แคว้นปกครองตนเองของประเทศสเปน

ในประเทศสเปน แคว้นปกครองตนเอง หรือ ประชาคมปกครองตนเอง (สเปน: comunidad autónoma; กาตาลา: comunitat autònoma; กาลิเซีย: comunidade autónoma; บาสก์: autonomia erkidegoa) เป็นเขตทางการเมืองและการปกครองในระดับบนสุดที่ได้รับการจัดตั้งโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2521 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรับประกันความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง (อย่างมีข้อจำกัด) ของชาติทางประวัติศาสตร์และภูมิภาคต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นสเปน[1][2][3]

แคว้นปกครองตนเอง
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้ง สเปน
ก่อตั้งโดยรัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2521
ก่อตั้งพ.ศ. 2521–2526
จำนวน17 แคว้น
2 นครปกครองตนเอง
ประชากรแคว้นปกครองตนเอง :
321,171 คน (ลาริโอฆา) –
8,415,490 คน (อันดาลูซิอา)
นครปกครองตนเอง :
81,323 คน (เมลียา), 83,517 คน (เซวตา)
พื้นที่แคว้นปกครองตนเอง :
94,224 ตร.กม. (กัสติยาและเลออน) –
4,992 ตร.กม. (หมู่เกาะแบลีแอริก)
นครปกครองตนเอง :
12.3 ตร.กม. (เมลียา), 18.5 ตร.กม. (เซวตา)
การปกครองฝ่ายบริหารแคว้นปกครองตนเอง
หน่วยการปกครองจังหวัด
เทศบาล

สเปนมิใช่สหพันธรัฐ แต่เป็นเอกรัฐ[1] ที่มีการกระจายอำนาจสูง[4][5] ในขณะที่อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐชาติสเปนโดยรวม โดยมีสถาบันส่วนกลางของรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนนั้น รัฐชาติสเปนก็ได้คลายอำนาจสู่แคว้นต่าง ๆ ในระดับที่ต่างกันตามภูมิหลังของแต่ละแคว้นเช่นกัน แคว้นเหล่านั้นจะใช้สิทธิ์ในการปกครองตนเองภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสเปนและธรรมนูญการปกครองตนเอง[a] ของแคว้นตามลำดับ[1] นักวิชาการบางคนเรียกระบบที่เป็นผลจากการกระจายอำนาจดังกล่าวว่าเป็นระบบสหพันธรัฐในทางปฏิบัติ-เอกรัฐเพียงในนาม หรือ "สหพันธรัฐที่ปราศจากระบอบสหพันธรัฐ"[6] ปัจจุบันในสเปนมีแคว้นปกครองตนเอง 17 แคว้น และนครปกครองตนเอง 2 นครซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า "หน่วยการปกครองตนเอง"[b] นครปกครองตนเองมีสิทธิ์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเอง แต่นครทั้งสองยังไม่ได้ใช้สิทธิ์นี้ เค้าโครงการบริหารดินแดนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เช่นนี้มีชื่อเรียกว่า "รัฐแห่งหน่วยการปกครองตนเอง"[c]

แคว้นปกครองตนเองต่าง ๆ จะได้รับการบริหารในทิศทางที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญสเปนร่วมกับธรรมนูญการปกครองตนเองซึ่งเป็นกฎหมายจัดระเบียบองค์การเฉพาะในแคว้นแต่ละแคว้น กฎหมายเหล่านี้เป็นตัวกำหนดอำนาจหน้าที่ทั้งหมดที่แคว้นเหล่านั้นจะมีได้ เนื่องจากการคลายอำนาจสู่แคว้นต่าง ๆ ถูกกำหนดให้มีลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ[7] ขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของแต่ละแคว้นจึงอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไป เช่น ทุกแคว้นมีอำนาจจัดการด้านการศึกษาเป็นของตนเอง แต่บางแคว้นมีอำนาจจัดการด้านการเงินสาธารณะเพิ่มเติม หน่วยงานตำรวจของบางแคว้นมีบทบาทหน้าที่มากกว่าหน่วยงานตำรวจส่วนกลาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทุกแคว้นล้วนมีโครงสร้างสภานิติบัญญัติในรูปแบบเดียวกัน[1]

