แมงป่องแส้ หรือ แมงป่องหางแส้ (อังกฤษ: whip scorpion) เป็นสัตว์ขาปล้องจำพวกแมงจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับ Thelyphonida

แมงป่องแส้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคคาร์บอนิเฟอรัส–ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ไฟลัมย่อย: เชลิเซอราตา
ชั้น: แมง
อันดับ: แมงป่องแส้
O. P-Cambridge, 1872
วงศ์
ความหลากหลาย
ป. 15 สกุล, > 100 ชนิด

แมงป่องแส้ มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับแมงป่อง มีขา 4 คู่ แต่ขาคู่หน้าเรียวยาวพัฒนาเป็นอวัยวะรับสัมผัส และมีขนยาวตอนปลายลำตัวมีลักษณะยาวคล้ายแส้ ไม่มีอวัยวะในการต่อย จึงเป็นสัตว์ที่ไม่มีพิษ แต่ก็สามารถปล่อยสารเคมีที่มีกลิ่นฉุนออกมา(มีกลิ่นเปรี้ยว) ซึ่งเป็นกรดอเซติคเป็นส่วนใหญ่ ใช้สำหรับป้องกันตัวไม่ใช้ล่าเหยื่อ อันสามารถขับไล่แมลงบางจำพวกอย่างมดหรือเห็บไปได้

แมงป่องแส้ สามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะของหาง ซึ่งมีทั้งยาวและสั้น แพร่กระจายพันธุ์ในป่ารวมถึงในเมืองในภูมิภาคที่มีอากาศแบบเมืองร้อนหรือกึ่งเขตร้อนทั้งในทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย จนถึงออสเตรเลีย [1] ในปี ค.ศ. 2006 มีการจำแนกแมงป่องแส้ออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 100 ชนิด ส่วนชนิดที่รู้จักและพบในไทย รวมถึงพม่าและกัมพูชา มีประมาณ 30 ชนิดหรือมากกว่า[2] [3] [4]

การจำแนก แก้

ณ ค.ศ. 2006 มีการระบุชนิดแมงป่องแส้มากกว่า 100 ชนิดทั่วโลก แบ่งออกเป็นวงศ์ และสกุลต่าง ๆ (ซึ่งรวมวงศ์เพิ่มเติมอันเดียวและวงศ์ที่สงสัยว่าสูญพันธุ์หรือยัง) ได้ดังนี้

 
Mastigoproctus giganteus เพศเมียกับไข่

อ้างอิง แก้

  1. Günther Schmidt (1993). Giftige und gefährliche Spinnentiere [Poisonous and dangerous arachnids] (in German). Westarp Wissenschaften. ISBN 3-89432-405-8.
  2. Whipscorpions known from Thailand including Myanmar and Cambodia แมงป่องแส้ที่รู้จักจากประเทศไทยรวมถึงพม่า และกัมพูชา
  3. แมงป่องแส้
  4. Jeremy C. Huff & Lorenzo Prendini (2009). "On the African whip scorpion, Etienneus africanus (Hentschel, 1899) (Thelyphonida: Thelyphonidae), with a redescription based on new material from Guinea-Bissau and Senegal". American Museum Novitates. 3658: 1–16. doi:10.1206/674.1.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้