แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Popular Front for the Liberation of Palestine ย่อเป็น PFLP; อาหรับ: الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين, อักษรโรมัน: al-Jabhah al-Sha`biyyah li-Tahrīr Filastīn) เป็นกลุ่มติดอาวุธและพรรคการเมืองนิยมลัทธิมากซ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยจอร์จ ฮาบาส เป็นกลุ่มที่ใหญ่เป็นอันดับสองที่เข้าร่วมก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นกลุ่มที่นิยมความรุนแรง ตรงกันข้ามกับทางสายกลางของกลุ่มฟาตะห์ ต่อต้านข้อตกลงออสโลและแนวคิดในการจัดตั้งรัฐ 2 รัฐเพื่อยุติความขัดแย้ง เคยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต กลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์มากนัก โดยกลุjมที่นิยมอิสลามเข้ามามีบทบาทแทน

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์
الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين
ผู้ก่อตั้งจอร์จ ฮะบัช
เลขาธิการอะห์มัด ซะอ์ดาต
ก่อตั้งค.ศ. 1967 (1967)
Paramilitary wingกองพลอาบู อาลี มุสตาฟา
อุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับ[1]
ชาตินิยมปาเลสไตน์
อุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับ
ฆราวาสนิยม[2]
ลัทธิมากซ์–เลนิน
ต่อต้านจักรวรรดินิยม
ต่อต้านลัทธิไซออนิสม์[3][4][5]
สังคมนิยมประชาธิปไตย[6]
แนวทางรัฐเดียว[7]
จุดยืนซ้ายจัด
กลุ่มระดับชาติPLO
DAL
กลุ่มระดับสากลICS (ยกเลิก)
สภานิติบัญญัติ
3 / 132
เว็บไซต์
www.pflp.ps
การเมืองปาเลสไตน์
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

อะห์มัด ซะอ์ดาตดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค PFLP ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 เขาถูกจำคุกในเรือนจำอิสราเอลเป็นเวลา 30 ปี ปัจจุบัน ทั้งรัฐบาลกลุ่มฟาตะฮ์ในเวสต์แบงก์กับรัฐบาลฮามาสในฉนวนกาซาถือว่าพรรค PFLP ผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้จัดการเลือกตั้งในองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549[8] ข้อมูลเมื่อ 2015 พรรค PFLP ถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมในคณะกรรมการบริหาร PLO[9][10][11] and the Palestinian National Council.[12]

กลุ่มนี้ประกาศตนเป็นพันธมิตรกับกองกำลังพันธมิตรปาเลสไตน์เพื่อคัดค้านการประกาศหลักการสันติภาพเมื่อ พ.ศ. 2536 ต่อมาใน พ.ศ. 2542 กลุ่มนี้ได้แยกตัวออกจากกองกำลังพันธมิตรปาเลสไตน์และเข้าหารือเรื่องความเป็นเอกภาพของชาติกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่ยังคัดค้านการเจรจากับอิสราเอลต่อไป ผู้นำกลุ่มคนปัจจุบันคือ อะห์มัด ซาดาบา กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยสหรัฐ[13] แคนาดา[14] ญี่ปุ่น[15] แคนาดา[16] ออสเตรเลีย[17] และสหภาพยุโรป[18]

ประวัติ แก้

จุดกำเนิดจากขบวนการชาตินิยมอาหรับ แก้

แนวร่วมนี้เติบโตมาจากขบวนการชาตินิยมอาหรับที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 โดย ดร.จอร์จ ฮาบาส ชาวคริสต์ปาเลสไตน์จากเลียดดา ฮาบาสในวัย 22 ปี เดินทางไปเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยอัมเบอร์กันในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2494.[19] เขาได้ริเริ่มจัดตั้งขบวนการชาตินิยมอาหรับโดยใช้แนวคิดชาตินิยมเป็นหลัก

การก่อตั้งแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แก้

ขบวนการชาตินิยมอาหรับมีสาขาใต้ดินอยู่หลายประเทศทั้งในลิเบีย ซาอุดิอาระเบียและคูเวต ตั้งแต่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ต่อมาได้เพิ่มแนวคิดแบบสังคมนิยมและจัดตั้งเป็นกองกำลังติดอาวุธ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ ขบวนการชาตินิยมตั้งให้ อับตัล อัล-เอาดะห์เป็นกลุ่มทางทหารเมื่อ พ.ศ. 2509 หลังจากสงครามหกวันเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2510 กลุ่มนี้ได้รวมตัวเข้ากับอีก 2 กลุ่มคือกลุ่มเยาวชนแก้แค้น และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยปาเลสไตน์ของ อะห์เหม็ด ญิบริลที่มีซีเรียหนุนหลังในเดือนสิงหาคม เกิดเป็นกลุ่มใหม่ชื่อว่า แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่มีฮาบาสเป็นผู้นำ

ปฏิบัติการ แก้

มีปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2503 – 2523 โดยเป็นกลุ่มแรกๆที่ก่อการร้ายด้วยการปล้นเครื่องบินและเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์กันยายนทมิฬในจอร์แดนเมื่อ พ.ศ. 2512 กลุ่มนี้ได้ใช้การก่อการร้ายหลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2521 โจมตีอิสราเอลและประเทศอาหรับสายกลาง พ.ศ. 2539 โจมตีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิว และ พ.ศ. 2543 ลอบสังหารรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวของอิสราเอล

สมาชิก แก้

ประมาณ 800 คน ฐานที่มั่นอยู่ในซีเรีย เลบานอน ฉนวนกาซา เขตเวสต์แบงก์ ได้รับการสนับสนุนจากซีเรีย

อ้างอิง แก้

  1. Profile: Popular Front for the Liberation of Palestine BBC News, 18 November 2014
  2. "Jerusalem Synagogue Attack: Motivation Was Not Religion But Revenge For 1948 Massacre, Says PFLP". International Business Times. 19 November 2014.
  3. "Popular Front for the Liberation of Palestine (1) เก็บถาวร 17 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Terrorist Group Symbols Database. Anti-Defamation League.
  4. "Platform of the Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)" (1969). From Walter Laqueur and Barry Rubin, eds., The Israel-Arab Reader (New York: Penguin Books, 2001).
  5. "Background Information on Foreign Terrorist Organizations ." Office of the Coordinator for Counterterrorism, United States Department of State
  6. "Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)". www.jewishvirtuallibrary.org. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ One-state solution
  8. "Fatah slams Hamas' intention to reshuffle its deposed government". People's Daily Online. 26 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.
  9. Ibrahim, Arwa (13 February 2015). "PROFILE: The Popular Front for the Liberation of Palestine". Middle East Eye.
  10. "Bringing the PFLP back into PLO fold?". Ma'an News Agency. 2 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
  11. "Profile: Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)". BBC News. 18 November 2014.
  12. Sawafta, Ali. "Palestinian forum convenes after 22 years, beset by division". reuters.com.
  13. "Foreign Terrorist Organizations". U.S. Department of State.
  14. "Currently listed entities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
  15. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ 2013-11-21.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  16. "About the listing process". สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  17. "Israeli legal group threatens to sue Australian charity for funding terror group". Times of Israel. 14 October 2012. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016.
  18. http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:165:0072:0074:EN:PDF
  19. Kazziha, Walid, Revolutionary Transformation in the Arab World: Habash and his Comrades from Nationalism to Marxism. p. 17-18

ข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้