การนำระบบแคว้นและนครปกครองตนเองมาใช้ส่งผลให้สเปนเปลี่ยนจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรวมอำนาจปกครองสูงที่สุดมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการกระจายอำนาจปกครองสูงที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สเปนเป็นประเทศที่อัตราความเติบโตของรายได้และผลประกอบการของหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ (คือแคว้นปกครองตนเองต่าง ๆ) สูงที่สุด โดยเป็นผู้นำในการจัดอันดับดังกล่าวในยุโรปเมื่อถึงปี พ.ศ. 2558 และเป็นประเทศที่มีอัตราการกระจายภาษีสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ในบรรดาประเทศสมาชิกโออีซีดี (รองจากแคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และออสเตรีย)[8][9] นอกจากนี้ สเปนยังได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นประเทศ "ที่น่าทึ่งจากขอบเขต [อันกว้างขวาง] ของอำนาจที่ได้รับการถ่ายโอนโดยสันติในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา" และเป็น "ประเทศที่มีการกระจายอำนาจสูงเป็นพิเศษ" อีกด้วย ในแง่บุคลากร เมื่อถึงปี พ.ศ. 2553 ข้าราชการพลเรือนจำนวนเกือบ 1,350,000 คน หรือร้อยละ 50.3 จากข้าราชการพลเรือนทั้งหมดในสเปนเป็นลูกจ้างของแคว้นปกครองตนเองต่าง ๆ[10] ร้อยละ 23.6 เป็นลูกจ้างของสภาเมืองและสภาจังหวัดต่าง ๆ ส่วนลูกจ้างที่ทำงานให้กับหน่วยงานบริหารส่วนกลาง (รวมทั้งหน่วยงานของตำรวจและทหาร) มีเพียงร้อยละ 22.2 ของข้าราชการพลเรือนทั้งหมด[11]

ในขณะเดียวกัน ชาตินิยมชายขอบ (peripheral nationalism) โดยเฉพาะในแคว้นกาตาลุญญา แคว้นกาลิเซีย และแคว้นประเทศบาสก์ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเมืองสเปน นักชาตินิยมชายขอบบางคนมองว่าความแตกต่างระหว่างสถานะ "ชาติทางประวัติศาสตร์"[d] ที่เคยใช้นิยามแคว้นเหล่านั้นโดยเฉพาะ กับสถานะ "ภูมิภาค"[e] ที่เคยใช้นิยามแคว้นอื่นทั่วไปนั้นกำลังเลือนหายในทางปฏิบัติ[12] เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป แคว้นทั้งหมดก็ได้รับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่เกือบจะในระดับเดียวกัน และแคว้นอื่น ๆ บางแคว้น (เช่น แคว้นบาเลนเซีย แคว้นอันดาลูซิอา) ก็ได้เลือกระบุตนเองว่าเป็น "ชาติทางประวัติศาสตร์" เช่นกัน ที่จริงแล้วก็ยังมีการถกเถียงอยู่ว่าการสถาปนาระบบรัฐแห่งหน่วยการปกครองตนเองในสเปนนั้นได้นำไปสู่การสร้าง "เอกลักษณ์ใหม่ในระดับภูมิภาค"[13][14] และ "ประชาคมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น"[14] หรือไม่ ด้วยเหตุเหล่านี้ หลายคนในกาลิเซีย ประเทศบาสก์ และกาตาลุญญาจึงเริ่มมองว่าแคว้นของพวกเขาเป็น "ชาติ"[f] มิใช่เพียงชาติทางประวัติศาสตร์อย่างแคว้นอื่น ๆ และมองว่าสเปนเป็น "รัฐพหุชาติ" หรือ "ชาติที่ประกอบด้วยหลายชาติ" ดังนั้นจึงเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนกระจายอำนาจสู่แคว้นของตนเองมากขึ้นหรือให้แคว้นของตนเองแยกตัวเป็นเอกราช

