แก่นตะวัน

สปีชีส์ของพืช

แก่นตะวัน[2] หรือ ทานตะวันหัว (อังกฤษ: Jerusalem artichoke หรือ sunchoke) [3] เป็นพืชดอกในตระกูลทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ชาวอินเดียนแดงปลูกไว้รับประทานหัว โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ต่อมาจึงแพร่หลายไปในสหรัฐอเมริกาและยุโรป [4]

แก่นตะวัน
ลำต้นมีดอก
Several knobby elongated light brown tubers in a pot with water
Jerusalem artichokes
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: อันดับทานตะวัน
วงศ์: วงศ์ทานตะวัน
สกุล: Helianthus
L.
สปีชีส์: Helianthus tuberosus
ชื่อทวินาม
Helianthus tuberosus
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Helianthus esculentus Warsz.
  • Helianthus serotinus Tausch
  • Helianthus tomentosus Michx.
  • Helianthus tuberosus var. subcanescens A.Gray

ลักษณะ แก้

แก่นตะวัน เป็นพืชล้มลุก มีหัวสะสมอาหาร หัวเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่เรียบ คล้ายหัวของขิงและข่า มีสีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง สีม่วง[5] รับประทานได้ ผิวใบสาก [4] ใบรีรูปไข่ บางพันธุ์มีขอบใบหยักลักษณะต้น สูง 1.5-2.0 ม. มีขนตามกิ่งและใบ ดอก เป็นทรงกลมแบน สีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน หรือบัวตอง ออกดอกเป็นช่อ สีเหลืองคล้ายดอกทานตะวัน มีโครโมโซมเป็น hexaploid เป็นพืชวันสั้น ช่วงแสงวิกฤตน้อยกว่า 14 ชั่วโมง การเจริญเติบโตของแก่นตะวันมีสองช่วง ช่วงแรกนับตั้งแต่ปลูกจนถึงออกดอกครั้งแรก แก่นตะวันจะสะสมอาหารในใบและลำต้น ช่วงที่สองหลังจากดอกแรกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ใบจะหลุดร่วง อาหารสะสมที่ใบถูกส่งไปที่หัว [6]

การเพาะปลูกและดูแล แก้

สมุนไพรแก่นตะวัน[7] เป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะปลูกคล้ายกับ ขมิ้นชัน เติบโตในดินร่วนปนทรายได้ดี และให้ผลผลิตดีด้วยดินร่วนปนทรายสามารถปลูกได้ทุกฤดู โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะดีที่สุด แต่ระวังอย่าให้น้ำขัง เพราะจะทำให้หัวแก่นตะวันเน่าได้

การใช้ประโยชน์ แก้

 
หัวแก่นตะวัน

หัวใช้รับประทานสดเป็นผัก ใช้ทำขนมหรือต้มรับประทาน[6] ภายในหัวมีน้ำ 80% และคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 18% โดยคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เป็นอินนูลิน (Inulin) เป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้ความหวาน จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน [8]ทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย ช่วยลดความอ้วนและป้องกันโรคเบาหวาน ในเชิงอุตสาหกรรมใช้หัวแก่นตะวันเป็นวัตถุดิบสำหรับสกัดน้ำตาลอินนูลินได้[6]

หัวแก่นตะวันใช้ปรุงอาหารแทนมันฝรั่งได้ [9] โดยให้เนื้อสัมผัสเช่นเดียวกันแต่รสหวานกว่า เหมาะสำหรับใส่ในสลัด คาร์โบไฮเดรตในหัวจะนุ่มถ้าต้มสุก แต่จะคงสภาพได้ดีกว่านึ่ง แก่นตะวันมี โพแทสเซียม 650 mg ต่อ 150g มีเหล็กสูง และมีเส้นใย ไนอาซิน ไทอามีน ฟอสฟอรัส และทองแดง [10]

ในเมนูอาหารไทย แก่นตะวันสามารถปรุงเป็นส้มตำได้[11]

หัวแก่นตะวัน เป็นวัตถุดิบแปรรูปเป็นเอทานอลและสุราได้[12] ใน Baden-Württemberg ประเทศเยอรมัน หัวแก่นตะวันมากกว่า 90% ใช้ในการผลิตสุราเรียกว่า "Topi" หรือ "Rossler"[13]

ลำต้นและใบใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยมีสารอาหารที่ย่อยได้ทั้งหมดมากกว่าถั่วอัลฟัลฟา แต่มีโปรตีนน้อยกว่า [4] ลำต้นนำไปหมักทำเอทานอลได้เช่นเดียวกัน[6]

แก่นตะวันดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน73 กิโลแคลอรี (310 กิโลจูล)
17.44 g
น้ำตาล9.6 g
ใยอาหาร1.6 g
0.01 g
2.0 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(0%)
1 μg
ไทอามีน (บี1)
(17%)
0.2 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.06 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(9%)
1.3 มก.
วิตามินบี6
(6%)
0.077 มก.
โฟเลต (บี9)
(3%)
13 μg
วิตามินซี
(5%)
4.0 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
14 มก.
เหล็ก
(26%)
3.4 มก.
แมกนีเซียม
(5%)
17 มก.
ฟอสฟอรัส
(11%)
78 มก.
โพแทสเซียม
(9%)
429 มก.
สังกะสี
(1%)
0.12 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central


อ้างอิง แก้

  1. The Plant List, Helianthus tuberosus L.
  2. รศ. สนั่น จอกลอย จากภาควิชาพืชไร่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้ตั้งชื่อภาษาไทย
  3. http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00223.asp
  4. 4.0 4.1 4.2 สนั่น จอกลอย วีรยา ลาดบัวขาว รัชนก มีแก้ว. แก่นตะวัน: พืชชนิดใหม่ใช้เป็นพลังงานทดแทน. แก่นเกษตร. 34 (2): 104 - 111
  5. Huxley, Anthony Julian; Mark Griffiths; Margot Levy (1992). The New Royal Horticultural Society dictionary of gardening. London: Macmillan Publishers. ISBN 978-0-333-47494-5. OCLC 29360744.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 นิมิต วรสูต และ สนั่น จอกลอย. 2549. อินนูลิน: สาระสำคัญสำหรับสุขภาพในแก่นตะวัน. แก่นเกษตร. 34 (2): 85 - 91
  7. สมุนไพรแก่นตะวัน
  8. Peter Barham. The Science of Cooking. p. 14.
  9.   Reynolds, Francis J., บ.ก. (1921). "Artichoke" . Collier's New Encyclopedia. New York: P. F. Collier & Son Company.
  10. USDA Agricultural Research Service, http://www.nal.usda.gov/fnic/foodcomp/Data//SR20/reports/sr20fg11.pdf เก็บถาวร 2012-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "ส้มตำแก่นตะวัน". healthandcuisine.com. 5 March 2014. สืบค้นเมื่อ 14 November 2014.
  12. http://www.thaienergynews.com/ArticleShowDetail.asp?ObjectID=168
  13. C.A.R.M.E.N. e.V.: Topinambur - Energiepflanze für Biogasanlagen. In: Newsletter "nawaros" 11/2007, Straubing.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แก่นตะวัน
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Helianthus tuberosus ที่วิกิสปีชีส์