แผนที่ลิ้น หรือ แผนที่ตุ่มรับรส เป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อยอย่างหนึ่ง โดยกล่าวว่าแต่ละส่วนของลิ้นทำหน้าที่รับรสต่าง ๆ กันไป มีการอธิบายแนวคิดนี้ด้วยแผนผัง และเคยสอนทั่วไปในโรงเรียน แต่ผลวิจัยสมัยใหม่พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง ทุกส่วนของลิ้นรับรสได้ทุกรส แม้บางส่วนจะรับรสบางรสได้มากกว่าก็ตาม[1]

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผนที่ลิ้น หมายเลข 1 รับรสขม, หมายเลข 2 รับรสเปรี้ยว, หมายเลข 3 รับรสเค็ม, หมายเลข 4 รับรสหวาน

ประวัติ แก้

ทฤษฎีที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดแผนที่ลิ้นนี้มาจากผลงานวิชาการ Zur Psychophysik des Geschmackssinnes ของชาวเยอรมันชื่อ D.P. Hanig ซึ่งเขียนขึ้นในไป พ.ศ. 2444[2] ต่อมา Edwin G. Boring ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้แปลงานของ D.P. Hanig ผิดพลาด โดยได้สรุปว่าแต่ละส่วนของลิ้นทำหน้าที่รับรสเพียงแค่ 1 รสเท่านั้น และเป็นที่มาของการจัดทำแผนที่ลิ้นขึ้น[3][4]

เนื้อหางานวิจัยของ D.P. Hanig จริง ๆ แล้วแสดงให้เห็นว่ามีแต่ละส่วนของลิ้นที่ความไวของการรับรสแตกต่างกัน "เล็กน้อย" (minute)[2][5] ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปความแตกต่างของความไวนี้ก็ถูกนำไปตีความผิด และถูกเขียนลงตำราเพียงว่าลิ้นแต่ละส่วนมีการรับสัมผัสแตกต่างกัน[5]

อ้างอิง แก้

  1. O'Connor, Anahad (November 10, 2008). "The Claim: The tongue is mapped into four areas of taste". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
  2. 2.0 2.1 Hänig, David (1901). "Zur Psychophysik des Geschmackssinnes" (PDF). Philosophische Studien. 17: 576–623. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
  3. Wanjek, Christopher (August 29, 2006). "The Tongue Map: Tasteless Myth Debunked". Livescience.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
  4. March 2001 Scientific American Magazine: The Taste Map: All Wrong
  5. 5.0 5.1 The Chemotopic Organization of Taste เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน wwwalt.med-rz.uni-sb.de