แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน เซ็พเพอลีน

แฟร์ดีนันท์ อาด็อล์ฟ ไฮน์ริช เอากุสท์ กราฟ ฟ็อน เซ็พเพอลีน (เยอรมัน: Ferdinand Adolf Heinrich August Graf von Zeppelin) เป็นนายพลและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันจากเวือร์ทเทิมแบร์ค เขาเป็นผู้คิดค้นเรือเหาะแบบมีโครง เซ็พเพอลีน อันเป็นตระกูลเรือเหาะที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท เรือเหาะอากาศเซ็พเพอลีน (Luftschiffbau Zeppelin) เรือเหาะของเขามีการใช้งานทางพลเรือนระหว่าง ค.ศ. 1909–1914 และถูกใช้งานอย่างที่สุดทางทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

กราฟ แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน เซ็พเพอลีน
เกิด8 กรกฎาคม 1838
ค็อนชตันทซ์ แกรนด์ดัชชีบาเดิน
เสียชีวิต8 มีนาคม ค.ศ. 1917(1917-03-08) (78 ปี)
เบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน
รับใช้ แกรนด์ดัชชีบาเดิน (1855-1917)
จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมัน (1871-1917)
แผนก/สังกัดทหารราบ
ประจำการ1855–1885, 1890
ชั้นยศพลเอกทหารม้า (General der Kavallerie)
อนุสรณ์สถานjulai
คู่สมรสอีซาเบ็ลลา ไฟรอิน ฟ็อน ว็อล์ฟ
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

 
การทดสอบเรือเหาะเซ็พเพอลีนลำแรก LZ 1 เมื่อ ค.ศ. 1900

เขาเกิดในตระกูลขุนนาง บิดาคือเสนาบดีเวือร์ทเทิมแบร์ค ฟรีดริช เฌโรม วิลเฮ็ล์ม คาร์ล กราฟ ฟ็อน เซ็พเพอลีน (Friedrich Jerôme Wilhelm Karl Graf von Zeppelin) มารดาคือชาวฝรั่งเศสนาม อาเมลี ฟร็องซวซ ปอลีน (Amélie Françoise Pauline) แฟร์ดีนันท์เติบโตมากับพี่สาวที่คฤหาสน์เกียร์สแบร์คใกล้เมืองค็อนชตันทซ์และได้รับการศึกษาจากครูส่วนตัว[1]

ใน ค.ศ. 1853 เซ็พเพอลีนออกจากบ้านเพื่อไปศึกษาวิชาสารพัดช่างที่เมืองชตุทท์การ์ท และในปีค.ศ. 1855 เข้าเรียนเตรียมทหารในเมืองลูทวิชส์บวร์ค และได้บรรจุเป็นทหารสัญญาบัตรในกองทัพราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค[1] ต่อมาใน ค.ศ. 1858 ร้อยโทเซ็พเพอลีนเข้าศึกษาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิชาเคมีที่เมืองทือบิงเงิน ในช่วงนี้เอง สงครามออสเตรีย-ซาร์ดิเนียปะทุขึ้น เขาถูกเรียกตัวไปสังกัดกรมทหารช่างปรัสเซียที่เมืองอุล์ม[2]

ใน ค.ศ. 1863 เซ็พเพอลีนเดินทางไปยังทวีปอเมริกาเหนือเพื่อร่วมสังเกตการณ์การสู้รบของฝ่ายสหภาพในสงครามกลางเมืองอเมริกา และมีโอกาสเดินทางลึกเข้าไปในตอนกลางของสหรัฐอเมริกาโดยมีผู้นำทางเป็นชาวพื้นเมือง เขาเดินทางจนไปถึงเซนต์พอล และได้พบกับโยน ชไตเนอร์ (John Steiner) นักบอลลูนพเนจรชาวเยอรมัน เซ็พเพอลีนได้รับประสบการณ์บนอากาศเป็นครั้งแรกในชีวิตบนบอลลูนของชไตเนอร์ ซึ่งได้จุดประกายความคิดที่จะสร้างบอลลูนแบบมีโครงเพื่อใช้เดินอากาศในอีกหลายปีต่อมา[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Zeppelin Biographie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2009.
  2. "Ferdinand Graf von Zeppelin" (ภาษาเยอรมัน). Deutsches Historisches Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ 6 December 2012.
  3. This article incorporates text from a publication now in the public domainRines, George Edwin, บ.ก. (1920). "Zeppelin, Ferdinand" . Encyclopedia Americana.
  4. "John Steiner Balloon Ascension Ambrotype, 1857". National Air and Space Museum. Smithsonian Institution. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.