูง5 ฟุต 9 นิ้ว (175 เซนติเมตร)[3]
น้ำหนัก185 ปอนด์ (84 กิโลกรัม)[3]
มาจากClearwater, Florida[3]
St. Louis, Missouri[2]
ฝึกหัดโดยGateway Championship Wrestling[1]
เปิดตัวOctober 2000[1]

ประวัติ แก้

ก่อนเล่นมวยปล้ำ แก้

แมททิวได้อยู่ทีมมวยปล้ำตัวแทนโรงเรียนตั้งแต่มัธยมปลาย และด้วยความสนใจในมวยปล้ำนี้เอง ทำให้แมททิวสมัครเข้าร่วมค่าย GCW ของรัฐมิสซูรีเมื่อปลายปี 2000 และใช้เวลา 3 เดือนในการฝึกฝน ก่อนที่จะได้ขึ้นเวลาปล้ำจริงเมื่ออายุ 18 ปีเท่านั้น[4] ต่อมาเมื่อฝึกฝนฝีมือจนเก่งขึ้นมากแล้ว แมททิวก็ตัดสินใจย้ายไปปล้ำต่อที่ SPW (Saint Peters Wrestling Organization) และเรียกตัวเองว่า แลนซ์ ไซดอล

เมื่อถึงปี 2003 แมททิวก็ได้รวบรวมเพื่อนๆจากค่าย GCW มาตั้งกลุ่ม Operation Shamrock ขึ้นและเริ่มปล้ำแทกทีม เปิดศึกกับนักมวยปล้ำอื่นๆ โดยคราวนี้เรียกชื่อตัวเองใหม่สั้นๆว่า แม็ท และเก็บเกี่ยวประสบการณ์การปล้ำในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ

ความสำเร็จขั้นต่อไป แก้

แมททิวเข้าสู่ค่าย IWA Mid South ในเดือนพฤศจิกายน 2003 และตัดสินใจนำชื่อเก่าๆมารวมกัน กลายเป็นชื่อ แมต ไซดอลในที่สุด และหลังจากปล้ำที่ IWA เพียง 3 เดือนเท่านั้น แมตก็ได้แชมป์เส้นแรกในชีวิต นั่นคือ IWA Mid-South Light Heavyweight Championship โดยเอาชนะ เจซี ไบร์เลย์[5] คว้าแชมป์ในวันที่ 17 มกราคม 2004 โดยครองแชมป์นานเกือบครึ่งปี ก่อนจะเสียแชมป์ให้กับ เดลีเรียส ในวันที่ 26 มิถุนายน 2004 และหลังจากนั้นแมตก็ย้ายค่ายไปที่ National Wrestling Alliance (NWA) ต่อทันที

หลังจากย้ายไป NWA ได้เพียงเดือนเดียว แมตก็เอาชนะ จัสติน เคจ คว้าแชมป์ NWA Midwest X Division Championship มาได้อีก ก่อนจะเสียแชมป์ให้คู่ปรับคนเดิมที่ย้ายตามมาอย่าง เดลีเรียส.[6] หลังจากครองแชมป์มานานข้ามปี และมีบทบาทเกี่ยวกับการชิงแชมป์และเสียแชมป์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนจะตัดสินใจย้ายออกจากสมาคมเพื่อเข้าร่วม TNA แทน

ในระหว่างที่ปล้ำในค่ายใหญ่น้อยต่างๆนี้ เค้าได้พบกับนักมวยปล้ำรุ่นเดียวกันที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงไปแล้วมากมาย เช่น เอเจ สไตส์ ซึ่งแมตแพ้รวด 3 นัด นอกจากนี้ก็ยังมี ซีเอ็ม พังก์, คริส ซาบิน, เน็ท เว็บบ์ เป็นต้น แต่หลังจากที่เข้าร่วม TNA ไปแล้ว เค้าก็ยังเป็นแขกรับเชิญปล้ำให้สมาคมเล็กๆเหล่านี้เป็นครั้งคราว และทุ่มเทปล้ำเต็มที่ทุกๆครั้งเหมือนสมัยที่ยังไม่ได้โด่งดังเท่านี้[7]

โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง แก้

แมตปรากฏตัวครั้งแรกใน TNA เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2004 ในศึก Victory Road ซึ่งเป็นเพย์ เพอร์ วิว (PPV) ของค่าย โดยโผล่มาร่วมปล้ำในแมตช์ 20-man X Division Gauntlet แต่ก็ไม่ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจอะไร[8] และในระหว่างการปล้ำกับค่าย TNA เค้าก็มักไม่ประสบความสำเร็จและไม่ได้รับการผลักดันเท่าที่ควร แต่แมตก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรมาก โดยขอเพียงให้ตัวเองได้ออกไปปล้ำในสมาคมอื่นๆได้อย่างอิสระเท่านั้น ก่อนจะลาออกจากสมาคมในช่วงปี 2005

ริงออฟออเนอร์ แก้

แมตเข้าสู่สมาคมริงออฟออเนอร์ แบบปล้ำพาร์ทไทม์ และเปิดศึกแรกใน ROH อย่าง Reborn Stage One ในวันที่ 23 เมษายน 2004 และเอาชนะคู่ต่อสู้เก่าแก่อย่างเดลีเรียสไปได้[9] หลังจากนั้นก็ตั้งทีมแอร์ เดวิล ร่วมกับ เอ็ดดี เวกัส และเริ่มปล้ำแบบเหินหาวมากขึ้นเรื่อยๆ และมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆจากการปล้ำที่เสี่ยงตายและพลิ้วไหวสวยงาม[10]

ที่สมาคม ROH นั้น แมตได้เจอกับคู่ต่อสู้เก่าๆสมัยยังปล้ำอินดี้มากมาย รวมทั้งเจอสุดยอดฝีมือหลายๆคนด้วย ครั้งหนึ่ง แมตได้ร่วมทีมกับ ซามัว โจ ชิงแชมป์แทกทีม ROH แต่ไปพลาดแพ้ให้ทีมของเดลิเรียสอีกครั้ง และทำให้แมตฟอร์มทีมใหม่กับ คริสโตเฟอร์ แดเนียล คว้าแชมป์แทกทีมของ ROH มาครองอีกจนได้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2005

หลังจากเสียแชมป์แทกทีมของ ROH ให้ บริสโก บราเธอส์ ในศึก Fifth Year Festival Chicago เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006 แล้ว แมตก็ลองพลิกบทบาทมาเป็นฝ่ายอธรรมดูบ้าง โดยเข้าร่วมทีมสวีท แอนด์ ซาวน์ ของ แลร์รี สวีนีย์ ในบทบาทเอเย่นมาเฟียฝ่ายอธรรม และในขณะนี้เองที่ WWE ได้เข้ามาดูฟอร์มและประทับใจจนเรียกตัวไปทดสอบฝีมือ โดยแมตกล่าวว่าถ้าเค้าไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มสวีท แอนด์ ซาวน์ และได้รับการผลักดันจากแลรี ก็คงไม่มีวันที่ได้เซ็นสัญญากับ WWE เป็นแน่แท้ หลังจากนั้นในเดือนกันยายน 2007 แมตก็ปล้ำแมตช์สุดท้ายปิดฉากชีวิตในสมาคม ROH กับเพื่อนเก่าและคู่ต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีที่สุดอย่างเดลิเรียส ก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้เดลิเรียสไปอีกครั้ง

ดรากอนเกท และเรสต์ลิงโซไซตีเอ็กซ์ แก้

ระหว่างปล้ำที่ ROH นั้น แมตยังได้มีโอกาสไปปล้ำที่ญี่ปุ่นกับสมาคม Dragon Gate ในเดือนพฤษภาคม 2006[11] และตั้งกลุ่ม New Blood Generation International กับ โรเดริก สตรอง และได้รับชัยชนะเป็นเงินหนึ่งหมื่นเหรียญในฐานะผู้ชนะเลิศการแข่งขันประเภทแทกทีม

แมตกลับมาปล้ำให้ Dragon Gate อีกครั้งในปี 2007 และคว้าแชมป์ Open the Brave Gate Title มาจาก มาซาโตะ โยชิโนะ และเป็นแชมป์ชาวต่างชาติคนแรกในประวัติศาสตร์ แมตป้องกันแชมป์กับคู่ต่อสู้มากหน้าหลายตา[12] และครองเข็มขัดไปได้เดือนเศษก่อนจะเสียกลับไปให้ชาวญี่ปุ่นอย่าง เก็นจิ โฮริกูชิ[13][14]

