แฟร์ไชลด์รีพับลิค เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 (อังกฤษ: A-10 Thunderbolt II) เอ-10 บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 1972 และเริ่มประจำการในกองบินกองทัพอากาศสหรัฐเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1976[ต้องการอ้างอิง]

A-10 THUNDERBOLT II
บทบาทภารกิจสนับสนุนทางอากาศ อย่างใกล้ชิด Close air support
ชาติกำเนิดแม่แบบ:สหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตแฟร์ไชลด์ แอร์คราฟท์
บินครั้งแรก10 พฤษภาคม 1976
เริ่มใช้ค.ศ 1977
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
จำนวนที่ผลิต715 ลำ[1]
มูลค่า18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

A-10 เป็นเครื่องบินไอพ่นโจมตีแบบแรกของสหรัฐฯ ที่สนับสนุนหน่วยภาคพื้นดิน โดยเฉพาะการปราบรถถังและรถเกราะลำเลียงพล ด้วยปืนกลขนาดใหญ่ A-10 สามารถบรรทุกอาวุธได้มาก สามารถบินลาดตระเวนได้เป็นเวลานาน มีความคล่องตัวสูงสามารถบินเข้าโจมตีด้วยอัตราเร็วต่ำ มีเกราะป้องกันหัองนักบินเครื่องยนต์และระบบบังคับการบิน[3] เดิมทีนั้นชื่อของA-10 "ธันเดอร์โบลท์" มาจากพี-47 ธันเดอร์โบลท์ที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเนื่องจากเครื่องบินทั้งสองมีประสิทธิภาพในการทำลายภาคพื้น จึงมีชื่อเหมือนกัน มันเป็นเครื่องบินรบที่ให้การสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอ-10 มีชื่อเล่นว่า"วอร์ธอก" (Warthog) หรือเรียกสั้นๆ ว่า"ฮอค" (Hog)[4] ภารกิจรองลงมาคือมันจะทำหน้าที่นำอากาศยานลำอื่นๆ เข้าสู่เป้าหมายบนพื้นดิน เอ-10 ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเป็นหลักจะถูกเรียกว่าโอเอ-10[5]

การพัฒนา แก้

ที่มาของ A-10 แก้

ในช่วงสงครามโลกครั่งที่ 2 ที่การพัฒนาเครื่องบินโจมตีแบบทั่วๆไปของกองทัพอากาศสหรัฐนันเริ่มเงียบลง จากการที่มีการออกแบบเครื่องบินทางยุทธวิถี ในการปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ที่มีความเร็วสูงอย่าง McDonnell F-101 Voodoo และ Republic F-105 Thunderchief แต่เมื่อสหรัฐได้เข้าสู่สงครามเวียดนาม เครื่องบินโจมตีหลักที่มี ก็คือ Douglas A-1 Skyraider มันเป็นเครื่องบินโจมตีเพียงแบบเดียวที่บรรทุกอาวุธได้เยอะ และบินลอยลำได้นานเหนื่อพื่นที่เป้าหมาย แต่ด้วยการที่มันเป็นเครื่องบินใบพัก ทำให้มันมีความเร็วที่ต่ำกว่าเสียงและเสี่ยงต่อการถูกยิงด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน อีกทั่งมันถูกใช้มานานตั่งแต่สงครามเกาหลี

การพัฒนา A-10 Thunderbolt II แก้

 
A-10 Thunderbolt II ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในปี 1977

[6]

ด้วยการขาดขีดความสามารถที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ในวันที 7 มิถุนายน ปี 1961 รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ Robert McNamara ได้สั่งการให้กองทัพอากาศสหรัฐให้พัฒนาเครื่องบินทางยุทธวิถีสองแบบ โดยแบบแรกจะใช้ในภารกิจขัดขว้างทางอากาศ หรือ Air Intercept และอีกแบบหนึ่งโฟกัสไปที่เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด โดยโครงการแรกได้เกิดเป็นโครงการ Tactical Flighter Experimental หรือ TFX ต้นกำเนิดของเครื่องบิน General Dynamics F-111 Aardvark และอีกโครงการ ต้นกำเนิดของตระกูลเครื่องบินขับไล่อย่าง McDonnell Douglas F-4 PHANTOM II ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีและมีความสามารถในการทิ้งระเบิดอีกด้วย แต่ข้อเสียของ PHANTOM จะมี ประสิทธิภาพที่ตำเมื่ออยู่ในความเร็วที่ต่ำและมีระยะเวลาในการลอยลำอยู่เหนือพื่นเป้าหมายที่น้อยอีกทั่งยังมีราคาที่แพงจนเกินไป

ในช่วงเวลาเดียวกันนันกองทัพบกสหรัฐ จึงได้เริ่มนำ เฮลิคอปเตอร์ แบบ Bell UH-1 Iroquois หรือ Huey เข้าประจำการ โดยถูกกำหนดให้ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงกำลังพล และไม่นานหลังจากประจำการมันก็ได้ถูกดัดแปลงให้ติดปืนหลายประเภท จนกล้ายเป็น เฮลิคอปเตอร์ ที่รู้จัก กันในชื่อ Gunship มันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จในการต่อสู้กับข้าศึกที้ไม่ได้หุ้มเกราะหนามากนัก จากนันไม่นานก็มีการ พัฒนา เฮลิคอปเตอร์ โจมตีเป็น Bell AH-1 Cobra ที่ติดอาวุธด้วยจรวดนำวิถี BGM-71 Tow ซึ่งสามารถทำลายรถถังได้จากระยะไกล

