แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: McDonald's) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารจานด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1]

แมคโดนัลด์ คอเปอเรชัน
ประเภทเอกชน
ISINUS5801351017 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมร้านอาหาร
ก่อตั้ง15 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ใน แซนเบอร์นาร์ดีโน รัฐแคลิฟอร์เนีย
ผู้ก่อตั้งดิค (Dick) และ แมคโดนัลด์ (Mac McDonald)
สำนักงานใหญ่ชิคาโก รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลัก
เรย์ คลอก ผู้ก่อตั้งบริษัท
จิม สกินเนอร์ ประธานบริษัท
ราล์ฟ อัลบาเรซ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงาน
ผลิตภัณฑ์อาหารจานด่วน (ประกอบด้วย แฮมเบอร์เกอร์ ผลิตภัณฑ์ไก่ เฟรนช์ฟรายส์ ของหวาน ฯลฯ)
รายได้$ 27.56 พันล้าน (2555)
รายได้จากการดำเนินงาน
9,371,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
6,177,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2565) Edit this on Wikidata
สินทรัพย์52,626,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
พนักงาน
1,800,000 (2556)
เว็บไซต์www.mcdonalds.com
แมคโดนัลด์พลาซา

ประวัติ แก้

 
ตราสัญลักษณ์ของแมคโดนัลด์ ซึ่งถูกใช้ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน 2511 ถึงปี 2549

แมคโดนัลด์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.​1948) โดยสองพี่น้องแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดรฟ์ทรูในแซนเบอร์นาร์ดีโน ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์มอนด์ แอลเบิร์ต คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.​1955) เป็นวันก่อตั้งบริษัท

ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548)

รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาน์เตอร์และแบบไดรฟ์ทรูหรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม พาย เป็นต้น

แมคโดนัลด์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอเมริกันและทุนนิยม การเปิดสาขาของร้านแมคโดนัลด์ในประเทศต่าง ๆ มักถูกมองเป็นการบุกรุกของวัฒนธรรมอเมริกัน นอกจากนี้อาหารของแมคโดนัลด์ยังได้รับการวิจารณ์ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย

แมคโดนัลด์ในประเทศไทย แก้

แมคโดนัลด์เปิดสาขาแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528 โดยนายเดช บุลสุข ซึ่งประทับใจในอาหารของแมคโดนัลด์สมัยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่สหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศที่ 35 และสาขาแรกอยู่ที่ห้างโซโก้ หรือเกษรอัมรินทร์ในปัจจุบัน

แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาแรกในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนสาขาอื่น ๆ ในขณะนั้น เพื่อปรับให้เข้ากับภูมิสถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน[2]

จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2566 แมคโดนัลด์ประเทศไทยมีจำนวนสาขาทั้งหมด 228 สาขา[3]

สวัสดิภาพสัตว์ แก้

แมคโดนัลด์ประกาศบนเว็บไซต์ทางการว่า ตนเป็นบริษัทที่ “…เชื่อว่าการปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความห่วงใยและความเคารพเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราเสิร์ฟอาหารที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค สัตว์ที่สุขภาพดีย่อมนำมาซึ่งอาหารที่ปลอดภัย” (... believe treating animals with care and respect is an integral part of our commitment to serving McDonald’s customers safe food. Healthy animals provide safe food.)[4]

ห่วงโซ่อุปทานของแมคโดนัลด์ ใช้ไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงแล้วในหลายๆ ประเทศ ได้แก่ออสเตรเลีย (ตั้งแต่ พ.ศ 2560)[5] เบลเยี่ยม (ตั้งแต่ พ.ศ 2556)[6] ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ พ.ศ 2562)[7] และเยอรมนี (ตั้งแต่ พ.ศ 2560)[8]

เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 แมคโดนัลด์ได้เผยแพร่คำประกาศเจตนารมณ์ว่าจะใช้ไข่ไก่จากฟาร์มไร้กรงเท่านั้น 100 เปอร์เซ็นต์ในทวีปอเมริกาเหนือ และจะดำเนินการเปลี่ยนระบบให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2568[9]

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 อาร์คอส ดอราดอส บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้ประกาศเจตนารมณ์ ว่าจะใช้ไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงเท่านั้นภายในปี พ.ศ. 2568[10]

มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่เช่นเดียวกันนี้ ยังไม่มีการประกาศใช้โดยแมคโดนัลด์ประเทศใด ๆ เลยในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "McDonald's Is King Of Restaurants In 2017 – pg.1". Forbes. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  2. "แฟนพันธุ์แท้ 2002 : แมคโดนัลด์". แฟนพันธุ์แท้. 3 May 2002. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  3. "แมคโดนัลด์ โชว์รายได้ทุบสถิติรอบ 10 ปี พร้อมเปิดกลยุทธ์สู้ศึก QSR ปี 2023-24 ทุ่ม 300 ล้านบาท ขยายสาขา-รีโนเวท". Marketing Oops! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-03-28.
  4. "Animal Health & Welfare". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  5. Dear AFN Reader
  6. McDonald's[ลิงก์เสีย]
  7. McDonald's restaurants to open at the Louvre
  8. "McDonald's Deutschland weitet Einsatz von Freilandeiern in seinen Produkten aus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  9. "McDonald's to Fully Transition to Cage-Free Eggs For all Restaurants in the U.S. and Canada". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  10. Arcos Dorados to exclusively source cage-free eggs

แหล่งข้อมูลอื่น แก้