แกงส้ม หรือ อาซัมเรอบุซ (มลายู: asam rebus) เป็นอาหารประเภทแกงที่เป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ซึ่งครบรสโดยมีรสเปรี้ยวนำ ตามด้วยเผ็ด หวาน เค็ม ใส่น้ำพริกแกงส้ม ผัก และ เนื้อสัตว์

แกงส้ม
แกงส้มปลาช่อนทอด
แหล่งกำเนิดประเทศไทย, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศลาว
ภูมิภาคภาคกลาง, ภาคใต้, ภาคเหนือ, มาเลเซียตอนบน, ประเทศลาว
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องไทย, มาเลเซีย, ลาว
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักปลาและผัก
รูปแบบอื่นแกงส้มของไทย, แกงส้มของลาว, อาซัมเรอบุซ ของมาเลเซีย
ข้อมูลอื่นมักเสิร์ฟกับข้าวสวย

ทำโดยใช้ น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้เดือด ใส่ผักและเนื้อสัตว์ ปรุงรสด้วย น้ำมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือ และวัตถุดิบพื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยว

ส่วนผสมหลัก แก้

ประเภทของแกงส้ม แก้

ภาคใต้ แก้

แกงส้มแบบภาคใต้ จะปรุงรสเปรี้ยวด้วย มะนาว, มะขาม, ขมิ้นในน้ำพริกแกง คนภาคอื่นจึงเรียกว่า "แกงเหลือง"

ภาคกลาง แก้

น้ำพริกแกงส้มของภาคกลาง ไม่ใส่ขมิ้นแต่จะมีการปรับส่วนผสมของน้ำพริกแกงไปบ้าง แกงส้มที่ใช้ปลาที่มีกลิ่นคาว เช่น ปลาหนัง ปลากดทะเล ปลาดุก เพิ่มกระเทียมลงในน้ำพริกแกงด้วย ส่วนแกงส้มปลาช่อนเพิ่มกระชายข่า ตะไคร้ในน้ำพริกเพื่อดับกลิ่นคาวปลา[4] แกงส้มในบางท้องถิ่นมีเครื่องปรุงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น

ภาคเหนือ แก้

จังหวัดน่านมีแกงส้มที่เป็นเอกลักษณ์เรียกแกงส้มเมือง เป็นแกงรสเปรี้ยว รสเปรี้ยวนั้นมาจากน้ำมะกรูด และใบส้มป่อย เป็นแกงปลาใส่ผักต่างๆ เช่น ชะอม ยอดมัน มะเขือเทศ ตูนหรือคูน แต่งกลิ่นให้หอมด้วยใบแมงลัก น้ำแกงมีสีเหลืองเพราะใส่ขมิ้น น้ำพริกประกอบด้วยรากผักชี เกลือ ตะไคร้ ขมิ้น พริกชี้ฟ้า หอม กระเทียมและกะปิ [7]

อ้างอิง แก้

  1. "Thai Sour Curry (Central Style)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-19. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  2. สุวรรณา ชัยชนะ. แกงเลียง แกงส้ม ต้มยำ. กทม. แม่บ้าน. 2553
  3. สาทร คล้ายน้อย.แกงส้ม (แกงเหลือง) ของคนปักษ์ใต้. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 211 มกราคม 2555. หน้า 54 – 58
  4. อาหารไทยรสเผ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 128, 130
  5. อาหารไทยริมทะเล, 2552: หน้า 68-70
  6. อาหารไทยริมทะเล, 2552: หน้า 72
  7. สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2558 หน้า 129

บรรณานุกรม แก้