การมาของ เฮลิคอปเตอร์ โจมตีนี้ ทำให้กองทัพสหรัฐ มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการป้องกันจากกองทัพรถถัง วอร์ซอ แพท ในยุคสงครามเย็น มาใช้งาน เฮลิคอปเตอร์ โจมตีมากกว่าที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ทางยุทธวิถี อันเป็นแผน ที่ Nato ยึดถือมาตั่งแต่ ยุค 1950

เฮลิคอปเตอร์ Cobra เป็น เฮลิคอปเตอร์ ที่ผลิตได้อย่างรวดเร็วที่ซึ่งมีพื่นฐานมาจาก UH-1 Iroquois มันถูกนำเสนอออกมาในยุค 1960 โดยการออกแบบแบบชั่วคราว จนกระทั่ง กองทัพบกสหรัฐ เริ่มต้นโครงการ Advanced Aerial Fire Support System และก็ทัพบกสหรัฐได้เลือก เฮลิคอปเตอร์ แบบ Lockheed AH-56 Cheyenna มันดูจะมีขีดความสามารถที่ดีและความเร็วที่สูงในช่วงแรกของการผลิต การพัฒนาโครงการ เฮลิคอปเตอร์ โจมตีแบบใหม่นี้ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐกังวลเป็นอย่างมากที่ได้เห็น ขีดความสามารถ ของ เฮลิคอปเตอร์โจมตีในการจัดการกับกองทัพรถถัง ที่เอาชนะหลังนิยมการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในยุโรป ทำให้ในปี 1966 ทำให้กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ทำการศึกษาขีดความสามารถในการสนับสนุน ทางอากาศอย่างใกล้ชิด หรือ Close air support (CAS) จึงทำให้พบช่องโหวต ที่ เฮลิคอปเตอร์ Cheyenna ไม่สามารถทำได้ การศึกษานี้ชี้ชัดว่ากองทัพอากาศสหรัฐ ต้องการเครื่องบินโจมตีธรรมดา ที่ราคาไม่แพง และต้องมีความสามารถที่มากกว่าหรือเทียบเท่ากับเครื่องบินโจมตีแบบเดิมอย่าง A-1 Skyraider และควรที่จะพัฒนาหลักนิยม ยุทธวิถี และหลักการปฎิบัติต่างๆของการใช้เครื่องบินแบบใหม่นี้b ต่อภารกิจที่เคยใช้ เฮลิคอปเตอร์โจมคีมาก่อน

วันที่ 8 กันยายน 1966 พลอากาศเอก JOHN P McConnell ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐในขณะนันสังการให้ออกแบบและพัฒนาเครื่องบินสำหรับภารกิจ Cas โดยเฉพาะ และในวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน ข้อกำหนดและความต้องการต่างๆ ได้ถูกร่างขึ้นเป็นโครงการ Cas A-X หลังจากนันโครงการ Attack Experimental ก็ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ คำร้องขอสำหรับข้อมูลสำหรับโครงการ A-X นันได้ถูกส่งต่อไปยัง บริษัททางการป้องกันประเทศกว่า 21 บริษัท ในเดือน พฤษภาคม ปี 1970 กองทัพอากาศสหรัฐ ได้ปรับปรุงคำขอข้อเสนอสำหรับเครื่องบินแบบนี้ หลังจากที่กองกำลังรถถังของโซเวียต มีความสามารถในการรบทุกสภาพอากาศในการปฎิบัติการ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนหลายๆจุดไปจนถึงมีการเพิ่มขนาดของปืนที่ติดตั่งบนเครื่องบินเป็นปืนใหญ่ลำกล้องหมุนขนาด 30mm ความเร็วสูงสุดของเครื่องบินกำหนดไว้เป็น 400 น็อต ระยะการวิ่งขึ้นเป็น 4000 ฟุต หรือ 1200 เมตร บรรทุกอาวุธได้ 16000 ปอนด์ มีรัศมีทำการรบที่ 285 ไมล์ หรือ 460 กิโลเมตร

โครงการ A-X จะเป็นการพัฒนาเครื้องบินโจมตีแบบแรก ของกองทัพอากาศสหรัฐที่ถูกออกแบบ CAS โดยเฉพาะ โดนบริษัทที่ถูกคัดเลือกในการแข่งขันคือ Northrop ที่สร้างเครื่องบินต้นแบบ YA-9A และ Fairchild Republic ที่เสนอเครื่องบินต้นแบบ YA-10A ในขณะที่ General electric และ Philco-Ford ให้แข่งขันพัฒนาปืนใหญ่ลำกล้องหมุนขนาด 30 MM GAU-8 ในวันที่18 มกราคม ปี 1973 กองทัพอากาศสหรัฐได้ประกาศให้เครื่องบินต้นแบบ YA-10A ของ Fairchild Republic เป็นผู้ชนะการแข่งขัน และ General electric ได้ถูกเลือกเป็นผู้ผลิตปืนใหญ่ขนาด 30 MM ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน

เครื่องบินในสายการผลิต A-10 ลำแรกบินขึ้นในเดือนตุลาคม ปี 1975 และส่งมอบได้ในเดือนมีนาคมปี 1976 ในช่วงการทดสอบมีการทดสอบมีการสร้างเครื่องบิน A-10 แบบสองที่นั่งในชื่อ A-10 night Adverse Weather [N/AW] การเพิ่มที่นั้งสองที่นั้งนี่เพื่อเพิ่มนายทหารระบบอาวุธสำหรับงานต่างๆเช่น สงครามอิสทอนิก การนำทาง และการกำหนดเป้าหมาย แต่มันไม่ได้รับความสนใจ จากกองทัพอากาศสหรัฐ และ ลูกค้าต่างชาติ จึงทำให้มันไม่ถูกสร้างขึ้น เครื่องบินสองที่นั้งสำหรับการฝึกก็ถูกยกเลิกไปในภายหลัง เพื่อเป็นการตัดงบประมาณ ซึ่งทำให้ A-10 ที้มีแต่แบบเครื่องบินที่นังเดียว สายการผลิตแบบเต็มอัตราของ A-10 เริ่มต้นกล้ายผลิตในวันที 10 กุมภาพันธ์ ปี 1976 และเครื้องบิน A-10 ลำแรกได้ส่งมอบให้กองทัพอากาศสหรัฐและเข้าประจำการในกองบัญชาการทางยุทธ์วิถี ในทันที 30 มีนาคม ปีเดียวกัน อัตตาการผลิตสูงสุดเกินขึ้นในปี 1984 เป็นการผลิตเครื่องบิน 13 ลำภายใน 1 เดือน ตลอดสายการผลิต มันถูกสร้างออกมาทั่งหมด 760 ลำ เมื่ออยู่ในกระบวนการผลิตเต็มอัตราเครื่องบิน A-10 ได้ถูกกำหนดให้มีอายุการใช้งานที่ 6000 ชั่วโมงบิน แต่ด้วยการปรับปรุงเล็กน้อยทำให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 8000 ชั่วโมงบิน A-10 ได้รับการปรับปรุงอยู่หลายครั่งในช่วงการเข้าประจำการ ในปี 1978 ได้รับการติดตั่ง Pod สำหรับการ ล็อกสัญญาณ เลเซอร์แบบ Pave Penny ที่จะทำหน้าที่ในการรับสัญญาณสะท้อนของเลเซอร์จาก เลเซอร์ชี้เป้านำวิถีลูกระเบิด ที่ถูกส่งออกมาจากแหล่งภายนอก เช่นเครื่องบินลำอื่นหรือกำลังภาคพื่นดิน และในปี 1980 A-10 ก็ได้มีการติดตั้งระบบนำทาง IAS ในปี 1987 บริษัท Grumman Aerospace ได้เข้ามาควบคุมโครงการสนับสนุนเครื่องบิน A-10 และในช่วง ปี 1995 ถึง 1996 มีการพบปัญหาการแตกรอยในโครงสร้างของเครื่องบิน A-10 ในหลายๆเครื่อง ที่มีบ้างเครื่อง ถูกประเมินผลว่ารอยร้าวนี้อาจอยู่ในขั้นอันตรายสูงสุด ทำให้ในปี 1998 Grumman จึงได้เริ่มแผนการใหม่ในการเพิ่มอายุการใช้งานโครงการเครื่องบินของ A-10 เป็น 16000 ชั่วโมง โครงการนี้มีชื่อว่า Horkup มีมีการเปลี่ยนถังเชื่อเพลิงแบบ สูญญากาศ ระบบควบคุมการบินแบบใหม่ และการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ แต่ในปี 2001 พบว่ามีรอยร้าวที่อันตรายสูงสุดที่บริเวณส่วนปีกของเครื่องบิน ทำให้จำเป็นต้องมรการเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องบิน ทั่งหมดหากยังต้องการคงประจำการเครื่องบิน A10 ซึ่งทางกองทัพอากาศสหรัฐ ได้ประเมิน มีการใช้งบประมาณที่สูงถึง 1.7 พันล้านเหรียญ ในการสร้างชิ้นส่วนปีกขึ้นมาสำหรับอากาศยาน บริษัท Boeing ได้เป็นผู้รับเลือกในการผลิตชิ้นส่วนใหม่นี้ โดยในปี 2001 โดย A-10 สองลำแรกที่ติดตั่งปีกเครื่องบินใหม่ บินขึ้นได้สำเร็จและคาดว่ามันจะถูกใช้ไปถึงปี 2035

A-10 มีชื่อเล่นอีกชื่อหนึ่งว่า Warthog ที่แปลว่าหมูป่่า ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากนักบินและลูกเรือสหรัฐที่ได้ทำการบินแบบเครื่องบินแบบนี้ จากการที่เครื่องบิน A-10 เป็นเครื่องบินโจมตีแบบสุดท้าย ของบริษัท Republic และเครื่องบินที่สร้างมาก่อนหน้าที่มีชื่อเล่นว่า Hawk เช่น

F-84 THUNDERJET มีชื่อเล่นว่า "Hawk" 

