แชมป์เฉพาะกาล (อังกฤษ: Interim championship) หมายถึงตำแหน่งแชมป์ที่ให้ผู้ที่เหมาะสมครองตำแหน่งไปก่อน เนื่องจากแชมป์โลกตัวจริงไม่อาจจะชกได้จะเนื่องด้วยสาเหตุอันใดก็แล้วแต่ แต่เมื่อทั้งคู่พร้อม แชมป์เฉพาะกาลกับแชมป์โลกตัวจริงต้องชกกันเพื่อหาแชมป์โลกตัวจริง แต่ระหว่างที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลสามารถชกป้องกันตำแหน่งกับผู้ท้าชิงได้ และมีสถานภาพเช่นเดียวกับแชมป์โลกตัวจริงทุกประการ

แชมป์เฉพาะกาลของสถาบันหลัก แก้

สภามวยโลก (WBC) แก้

เป็นสถาบันแรกของโลกที่ริเริ่มให้มีแชมป์เฉพาะกาล โดยเริ่มให้มีในปี พ.ศ. 2526 โดยนักมวยคนแรกที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลคือ อัลเบอร์โต ดาวิลา นักมวยชาวอเมริกัน ในรุ่นแบนตัมเวท จากการชนะน็อกยกที่ 12 กิโก เบนฆิเนส นักมวยชาวเม็กซิกัน ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2526 ณ โอลิมปิก​ออดิทอเรียม​ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากแชมป์โลกตัวจริงขณะนั้น คือ ลูเป ปินตอร์ ได้สละตำแหน่ง ต่อมาอัลเบอร์โตได้โอกาสชิงแชมป์โลกจริงที่ว่างกับ เอนริเก ซานเชซ นักมวยชาวโดมินิกัน ผลการชกดาวิลาชนะทีเคโอได้แชมป์โลกมาครอง ใน WBC แชมป์โลกเฉพาะกาล จะถูกเรียกว่า แชมป์เฉพาะกาลสภามวยโลก (WBC Interim champion)

สำหรับนักมวยไทยคนแรกที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลสภามวยโลกและเป็นแชมป์เฉพาะกาลคนแรกของประเทศไทย คือ ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ ในรุ่นแบนตัมเวท​ โดยได้มาในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ที่ สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก เมื่อเป็นฝ่ายชนะทีเคโอ โฆเซ ลุยส์ บูเอโน นักมวยชาวเม็กซิกันไปได้ในยกที่ 5

องค์กรมวยโลก (WBO) แก้

เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2537 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้องค์กรมวยโลก คือ แมนนิง แกโลเวย์ นักมวยชาวสหรัฐรุ่นเวลเตอร์เวท โดยได้จากการชนะทีเคโอ แอนโทนี โจนส์ นักมวยชาวสหรัฐ เช่นเดียวกันกับแกโลเวย์ ในยกที่ 6 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ที่ โกลิเซโอ รูเบน โรดริเกซ บายามอน ปวยร์โตรีโก

สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) แก้

เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2538 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้ของสหพันธ์​มวยนานาชาติ​ คือ รอบบี เรแกน นักมวยชาวอังกฤษรุ่นฟลายเวท โดยได้จากการชนะน็อก เฟริด เบน เจดดู นักมวยชาวตูนิเซีย ในยกที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่ ประเทศเวลส์ สหราชอาณาจักร

สมาคมมวยโลก (WBA) แก้

เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2541 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้ของสมาคมมวยโลก คือ การ์โลส บาร์เรโต นักมวยชาวเวเนซุเอลา รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท โดยได้จากการชนะคะแนนเอกฉันท์ เอกตอร์ อาเซโร ซานเชซ นักมวยชาวโดมินิกัน ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ที่กรุงการากัส ประเทศเวเนซุเอลา[1] ในปีต่อมาบาร์เรโตได้ชิงแชมป์โลกจริงกับ เนสตอร์ กาซา เจ้า​ของแชมป์โลกจริงชาวเม็กซิโก ที่สหรัฐอเมริกา ผลการชกบาร์เรโตแพ้ทีเคโอยก 8[2]

ส่วนนักมวยไทยรายแรกที่ครองแชมป์นี้ของสมาคมมวยโลก คือ สงคราม ป.เปาอินทร์ โดยได้มาจากการชนะคะแนนโดยเทคนิค​ รอนนี่ มากราโม นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี

ต่อมาสถานะของแชมป์เฉพาะกาลเปลี่ยนไป โดยทาง WBA ได้ริเริ่มตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลอันดับสูงสุดที่สูงกว่าแชมป์เฉพาะกาล คือ ​'WBA GOLD' ในกรณีที่ตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลว่างผู้ที่ได้แชมป์ WBA GOLD จะมีศักดิ์เป็นแชมป์เฉพาะกาลจากแชมป์โลกตัวจริงทั้งปกติและซูเปอร์แชมป์​ แชมป์ WBA GOLD สามารถชิงแชมป์กับแชมป์โลกตัวจริงหรือรองแชมป์โลกในอันดับสูงสุดของรุ่นนั้น (เมื่อแชมป์โลกตัวจริงทั้งปกติหรือซูเปอร์แชมป์ตำแหน่งได้ว่างลง)​ ส่วนแชมป์เฉพาะกาลจะเป็นรองแชมป์โลกอันดับ 1 จะได้ชิงแชมป์โลกกับแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ในกรณีที่แชมป์ WBA GOLD ว่าง

ในปัจจุบันสมาคมมวยโลกได้มีการยกเลิกตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาล และลดสถานะแชมป์ WBA GOLD เป็นแชมป์ระดับภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564[3]

แชมป์เงา แก้

อ้างอิง แก้

  1. Clarence George (October 20, 2015). "WBA Clarifies Need for Interim Titles". wbaboxing. สืบค้นเมื่อ September 5, 2021.
  2. ข้อมูลการชก boxrec.com
  3. Salvador Rodríguez (26 August 2021). "WBA eliminates all of its interim champion designations". ESPN. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.