รายชื่อ แก้

แคว้นและนครปกครองตนเองของประเทศสเปน
ธง ชื่อ เมืองหลัก สถานะ ที่ตั้ง จังหวัด เมืองหลักของจังหวัด
แคว้นปกครองตนเอง
  กันตาเบรีย   ซันตันเดร์ แคว้นทางประวัติศาสตร์     กันตาเบรีย   ซันตันเดร์
  กัสติยา-ลามันชา   โตเลโด ภูมิภาค     กัวดาลาฆารา   กัวดาลาฆารา
  กูเองกา   กูเองกา
  ซิวดัดเรอัล   ซิวดัดเรอัล
  โตเลโด   โตเลโด
  อัลบาเซเต   อัลบาเซเต
  กัสติยาและเลออน   บายาโดลิด (โดยพฤตินัย) แคว้นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม     ซาโมรา   ซาโมรา
  ซาลามังกา   ซาลามังกา
  เซโกเบีย   เซโกเบีย
  โซเรีย   โซเรีย
  บายาโดลิด   บายาโดลิด
  บูร์โกส   บูร์โกส
  ปาเลนเซีย   ปาเลนเซีย
  เลออน   เลออน
  อาบิลา   อาบิลา
  กาตาลุญญา   บาร์เซโลนา ชาติ [ทางประวัติศาสตร์]     ฌิโรนา   ฌิโรนา
  ตาร์ราโกนา   ตาร์ราโกนา
  บาร์เซโลนา   บาร์เซโลนา
  แยย์ดา   แยย์ดา
  กานาเรียส   ซานตากรุซเดเตเนริเฟ

  ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย

ชาติ [ทางประวัติศาสตร์]     ซานตากรุซเดเตเนริเฟ   ซานตากรุซเดเตเนริเฟ
  ลัสปัลมัส   ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย
  กาลิเซีย   ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ชาติทางประวัติศาสตร์     โปนเตแบดรา   โปนเตแบดรา
  ลูโก   ลูโก
  อาโกรุญญา   อาโกรุญญา
  โอว์แรนเซ   โอว์แรนเซ
  นาวาร์   ปัมโปลนา แคว้นกฎบัตร     นาวาร์   ปัมโปลนา
  บาเลนเซีย   บาเลนเซีย ชาติทางประวัติศาสตร์     กัสเตยอน   กัสเตยอนเดลาปลานา
  บาเลนเซีย   บาเลนเซีย
  อาลิกันเต   อาลิกันเต
  ประเทศบาสก์   บิโตเรีย (โดยพฤตินัย) ชาติ [ทางประวัติศาสตร์]     กิปุซโกอา   ซานเซบัสเตียน
  บิซกายา   บิลบาโอ
  อาลาบา   บิโตเรีย
  ภูมิภาคมูร์เซีย   มูร์เซีย ภูมิภาค     มูร์เซีย   มูร์เซีย
  มาดริด   มาดริด แคว้น     มาดริด   มาดริด
  ลาริโอฆา   โลกรอญโญ ภูมิภาค     ลาริโอฆา   โลกรอญโญ
  หมู่เกาะแบลีแอริก   ปัลมา ชาติทางประวัติศาสตร์     หมู่เกาะแบลีแอริก   ปัลมา
  อันดาลูซิอา   เซบิยา ชาติทางประวัติศาสตร์     กรานาดา   กรานาดา
  กอร์โดบา   กอร์โดบา
  กาดิซ   กาดิซ
  ฆาเอน   ฆาเอน
  เซบิยา   เซบิยา
  มาลากา   มาลากา
  อัลเมริอา   อัลเมริอา
  อูเอลบา   อูเอลบา
  อัสตูเรียส   โอบิเอโด แคว้นทางประวัติศาสตร์     อัสตูเรียส   โอบิเอโด
  อารากอน   ซาราโกซา ชาติทางประวัติศาสตร์     ซาราโกซา   ซาราโกซา
  เตรูเอล   เตรูเอล
  อูเอสกา   อูเอสกา
  เอซเตรมาดูรา   เมริดา ภูมิภาค     กาเซเรส   กาเซเรส
  บาดาโฆซ   บาดาโฆซ
นครปกครองตนเอง
  เซวตา  
  เมลียา  