F-84F Thunderstreak มีชื่อเล่นว่า "SuperHawk"

F-105 THUNDERCHIEF มีชื่อเล่นว่า "Ultrahawk" ทำให้ชื่อ Warthog จึงถูกเรียกกับ A-10 ซึ่งเป็นที่นิยมมากในหมู่นักบินและทหารอากาศสหรัฐ

[7][8]

การออกแบบ แก้

 
A-10C THUNDERBOLT II

A-10 เป็นเครื่องบินที่มีลำตัวยาวมีปีกที่รูปทรงคล้ายสีเหลียมผืนผ้าที่ด้านล่างของลำตัวชายขอบหน้าปีกมีมุมรูดเล็กน้อย เครื่องบินมีความคล่องตัวที่สูงเมื่ออยู่ในความเร็วตำจากขนาดพื่นที่ผิวปีกที่ใหญ่รวมถึงมีความสามารถในการใช้ทางวิ่งขึ้นระยะสั้นเพื่อใช้ในการวางกำลังในสนามบินส่วนหน้ามันวามารถบินลอยลำในเพดานบินที่ต่ำในความเร็วประมาณ 300 น็อต ที่จะทำให้มีความสามารถในการโจมตีเป้าหมายภาคพื่นได้ดีกว่าเครื่อวบินขับไล่ที่มีความเร็วสูง เครื่องบิน A-10 ยังถูกออกแบบให้ทำการเติมเชื่อเพลิงติดตั่งอาวุธและซ่อมบำรุงด้วยอุปกรณ์ที่น้อยการออกแบบที่เรียบง่ายและการซ่อมบำรุงที่ไม่ซับซ้อน มีไว้เพื้อวางกำลังในฐานบินส่วนหน้าที่มีข้อจำกัดสูงห้องนักบินถูกหุ้มเกราะไทเทเนียมที่มีน้ำหนักถึง 520 กิโลกรัม มันสามารถกันกระสุนได้ถึงขนาดระดับ 23 mm ความหนาของเกราะอยู่ที่ 0.5 ถึง 1.5 นิ้ว อีกทั้งกระจกห้องนักบินยังสามารถป้องกันกระสุนขนาดเล็กได้ ปืนใหญ่ Gatling 7 ลำกล้อง GAU-8 Avenger ใช้กระสุนขนาด 30 mm ติดตั่งอยู่ภายในลำตัวของเครื่องบิน ส่วนปากกระบอกปืนอยู่ที่ด้านหน้าข้างล่าง ของเครื่องบิน ปืน GAU-8 บรรจุกกระสุนได้เต็มที่ จะมีน้ำหนักร่วมอยู่ที่ 4600 ปอนด์ ทำให้เครื่องบินมีน้ำหนักตัวเปล่าอยู่ที่ประมาณ 25000 ปอนด์และมีน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดที้ 50000 ปอนด์

ความทนทาน แก้

 
เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ลำนี้ได้รับความเสียหายอย่างมากจากการยิงในตอนที่มันอยู่เหนือแบกแดดในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักเมื่อต้นปีพ.ศ. 2546 แต่มันก็ยังสามารถบินกลับฐานได้

เอ-10 มีความคงทนที่ดีเยี่ยม เพราะมันมีโครงสร้างที่แข็งแรงจนสามารถรอดจากกระสุนเจาะเกราะและระเบิดแรงสูงขนาด 23 ม.ม.ที่ยิงเข้ามาตรงๆ ได้ เครื่องบินมีความซับซ้อนถึงสามชั้นในระบบการบินของมัน ด้วยระบบกลไกที่คอยช่วยเหลือระบบไฮดรอลิกทั้งสอง สิ่งนี้ทำให้นักบินทำการบินและลงจอดได้เมื่อระบบหรือกำลังของไฮดรอลิกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของปีกหายไป ในการบินโดยปราศจากกำลังของไฮดรอลิกมักจะใช้ระบบควบคุมด้วยมือ ในโหมดนี้เอ-10 จะสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพที่เหมาะสมเพื่อบินกลับฐานและลงจอดถึงแม้ว่าพลังในการควบคุมจะต้องใช้มากกว่าปกติก็ตาม เครื่องบินถูกออกแบบให้บินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียว หางเดียว และปีกที่เหลือครึ่งเดียวได้[9] ถังเชื้อเพลิงที่ผนึกตัวถูกป้องกันโดยโฟมที่ลดการจุดติดไฟ นอกจากนี้ล้อลงจอดหลักยังถูกออกแบบให้ลงจอดได้ถึงแม้ว่ามันจะกางออกมาได้เพียงครึ่งเดียวซึ่งทำให้มันต้องลงจอดด้วยท้องหรือแบบที่ไม่กางล้อนั่นเอง แต่ระบบของมันทำให้การลงจอดแบบดังกล่าวทำความเสียหายต่อส่วนท้องเครื่องบินให้น้อยที่สุด พวกมันยังมีบานพับที่ด้านหลังของเครื่องบินเผื่อหากว่ากำลังของไฮดรอลิกเสียหายนักบินจะได้ปล่อยล้อออกและผสมผสานแรงดึงดูดเข้ากับแรงต้านลมเพื่อเปิดล้อและล็อกมันให้เข้าตำแหน่ง