นอกจากนี้แมตยังเป็นส่วนหนึ่งของ Wrestling Society X ของช่อง MTV[15][16][17] ที่ออกอากาศเป็นระยะเวลา 10 ตอน ทำให้คนที่ดู MTV รู้จักกับแมตและเป็นการปล้ำออกโทรทัศน์เป็นรายการที่สองต่อจาก TNA[16][18][16][19]

ดับเบิลยูดับเบิลยูอี แก้

แมตได้เข้าสู่ WWE[20] และเข้าไปฝึกทักษะกับค่าย OVW ในวันที่ 10 ตุลาคม 2007 เอาชนะ จามิน โอลิเวนเซีย[21] ในการปล้ำเปิดตัวได้อย่างสวยงาม ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันแมตก็เอาชนะไมค์ ครูเอล คว้าแชมป์ OVW Heavyweight ได้สำเร็จ[22]

หลังจากนั้น WWE ต้องการนักมวยปล้ำไปชูโรงที่ค่าย FCW บ้าง จึงเขียนบทให้แมตเสียแชมป์ OVW ให้กับเจย์ แบรดลีย์ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2008[23] และย้ายไป FCW ในเดือนมีนาคม เปิดตัวเอาชนะทีเจ วิลสัน ไปได้ และอยู่กับ FCW ไม่นานก็ถูก WWE ดึงตัวไปปล้ำที่ ECW[24]

แมตย้ายมาปล้ำให้ ECW ในวันที่ 3 มิถุนายน 2008 และเปิดตัวด้วยการแพ้ Count out ให้กับเชลตัน เบนจามิน[25] ในสัปดาห์ต่อมาแมตก็เปลี่ยนชื่อตัวเองใหม่ให้โดดเด่นยิ่งขึ้นเป็น อีแวน บอร์น และจับคู่กับ โคฟี คิงส์ตัน เอาชนะไมค์ น็อกซ์ กับเชลตัน เบนจามินไปได้สำเร็จ[26] หลังจากนั้นก็ฝึกฝนฝีมือไปเรื่อยๆด้วยการปราบนักมวยปล้ำใน ECW ด้วยท่าไม้ตายเดียวกันทั้งหมด นั่นคือ Shooting Star Press[27][28][29]

หลังจากโด่งดังใน ECW แล้ว บอร์นก็เข้ามาปล้ำในรอว์บ้างเป็นครั้งคราว เช่น เจอกับเคนแต่ก็แพ้ แต่มาแก้ตัวได้สำเร็จเมื่อแทกทีมกับเรย์ มิสเตริโอ เอาชนะคู่แทกทีมแห่งปี 2008 ไปได้[30] บอร์นเคยได้สิทธิเข้าไปชิงแชมป์โลก ECW จากการโหวตในศึก Cyber Sunday แต่ก็แพ้ให้กับแมต ฮาร์ดีไปอย่างน่าเสียดาย และต่อมาไม่นานบอร์นก็ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าเคลื่อน และได้รับการคาดหมายว่าจะต้องพักยาวถึง 6 เดือน[31] แต่ถึงอยู่ในช่วงที่ไม่มีการปล้ำ บอร์นก็ยังโผล่หน้ามาให้แฟนๆให้เห็นอยู่บ้างประปราย เช่นในรอว์ วันที่ 1 ธันวาคม 2008 ถือไม้ค้ำยันออกมาทักทายคนดู ก่อนที่จะโดนไมค์ น็อกออกมาเล่นงาน หรือในรอว์ ตอนประกาศรางวัล สแลมมีอะวอร์ด บอร์นก็ปรากฏตัวให้เห็นอีกครั้งเพื่อรับรางวัล สุดยอดท่าไม้ตายแห่งปี และนั่นเป็นการปรากฏตัวครั้งสุดท้ายของเขากับ WWE ในปี 2008[32]

