เฮนเรียตตา แล็กส์

เฮนเรียตตา แล็กส์ (อังกฤษ: Henrietta Lacks) หรือชื่อเมื่อเกิด ลอเรตตา พลีแซนทส์ (อังกฤษ: Loretta Pleasant) (1 สิงหาคม 1920 - 4 ตุลาคม 1951)[1] เป็นสตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน[4] ผู้ซึ่งเซลล์มะเร็งของเธอเป็นต้นกำเนิดของสายเซลล์เฮลา เซลล์มนุษย์ที่เป็นอมตะสายแรก[A] และเป็นสายเซลล์ที่สำคัญมากที่สุดสายหนึ่งที่ใช้ในงานวิจัยทางการแพทย์มาจนถึงปัจจุบัน เซลล์เฮลาสามารถขยายตัวได้ไม่สิ้นสุดภายใต้สภาวะเฉพาะ งานวิจัยและความรู้ทางการแพทย์ที่ได้จากการศึกษาในเซลล์เฮลาจนถึงปัจจุบันนับว่าล้ำค่า “จนประเมินค่าไม่ได้”[6]

เฮนเรียตตา แล็กส์
เกิดลอเรททา พลีแซนต์
1 สิงหาคม ค.ศ. 1920(1920-08-01)
โรอันโนเค รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
เสียชีวิต4 ตุลาคม ค.ศ. 1951(1951-10-04) (31 ปี)
บัลทิมอร์ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐ
อาชีพแม่ย้าน, คนสวนยาสูบ[1][2]
ส่วนสูง5 ft (150 cm) tall[3]
คู่สมรสเดวิด แล็กส์ (1915–2002) แต่งงานปี 1941
บุตรลอว์เรนซ์ แล็กส์
เอลซี แล็กส์ (1939–1955)
เดวิน "ซอนนี" แล็กส์ จูเนียร?
เดบอราห์ แล็กส์ พัลลัม (1949–2009)
จอเซฟ แล็กส์
บิดามารดาเอลิซา (1886–1924) และ John Randall Pleasant I (1881–1969)

การนำเซลล์ของเธอมาเพาะขยายจำนวนจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นไปโดยที่เธอไม่ทราบ (unwittingly) โดยเซลล์ทั้งหมดมีที่มาจากเซลล์ของเธอที่ถูกตัดออกมาเพื่อวินิจฉัยระหว่างการรักษามะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลจอห์น ฮอพคินส์ในเมืองบัลทิมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ในปี 1951 เซลล์เหล่านี้ต่อมาถูกนำไปเพาะเลี้ยงโดย จอร์จ ออทโท เกย์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มผลิตสายเซลล์เฮลาขึ้น และยังคงใช้อย่างแพร่หลายในงานวิจัยทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน[7] แล็กส์ไม่เคยรับรู้หรือแสดงการยินยอมอย่างเป็นทางการต่อการนำเซลล์จากร่างกายของเธอไปเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติในขณะนั้นแต่ถือว่าขัดกับหลักปฏิบัติในจริยธรรมปัจจุบัน และจนถึงปัจจุบัน ทั้งเธอและผู้สืบทอดของเธอล้วนไม่มีใครไก้รับสินไหมจากการนำสายเซลล์นี้ไปใช้ประโยชน์ กรณีนี้ยังคงเป็นที่กังวลและถกเถียงในวงการจริยธรรมแพทย์และจริยศาสตร์ชีวภาพว่าด้วยการวิจัยและสิทธิผู้ป่วยจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "In Steve Silberman's Book Review of The Immortal Life of Henrietta Lacks (Nature 463, 610; 2010), ... Your lead-in claims that the death of Henrietta Lacks "led to the first immortal cell line", but that distinction belongs to the L929 cell line, which was derived from mouse connective tissue and described almost a decade earlier (W. Earle J. Natl Cancer Inst. 4, 165–212; 1943). As Silberman notes, Lacks's was the first mass-produced human cell line."[5]
  1. 1.0 1.1 Batts, Denise Watson (May 10, 2010). "Cancer cells killed Henrietta Lacks - then made her immortal". The Virginian-Pilot. pp. 1, 12–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2010. สืบค้นเมื่อ February 20, 2021. Note: Some sources report her birthday as August 2, 1920, vs. August 1, 1920.
  2. Skloot 2010, p. 16.
  3. Skloot 2010, p. 2.
  4. Butanis, Benjamin. "The Legacy of Henrietta Lacks". สืบค้นเมื่อ August 2, 2018.
  5. Hayflick, Leonard (March 4, 2010). "Myth-busting about first mass-produced human cell line". Nature. 464 (7285): 30. Bibcode:2010Natur.464...30H. doi:10.1038/464030d.
  6. Zielinski, Sarah (2010-01-02). "Cracking the Code of the Human Genome. Henrietta Lacks' 'Immortal' Cells". Smithsonian. สืบค้นเมื่อ 2016-12-31.
  7. Grady, Denise (2010-02-01). "A Lasting Gift to Medicine That Wasn't Really a Gift". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้