ห้องนักบินและส่วนของระบบควบคุมการบินถูกป้องกันโดยเกราะไทเทเนียมน้ำหนัก 408 กิโลกรัม มันถูกเรียกว่า"ถังไทเทเนียม[10] ถังแบบนี้ถูกทดสอบให้ทนทานต่อการโจมตีจากปืนใหญ่ขนาด 23 ม.ม.และกระสุนขนาด 57 ม.ม.ได้[10] มันทำมาจากแผ่นไทเทเนียมที่มีความหนาตั้งแต่ครึ่งนิ้วจนถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง การป้องกันนี้ต้องแลกด้วยบางอย่าง ตัวเกราะเองนั้นมีน้ำหนักถึง 6% ของเครื่องบินทั้งลำ เพื่อป้องกันนักบินจากสะเก็ดระเบิดจากการปะทะของกระสุนที่กระทบเข้ากับตัวเกราะ นักบินจึงถูกหุมด้วยเกราะเคฟลาร์ กระจกครอบประกอบด้วยอาร์คริลิกแบบกันกระสุนที่สามารถทนทานต่ออาวุธขนาดเบาและป้องกันสะเก็ดระเบิด

การพิสูจน์ล่าสุดถึงความทนทานของเอ-10 นั้นเกิดขึ้นเมื่อร้อยเอกคิม แคมพ์เบลล์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำการบินสนับสนุนภาคพื้นดินเหนือแบกแดดในช่วงบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 เครื่องบินของเธอได้รับความเสียหายจากปืนต่อต้านอากาศยาน การยิงของข้าศึกสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งและทำให้ระบบไฮดรอลิกหยุดทำงาน บังคับให้ระบบกลไกสำรองทำหน้าที่ควบคุมความเสถียรของเครื่องบินและควบคุมการบิน ถึงกระนั้นแคมพ์เบลล์ก็สามารถบินได้อยู่หนึ่งชั่วโมงและลงจอดอย่างปลอดภัย

เครื่องยนต์ = แก้

[11]

เครื่องยนต์ General electric TF-34 จำนวนสองเครื่องยนต์ ถูกติดตังที่ด้านท้ายนอกลำตัวของเครื่องบิน A-10 มันมีกำลังเครื่องยนต์อยู่ที่ 9275 ปอนด์ เครื่องยนต์ชนิดนี้ไม่มีการเผาไม้สันดาบท้าย แต่ก็สามารถทำให้ A-10 มีความเร็วเดินทางที่ 300 น็อต และความเร็วสูงสุดที่ระดับน้ำทะเลคือ 380 น็อต ถังเชื่อเพลิงภายในบรรจุถังเชื่อเพลิงได้ 11,000 ปอนด์ เพื่อพอต่อสำหรับภารกิจ Close air support ในรัศมีทำการรบที่ 220 ไมล์ทะเล ที่ต้องลอยลำเกือบสองชั่วโมงที่ความสูง 5000 ฟุต นอกจากนี้เครื่องบินยังสามารถเติมเชื่อเพลิงกลางอากาศด้วยระบบ Boom เพื่อเพิ่มระยะในการปฎิบัติการที่ไกลขึ้น และการสนับสนุนภารกิจที่นานขึ้น

ระบบอาวุธ แก้

 
ปืน GAU-8 AVENGER ของ A-10

ปืนใหญ่ Gatling 7 ลำกล้อง ขนาด 30mm GAU-8 บรรจุกระสุนได้1174 นัด มีระยะยิงหวังผลที่ 4000 ฟุต มันถูกสร้างมาเพื่อทำลายหน่วยทหารราบ พาหนะ และรถถังและอาวุธต่างๆ จุดติดตั่งอาวุธทั้งหมด 11 จุด รอรับน้ำหนักบรทุกได้ 16000 ปอนด์

[12] ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนเป็นอัตราการยิงตายตัวที่ 3,900 นัดต่อนาที[13] ปืนใหญ่ยังเร็วขึ้นดังนั้น 50 นัดแรกจึงยิงออกไปในวินาที นัดที่ 65 หรือ 70 จะเร็วขึ้นหลังจากนั้น ปืนมีความแม่นยำที่สอดคล้องกัน มันสามารถยิงได้แม่นยำถึง 80% ภายในระยะ 12.4 เมตรขณะบิน[14] จีเอยู-8 ถูกใช้ในแนวเอียงในระยะ 1,220 เมตรโดยทำมุม 90 องศา[15]