บอร์นได้ย้ายมาสู่รอว์[33] เพื่อมาสร้างสีสันโดยบทบาทของบอร์นจะวนเวียนปล้ำอยู่กับ เดอะมิซ และแจ็ก สแวกเกอร์ โดยจะปล้ำผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะโดยบอรนด์มีโอกาสได้ชิงแชมป์ยูเอส กับเดอะมิซ แต่ก็แพ้ไปอย่างน่าเสียดาย บอร์นได้ปล้ำศึกใหญ่เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2009) ใน Traditional Survivor Series Match แต่ทีมของบอร์นก็แพ้ บอร์นยังไปปล้ำที่ ECW ใน Homecoming Battle Royal แต่ก็ถูกเหวี่ยงออกเป็นคนแรก บอร์นได้ปล้ำรอยัลรัมเบิลโดยออกมาเป็นคนที่2 อยู่บนเวทีได้พอสมควรแต่ถูกซีเอ็ม พังก์เหวี่ยงตกเวทีไปได้อย่างน่าเสียดาย[34] ต่อมาในรอว์ บอร์นได้จับคู่กับโยะชิ ทะสึ และโคฟี คิงส์ตัน เอาชนะเดอะเลกาซี ไปได้อาทิตย์ต่อมา ในการคัดเลือกหาผู้เข้าร่วมมันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ บอร์นเอาชนะวิลเลียม รีกัล ผ่านเข้าไปชิงกระเป๋าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 ซึ่งบอร์นก็ไม่ได้ทำให้แฟนๆ ผิดหวังเพราะบอร์นปล้ำได้มันส์มากแต่ถึงกระนั้น กระเป๋าก็ตกไปในมือของแจ็ก สแวกเกอร์

กลับมาในรอว์ บอร์นมีโอกาสเจออดีตลูกพี่ของตัวเอง ซีเอ็ม พังก์ โดยใครชนะจะได้สิทธิ์การดราฟท์ตัวนักมวยปล้ำไปโดยบอร์นเป็นตัวแทนรอว์ โดยบอร์นแพ้ไป เพราะมีคนมาป่วนในการปล้ำต่อมาบอร์นเอาชนะ แซค ไรเดอร์ ทำให้ บอร์นได้ผู้หญิงของแซค มาครองนั่นคือเกล คิม และทั้งคู่ก็ปล้ำเอาชนะแซค ไรเดอร์ และอลิเซีย ฟอกซ์ ในสัปดาห์ต่อมาอีกด้วย ต่อมาบอร์นมีเรื่องกับเอดจ์ และบอร์นได้จับคู่กับจอห์น ซีนาเอาชนะเอดจ์กับเชมัสได้สำเร็จ[35] หลังจากนั้นมีการโหวตว่าใครจะได้เจอกับเชมัส ผลปรากฏว่าเป็นเคน ชนะโหวตบอร์นอย่างขาดลอย และในรอว์ตอนถัดมานั้น บอร์นได้เจอกับคริส เจริโคโดยบอร์นชนะฟาว์ลเพราะเจริโคเล่นตุกติก[36] และในศึกใหญ่ เฟทัลโฟร์เวย์ (2010) บอร์นได้รีแมตช์กับเจริโคและกลายเป็นบอร์นที่ใช้ Air Bourne เอาชนะได้อย่างงดงาม!.[37]

ในรอว์ (15 สิงหาคม 2011) บอร์นได้จับคู่กับโคฟี คิงส์ตัน เอาชนะแชมป์แท็กทีม WWE ไมเคิล แมคกิลลิคัตตี และเดวิด โอทังกาไปได้ ในรอว์ถัดมา (22 สิงหาคม 2011) บอร์นและโคฟีได้ชนะแมคกิลลิคัตตีและโอทังกา คว้าแชมป์แท็กทีมคู่กันได้สำเร็จ และเป็นแชมป์เส้นแรกของบอร์นใน WWE[38] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011) ต้องป้องกันแชมป์กับเดอะมิซและอาร์-ทรูธ แต่จบด้วยการฟาล์วไม่เสียแชมป์ ในเฮลอินเอเซล (2011) สามารถป้องกันแชมป์กับดอล์ฟ ซิกก์เลอร์และแจ็ก สแวกเกอร์เอาไว้ได้ และได้รีแมตช์กันในเวนเจินส์ (2011) แต่ก็ป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[39]