ดูเพิ่ม แก้

คำแปลศัพท์เฉพาะ แก้

  1. "ธรรมนูญการปกครองตนเอง" (สเปน: Estatutos de Autonomía; กาตาลา: Estatuts d'Autonomia; กาลิเซีย: Estatutos de Autonomía; บาสก์: Autonomia Estatutuen)
  2. "หน่วยการปกครองตนเอง" (สเปน: autonomías; กาตาลา: autonomies; กาลิเซีย: autonomías; บาสก์: autonomien)
  3. "รัฐแห่งหน่วยการปกครองตนเอง" (สเปน: Estado de las Autonomías; กาตาลา: Estat de les Autonomies; กาลิเซีย: Estado das Autonomías; บาสก์: Autonomien Estatuaren หรือ สเปน: Estado Autonómico; กาตาลา: Estat Autonòmic; กาลิเซีย: Estado Autonómico; บาสก์: Autonomia Estatuko หรือ Estatuaren)
  4. "ชาติทางประวัติศาสตร์" (สเปน: nacionalidad histórica; กาตาลา: nacionalitat històrica; กาลิเซีย: nacionalidade histórica; บาสก์: nazionalitate historiko)
  5. "ภูมิภาค" (สเปน: región; กาตาลา: regió; กาลิเซีย: rexión; บาสก์: eskualde)
  6. "ชาติ" (สเปน: nación; กาตาลา: nació; กาลิเซีย: nación; บาสก์: nazio)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Organización territorial. El Estado de las Autonomías" (PDF). Recursos Educativos. Instituto Nacional de Tecnologías Educativas y de Formación del Profesorado. Ministerio de Eduación, Cultura y Deporte. สืบค้นเมื่อ 19 October 2012.
  2. Article 2. Cortes Generales (Spanish Parliament) (1978). "Título Preliminar". Spanish Constitution of 1978. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  3. Article 143. Cortes Generales (Spanish Parliament) (1978). "Título VIII. De la Organización Territorial del Estado". Spanish Constitution of 1978. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  4. Bacigalupo Sagesse, Mariano (June 2005). "Sinópsis artículo 145". Constitución española (con sinópsis). Congress of the Deputies. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
  5. Ruíz-Huerta Carbonell, Jesús; Herrero Alcalde, Ana (2008). Bosch, Núria; Durán, José María (บ.ก.). Fiscal Equalization in Spain. Fiscal Federalism and Political Decentralization: Lessons from Spain, Germany and Canada. Edward Elgar Publisher Limited. ISBN 9781847204677. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  6. The Federal Option and Constitutional Management of Diversity in Spain Xavier Arbós Marín, page 375; included in 'The Ways of Federalism in Western Countries and the Horizons of Territorial Autonomy in Spain' (volume 2), edited by Alberto López-Eguren and Leire Escajedo San Epifanio; edited by Springer ISBN 978-3-642-27716-0, ISBN 978-3-642-27717-7(eBook)
  7. Börzel, Tanja A (2002). States and Regions in the European Union. University Press, Cambridge. pp. 93–151. ISBN 0521008603. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012.
  8. Ramon Marimon (23 March 2017). "Cataluña: Por una descentralización creíble". El País. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
  9. Fiscal Federalism 2016: Making Decentralization Work. OCDE.
  10. [1] เก็บถาวร กันยายน 4, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Que al funcionario le cunda más | Edición impresa | EL PAÍS". Elpais.com. 2011-07-30. สืบค้นเมื่อ 2012-04-30.
  12. Keatings, Michael (2007). "Federalism and the Balance of power in European States" (PDF). Support for Improvement in Governance and Management. Organisation for Economic Co-operation and Development, Inc. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
  13. Smith, Andy; Heywood, Paul (August 2000). "Regional Government in France and Spain" (PDF). University College London. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012.
  14. 14.0 14.1 Junco, José Álvarez (3 October 2012). "El sueño ilustrado y el Estado-nación". El País. สืบค้นเมื่อ 23 October 2012.