 
อีกมุมมองหนึ่งของ GAU-8 ที่ติดตั้งบนA-10

[16] ตัวอย่างเช่น ล้อส่วนหน้าที่ยื่นไปทางขวาซึ่งทำให้ลำกล้องของปืนที่ยิงในตำแหน่ง 9 นาฬิกาเป็นแนวเดียวกับตัวเครื่องบิน ทั้งนั่นมันสามารถบรรจุ กระสุนขนาด 30 ม.ม.ได้ 1,175 นัด[15] เอ-10 รุ่นแรกนั้นจะบรรทุกกระสุน 1,350 นัดแต่ถูกแทนที่เนื่องจากแบบขดนั้นเสียหายง่ายในตอนบรรจุกระสุน กระสุนแบบกลมที่มีจำนวน 1,174 นัดจึงถูกนำมาใช้แทน การเสียหายจะเกิดขึ้นโดยบางส่วนของกระสุนที่ยิงก่อนกำหนดเนื่องจากการปะทะของกระสุนระเบิดจะสร้างความหายนะ ด้วยเหตุผลนี้เองความเหมาะสมจึงตกมาที่แพ็กกระสุนแบบกลมแทน มีแผ่นมากมายที่แตกต่างกันในความหนาระหว่างส่วนกลมและผิว แผ่นเหล่านี้ถูกเรียกว่าแผ่นจุดชนวนเพราะว่าเมื่อกระสุนระเบิดเข้าชนเป้าหมายมันก็จะเจาะทะลุเกราะก่อนที่จะจุดชนวนระเบิด ตามที่แบบกลมมีชั้นมากมายการจุดระเบิดของกระสุนจึงถูกจุดชนวนก่อนที่มันจะถึงส่วนกลม ชั้นสุดท้ายของเกราะรอบๆ ส่วนกลมก็คือการป้องกันมันจากสะเก็ดระเบิด

 
เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 พร้อมอาวุธเต็มอัตราศึก

อาวุธอีกอย่างของมันก็คือขีปนาวุธอากาศสู่พื้นดินแบบเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกด้วยแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนำวิถีด้วยโทรทัศน์หรืออินฟราเรด มาเวอร์ริกสามารถเข้าปะทะเป้าหมายได้ในระยะที่ไกลกว่าปืนใหญ่ได้มากทำเครื่องบินอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากระบบต่อต้านอากาศยานสมัยใหม่ ในพายุทะเลทรายกล้องอินฟราเรดของมาเวอร์ริกถูกใช้ในภารกิจกลางคืน อาวุธอื่นๆ ก็รวมทั้งคลัสเตอร์บอมบ์และจรวดไฮดรา แม้ว่าเอ-10 จะบรรทุกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ พวกมันก็ใช้งานในแบบที่ไม่ปกติ ในระดับความสูงต่ำและความเร็วปกติของเอ-10 ระเบิดแบบธรรมดาก็มีความแม่นยำเพียงพอแล้ว ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามอาวุธนำวิถีจะเพิ่มข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ด้วยการที่บางครั้งก็แทบไม่มีเวลาสำหรับการหาวิถี เอ-10 มักบินพร้อมกับกระเปาะอีซีเอ็มรุ่นเอแอลคิว-131 ที่อยู่ใต้บินข้างใดข้างหนึ่งและขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์สองลูกที่ใต้ปีกอีกข้างหนึ่งสำหรับป้องกันตัวเอง

การพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น แก้

โครงการปรับแต่งของเอ-10 มีมูลค่า 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเอ-10 จำนวน 356 ลำจะได้รับคอมพิวเตอร์การบินแบบใหม่ ฝาครอบแบบใหม่ จอสีแสดงผลขนาด 5.5 นิ้วแบบใหม่พร้อมแผนที่เคลื่อนที่[17]

ทุนอื่นๆ เข้าการพัฒนากองบินเอ-10 ที่รวมทั้งการเชื่อมข้อมูลแบบใหม่ ความสามารถในการใช้อาวุธอัจฉริยะอย่างเจแดมและความสามารถในการบรรทุกกระเปาะล็อกเป้าอย่างไลท์เทนนิ่งของนอร์ทธรอป กรัมแมนหรือเอทีพีของล็อกฮีด มาร์ติน นอกจากนั้นยังมีระบบสำหรับส่งข้อมูลเซ็นเซอร์ให้กับคนที่อยู่บนพื้นอีกด้วย[18]

การพัฒนาด้านโครงสร้างจะเป็นการเปลี่ยนปีกใหม่ทั้งหมดให้กับเอ-10 จำนวน 242 ลำซึ่งเดิมทีเป็นปีกแบบบาง[18] มีการให้ทุนระยะยาวเพื่อพัฒนาแรงขับของเครื่องยนต์ให้มากขึ้น

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.ทางสำนักงานบัญชีของรัฐบาลได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการพัฒนา บำรุงรักษา และแผนในการยืดอายุการใช้งานของเอ-10 สูงขึ้นถึง 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ [19]

ประวัติการใช้งาน แก้

หน่วยแรกที่ได้รับเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 คือฝูงบินที่ 355 ที่ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธนในแอริโซนาเมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ. 2519 หน่วยแรกที่ใช้มันเข้าทำการต่อสู้คือฝูงบินที่ 354 ที่ฐานทัพอากาศไมเทิล บีชในเซาท์แคลิฟอร์เนียเมื่อพ.ศ. 2521

 
เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 กำลังยิงเอจีเอ็ม-65

ในตอนแรกนั้นเอ-10 ถูกต้อนรับไม่ค่อยดีนักจากมุมมองของคนใหญ่คนโตในกองทัพอากาศ เมื่อผู้นำอาวุโสของกองทัพอากาศส่วนมากเพิ่มขึ้นมาจากสังคมของนักบินขับไล่ กองทัพอากาศชอบเครื่องเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนมากกว่าและดื้อดึงที่จะทิ้งงานสกปรกในการเข้าสนับสนุนระยะใกล้ให้กับเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบก (การสร้างขีปนาวุธต่อต้านยานเกราะเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบเอเอช-64 อาพาชี่ทำให้กองทัพอากาศมีอากาศยานต่อต้านรถถัง) การพยายามย้ายเอ-10 เข้ากองทัพบกและนาวิกโยธินถูกห้ามในตอนแรกและจากนั้นมันก็ถูกยอมรับด้วยความน่าประทับใจของมันในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534