บอร์นได้ถูก WWE ทำการแบนเป็นเวลา 30 วัน ฐานไม่ผ่านการตรวจสารกระตุ้น[40] หลังจากพ้นโทษแบนก็เสียแชมป์ให้ปรีโมและเอปีโก ไม่นานก็ได้ถูก WWE ทำการแบนอีกครั้งเป็นเวลา 60 วัน ฐานไม่ผ่านการตรวจสารกระตุ้นรอบสอง[41] ถ้าหากมีครั้งที่สาม บอร์นจะถูกไล่ออกจาก WWE ทันที!! ในวันที่ 19 มีนาคม 2012 บอร์นได้รับบาดเจ็บข้อเท้าแตกทั้งๆที่เพิ่งพ้นโทษแบน 60 วัน และตรงกับวันเกิดของบอร์นพอดี (ครบรอบ 29 ปี) นับว่าเป็นการฉลองวันเกิดที่แย่จริงๆ[42] วันที่ 12 มิถุนายน 2014 ได้ถูกไล่ออกจาก WWE[43] และไปปล้ำอยู่ตามสมาคมอิสระต่างๆ[44][45][46][47]

ผลงานอื่นๆ แก้

 
ใช้ท่า Air Bourne ใส่คริส เจริโค

บอร์นเป็นนักมวยปล้ำอายุน้อยที่ได้ออกดีวีดี โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2009 บริษัท Image Entertainment, Inc ก็ได้จัดทำ Before They Were Stars: Matt Sydal: Bourne Is Born ซึ่งเป็นดีวีดีรวบรวมแมตช์การปล้ำของบอร์นในค่ายอินดี้ ตั้งแต่สมัยยังเป็นแม็ท ไซดอลออกมาวางจำหน่าย[48]

แชมป์และรางวัล แก้

 
แชมป์แท็กทีม WWE

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Kamchen, Richard. "Evan Bourne". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ July 12, 2009.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "Evan Bourne". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ June 30, 2009.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Matt Sydal". Impact Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2019. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ OWOW
  5. 5.0 5.1 "Independent Wrestling Association Mid-South Light Heavyweight Title". Wrestling-titles. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  6. 6.0 6.1 "N.W.A. Midwest X Division Title". Wrestling-titles. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  7. 7.0 7.1 "Ted Petty Invitational Tournament 2005". prowrestlinghistory.com. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  8. "Victory Road results". Pro Wrestling History. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  9. "Ring of Honor Events – official results". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-22. สืบค้นเมื่อ April 7, 2012.
  10. Seagull, Matt (May 30, 2006). "Ring of Honor Review: Redemption and Punk: The Final Chapter – Head to Head". Rajah.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  11. "Dragon Gate event results – May 2006". Dragon Gate USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ July 16, 2008.
  12. "Open the Brave Gate title match results". Dragon Gate USA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-12. สืบค้นเมื่อ July 16, 2008.
  13. "Infinity #34, Highlights of 10/8/05 PPV". Dragon Gate USA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-29. สืบค้นเมื่อ August 20, 2008.
  14. 14.0 14.1 "Open the Brave Gate Title". Wrestling-titles. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  15. "Wrestling Society X event results". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  16. 16.0 16.1 16.2 Tylwalk, Nick (March 14, 2007). "WSX: Five-episode feast leaves many questions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 20, 2008.[ลิงก์เสีย]
  17. Lawson, Amy. "WSX: Four times the confusion". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ August 15, 2008.[ลิงก์เสีย]
  18. "WSX bio". MTV. สืบค้นเมื่อ July 16, 2008.
  19. "Spotlight On... Sean Waltman". The Wrestler/Inside Wrestling. Kappa Publications. June 2007. pp. 24–28. Volume 15, 2007.
  20. Martin, Adam (September 5, 2007). "Current plans for CM Punk as ECW Champion, Sydal update + OVW note". WrestleView. สืบค้นเมื่อ July 30, 2008.
  21. "Ohio Valley Wrestling results – 2007". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  22. 22.0 22.1 Westcott, Brian. "NWA – National Wrestling Alliance NWA Ohio Valley Wrestling Heavyweight/Ohio Valley Wrestling Heavyweight Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ June 14, 2008.
  23. "WWE to cease affiliation with Ohio Valley Wrestling". World Wrestling Entertainment. February 7, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-10. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  24. "Florida Championship Wrestling Results". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  25. Medalis, Kara A. (June 3, 2008). "New, Extreme manager in town". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  26. Medalis, Kara A. (June 10, 2008). "Miz & Morrison retain WWE Tag Team gold". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  27. Medalis, Kara A. (June 17, 2008). "Colossal staredown". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  28. Medalis, Kara A. (July 8, 2008). "World's strongest scam". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  29. Passero, Mitch (July 15, 2008). "Iron man". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 29, 2008.
  30. McNamara, Andy (October 26, 2008). "Cyber Sunday lives up to the hype". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ December 9, 2008.
  31. Martin, Adam (July 31, 2008). "Evan Bourne injury update; suffers dislocated ankle". WrestleView. สืบค้นเมื่อ February 5, 2009.
  32. 32.0 32.1 "2008 Slammy Awards". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ December 16, 2008.
  33. Plummer, Dale (June 30, 2009). "Raw: Dubious guest host makes Orton run "The Gauntlet"". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ June 30, 2009.
  34. Caldwell, James (December 29, 2009). "Caldwell's ECW TV Report 12/29: Complete coverage of Tommy Dreamer saying good-bye, Evan Bourne and Matt Hardy return". PWTorch. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  35. "Shooting Star-Spangled Raw". World Wrestling Entertainment. May 31, 2010. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  36. "Pains, growing". World Wrestling Entertainment. June 14, 2010. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  37. "Evan Bourne def. Chris Jericho". World Wrestling Entertainment. June 19, 2010. สืบค้นเมื่อ November 12, 2013.
  38. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 8/22: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – Cena-Punk #1 contender re-match, new tag champions, lies & conspiracies". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
  39. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 8/29: Complete "virtual-time" coverage of live Raw on USA Network". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
  40. "Evan Bourne suspended". WWE. 2011-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
  41. "Corporate news". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
  42. Caldwell, James (March 23, 2012). "Bourne injured in auto accident". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  43. "WWE releases Superstars". WWE. June 12, 2014. สืบค้นเมื่อ June 12, 2014.
  44. 44.0 44.1 "Power Struggle". New Japan Pro Wrestling (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2015. สืบค้นเมื่อ November 7, 2015.
  45. 45.0 45.1 "The New Beginning in Osaka". New Japan Pro Wrestling (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-13. สืบค้นเมื่อ February 11, 2016.
  46. 46.0 46.1 レスリングどんたく 2016. New Japan Pro Wrestling (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ May 3, 2016.
  47. 47.0 47.1 Meltzer, Dave (July 2, 2016). "NJPW Kizuna Road 2016 live results: Katsuyori Shibata defends NEVER title, Young Bucks, Kenny Omega". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ July 3, 2016.
  48. "Evan Bourne DVD". Image Entertainment Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ January 13, 2009.
  49. Eck, Kevin (January 2, 2009). "2008 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  50. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2018. สืบค้นเมื่อ January 13, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  51. "** SPOILERS ** Impact Wrestling Tapings From 5/31 In India, Airing In June - WrestlingInc.com". June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  52. "PWF Lord of the World Title (S. Korea)". Wrestling-Titles.com.
  53. "PWI 500". Pro Wrestling Illustrated. August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2016-08-31.
  54. ""PWI 500": 1–100". Pro Wrestling Illustrated. July 30, 2010. สืบค้นเมื่อ July 31, 2010.
  55. "ROH World Tag Team Championship". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2013. สืบค้นเมื่อ November 12, 2013.
  56. Meltzer, Dave (January 26, 2017). "Daily Update: Omega's decision, HHH conference call, Tito vs. Chael". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017.
  57. "Air Boom's first WWE Tag Team Championship reign". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2013.
  58. 58.0 58.1 58.2 Meltzer, Dave (January 27, 2014). "Jan 27 2014 Wrestling Observer Newsletter: 2013 Annual awards issue, best in the world in numerous categories, plus all the news in pro-wrestling and MMA over the past week and more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 1–37. ISSN 1083-9593. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-27. สืบค้นเมื่อ 2016-08-31.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า แมต ไซดัล ถัดไป
ความสำเร็จ
Bobby Fish and Kyle O'Reilly   Super Junior Tag Tournament winner
(2015)
  Beretta and Rocky Romero