เอ-10 ได้แสดงการรบครั้งแรกในสงครามอ่าวเมื่อพ.ศ. 2534 มันได้ทำลายรถถังอิรักมากกว่า 900 คัน พาหนะทางทหาร 2,000 คัน และปืนใหญ่ 1,200 แห่ง เอ-10 ได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ของอิรักสองลำตกด้วยปืนจีเอยู-8 อเวนเจอร์[6] หนึ่งในนั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อร้อยเอกโรเบิร์ต สเวนยิงเฮลิคอปเตอร์หนึ่งลำของอิรักตกเหนือคูเวต[20] เอ-10 สี่ลำถูกยิงตกในสงครามซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเพราะขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ[21] เอ-10 มีภารกิจ 95.7% บินอีก 8,100 เที่ยว และยิงขีปนาวุธเอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริกไป 90%[22] ไม่นานหลังจากสงครามอ่าวกองทัพอากาศได้ล้มเลิกความคิดที่จะแทนที่เอ-10 ด้วยเอฟ-16 รุ่นใหม่[23]

ในปีพ.ศ. 2533 เอ-10 หลายลำถูกเปลี่ยนให้ทำหน้าที่ควบคุมแนวหน้าทางอากาศและได้รับชื่อใหม่ว่าโอเอ-10 ในบทบาทนี้เอ-10 มักจะติดตั้งจรวดไฮดราขนาด 70 ม.ม. 6 ตำแหน่งซึ่งมักเป็นหัวรบควันหรือฟอสฟอรัสขาวเพื่อทำตำแหน่งของเป้าหมาย โอเอ-10 ยังคงอยู่ในประจำการถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อไปก็ตาม

 
เอ-10เอของกองทัพอากาศในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

เอ-10 ได้เข้าประจำการอีกครั้งในพ.ศ. 2542 ในสงครามคอซอวอ ในสงครามอัฟกานิสถาน ในปฏิบัติการอานาคอนดาในอัฟกานิสถานเมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ. 2545 และในสงครามอิรักปีพ.ศ. 2546 ในอัฟกานิสถานเอ-10 ตั้งฐานอบู่ที่บาแกรม


ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่วนกลางได้ประกาศอย่างเปิดเผยถึงภารกิจทางอากาศในสงคราม มีเอ-10 จำนวนหกสิบลำถูกใช้ในอิรัก มีหนึ่งลำถูกยิงตกใกล้กับสนามบินนานาชาติของแบกแดด ในเอ-10 ทั้งหมดที่ถูกวางพลมี 47 ลำเป็นเครื่องบินของกองกำลังป้องกันชาติและ 12 ลำมาจากกองกำลังสำรองของกองทัพอากาศ เอ-10 ทำภารกิจ 80% ของสงครามและยิงกระสุนขนาด 30 ม.ม.ไป 311,597 นัด เอ-10 ยังได้ทำภารกิจอีก 32 ภารกิจซึ่งได้ทิ้งใบปลิวประชาสัมพันธ์เหนืออิรัก[24]

 
เอ-10 ลำใหม่มาถึงที่ฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

เอ-10 ถูกวางกำลังครั้งแรกในอิรักในไตรมาสที่สามของปีพ.ศ. 2550 พร้อมกับฝูงบินที่ 104 จากกองกำลังรักษาดินแดนของแมรี่แลนด์ เครื่องเจ็ทยังรวมทั้งการพัฒนาแบบใหม่มาด้วย[25] ระบบดิจิทัลและการสื่อสารของเอ-10 ได้ลดเวลาในการเข้าโจมตีเป้าหมายลงไปมาก[26]

เอ-10 ถูกกำหนดให้อยู่ในประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ จนกระทั่งปี 2571 และอาจต่อจากนั้น[27] เมื่อมันอาจถูกแทนที่โดยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 1[28] เอ-10 ทั้งกองบินในปัจจุบันยังคงอยู่ภายใต้การพัฒนา เอ-10 อาจอยู่ในกระจำการนานขึ้นเนื่องมาจากมันมีราคาถูกและความสามารถที่ไม่เหมือนใคร อย่างปืนใหญ่ของมัน ความทนทาน และความสามารถในการบินเป็นเวลานาน

แบบต่างๆ แก้

วายเอ-10เอ
รุ่นต้นแบบสองลำแรก
เอ-10เอ
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการสนับสนุนทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน
เอ-10เอ+ (พลัส)
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการสนับสนุนทางอากาศและโจมตีภาคพื้นดิน รวมทั้งการพัฒนาทั้งหมด
โอเอ-10เอ
แบบที่นั่งเดียวสำหรับการควบคุมทางอากาศในแนวหน้า
วายเอ-10บี ไนท์/แอดเวิร์ส เวทเธอร์
แบบสองที่นั่งที่เป็นรุ่นทดลองสำหรับการทำงานตอนกลางคืนและสภาพอากาศที่เลวร้าย ต่อมามันมีชื่อใหม่ว่าวายเอ-10บี มีแบบนี้เพียงหนึ่งลำเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาซึ่งปัจจุบันถูกนำไปแสดงเพียงอย่างเดียว
เอ-10ซี
เอ-10 ที่ได้เข้าโครงการพัฒนาด้านอาวุธโดยมีฝาครอบแบบใหม่ การเชื่อมข้อมูล และอาวุธหลากสภาพอากาศและความสามารถในการใช้เลเซอร์ล็อกเป้า[19]


รายละเอียด เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 แก้

 
 
ปืนใหญ่อากาศ จีเอยู-8 ขนาด 30 มม.ที่บริเวณส่วนหัวเครื่อง
  • ผู้สร้าง:บริษัทแฟร์ไชลด์ รีพับลิก (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท:เจ๊ตโจมตีสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นดิน
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบแฟน เยเนอรัล อีเล็คตริค ทีเอฟ-34 ยีอี-100 ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 4,112 กิโลกรัม 2 เครื่อง
  • กางปีก:17.53 เมตร
  • ยาว:16.25 เมตร
  • สูง:4.47 เมตร
  • พื้นที่ปีก:47.01 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 9,176 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 21,148 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง: ไม่เกิน 834 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วในการรบ 721 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 3,050 เมตร และ 697 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับน้ำทะเล
  • อัตราเร็วเดินทาง 555 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราไต่สูงสุด 1,826 เมตร/นาที
  • รัศมีทำการรบ: 463 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกลูกระเบิดหนัก 4,327 กิโลกรัม
  • พิสัยบินไกลสุด: 4,647 กิโลเมตร
  • อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เยเนลรัล อีเล็กตริค จีเอยู-8 อเวนเจอร์ ขนาด 30 มม ชนิดลำกล้องหมุนได้ 7 ลำกล้อง อัตรายิงเร็ว 4,200 นัด/นาที 1 กระบอก ที่ใต้ลำตัวส่วนหัว พร้อมกระสุน 1,350 นัด
    • สามารถติดตั้งอาวุธใต้ลำตัว 3 ตำแหน่งและ ใต้ปีกข้างละ 4 ตำแหน่ง รวม 11 ตำแหน่ง
    • รวมคิดเป็นน้ำหนักกว่า 7,257 กิโลกร้ม

[3]

อ้างอิง แก้

  1. A-10 history, GlobalSecurity.org
  2. "A-10 Thunderbolt II". U.S. Air Force. Air Combat Command. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  3. 3.0 3.1 อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979 ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522
  4. Jenkins 1998, pp. 4, backcover.
  5. Jenkins 1998.
  6. 6.0 6.1 A-10/OA-10 Thunderbolt II History
  7. Republic Night/Adverse Weather A-10, USAF National Museum
  8. Photos an information on N/AW A-10B[ลิงก์เสีย]
  9. Henderson, Breck W. "เอ-10 'วอร์ธอง' เสียหายอย่างหนักในสงครามอ่าวแต่ก็รอดกลับมาอีกครั้งหนึ่ง" Aviation Week and Space Technology, 5 สิงหาคม พ.ศ. 2534
  10. 10.0 10.1 Jenkins 1998, pp. 47, 49.
  11. Bell, Dana (1986). A-10 Warthog in Detail & Scale. Blue Ridge Summit, Pennsylvania: TAB Books. p. 64. ISBN 0816850305.
  12. Stephens, Rick (1995). A-10 Thunderbolt II. World Air Power Journal. p. 18. ISBN 1874023549.
  13. TCTO 1A-10-1089, Flight manual TO 1A-10A-1 (20 February 2003, Change 8), page vi, 1-150A.
  14. Sweetman, Bill (1987). The Great Book of Modern Warplanes. New York City: Portland House. p. 46. ISBN 0517633671.
  15. 15.0 15.1 Jenkins 1998, pp. 64–73.
  16. The A-10, Plane-Crazy.net
  17. GAO-07-415 Tactical Aircraft, DOD Needs a Joint and Integrated Investment Strategy[ลิงก์เสีย], US Government Accountability Office, April 2007. text version เก็บถาวร 2010-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. 18.0 18.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ not_fade
  19. 19.0 19.1 A Higher-Tech Hog: The A-10C PE Program, Defense Industry Daily, 30 มิถุนายน 2551
  20. "Total Storm" เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Air Force magazine, June 1992.
  21. "Fixed-wing Combat Aircraft attrition in Desert Storm". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1999-11-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.
  22. A-10/OA-10 fact sheet, USAF
  23. A-16 Close Air Support
  24. Iraq, GlobalSecurity.org
  25. "Upgraded A-10s prove worth in Iraq", U.S. Air Force, 7 November 2007.
  26. Doscher, Staff Sgt. Thomas J. "A-10C revolutionizes close air support", กองทัพอากาศสหรัฐฯ, 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  27. "กองทัพอากาศสหรัฐฯ อาจยืดอายุการใช้งานเอ-10 ของแฟร์ไชลด์นานถึงปีพ.ศ. 2571", Flight International, 29 สิงหาคม 2550
  28. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fighter_force