เอเนอร์เจีย

ผู้ผลิตจรวดรัสเซีย
(เปลี่ยนทางจาก เอเนอร์เจีย (บริษัท))

55°55′20″N 37°48′0″E / 55.92222°N 37.80000°E / 55.92222; 37.80000

บริษัทจรวดและอวกาศเอเนอร์เจีย ตั้งชื่อตาม ซ. ป. โคโรเลฟ
ชื่อเดิมOKB-1
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
MCX: RKKE
อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมอวกาศ
อุตสาหกรรมการบินอวกาศ
อุตสาหกรรมความมั่นคง
ก่อตั้ง16 พฤษภาคม 1946; 77 ปีก่อน (1946-05-16)
ผู้ก่อตั้งเซียร์เกย์ โคโรเลฟ
สำนักงานใหญ่
ผลิตภัณฑ์ขีปนาวุธทิ้งตัว, จรวดนำส่ง, ดาวเทียม, ยานอวกาศ, สถานีอวกาศ
รายได้726 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (2017)
รายได้จากการดำเนินงาน
37.8 ล้านอลลาร์สหรัฐ[1] (2017)
รายได้สุทธิ
21.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (2017)
สินทรัพย์1.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (2017)
ส่วนของผู้ถือหุ้น65.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] (2017)
เจ้าของสหบริษัท จรวดและอวกาศ จำกัด (38.2%)[2]
พนักงาน
7,791 (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
แผนกNPO เอเนอร์โกเมช
เว็บไซต์www.energia.ru

บริษัทร่วมทุน จรวดและอวกาศเอเนอร์เจีย ตั้งชื่อตาม ซ. ป. โคโรเลฟ (รัสเซีย: Ракетно-космическая корпорация «Энергия» им. С. П. Королёва, อักษรโรมัน: Raketno-kosmicheskaya korporatsiya “Energiya” im. S. P. Koroleva), หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า บจอ เอเนอร์เจีย (РКК «Энергия», RKK “Energiya”), เป็นบริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบของขีปนาวุธทิ้งตัว, ยานอวกาศและ สถานีอวกาศ ของรัสเซีย. บริษัทเป็นผู้พัฒนาและผู้รับเหมารายสำคัญของโครงการอวกาศรัสเซีย อีกทั้งยังเป็นผู้ถือครองส่วนแบ่งรายใหญ่ของบริษัท Sea Launch.[3] ชื่อของบริษัทมีที่มาจากชื่อของ เซียร์เกย์ โคโรเลฟ, หัวหน้าคนแรกของสำนักงานออกแบบของบริษัท, และจากคำภาษารัสเซียที่แปลว่า พลังงาน.

ภาพรวม แก้

เอเนอร์เจียเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดใน อุตสาหกรรมอวกาศรัสเซีย และยังเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรม บริษัทรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบินอวกาศของมนุษย์ และเป็นผู้นำในการพัฒนายานอวกาศ โซยูซ และ โปรเกรซ, อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการพัฒนาสถานีอวกาศนานาชาติในส่วนของรัสเซีย ในช่วงกลางทศวรรษที่ 2000 บริษัทได้ว่าจ้างพนักงานประมาณ 22,000-30,000 คน[4]

กิจการได้รับ 4 เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปฏิวัติเดือนตุลาคม และข้อความขอบคุณจากประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย นอกจากนี้ นักบินอวกาศรัสเซียอีก 14 คน ที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทได้รับตำแหน่ง “วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย”[5]

โครงสร้าง แก้

 
นายกรัฐมนตรี วลาดิมีร์ ปูติน ในพิพิธภัณฑ์ของบริษัทจรวดและอวกาศเอเนอร์เจีย

บริษัทประกอบไปด้วยบริษัทย่อยและสาขาดังต่อไปนี้:[5]

  • สำนักงานออกแบบหลัก
  • สาขา ไบโคนูร์
  • บริษัทร่วมทุนปิด โรงงานผลิตเครื่องจักรทดลอง
  • บริษัทร่วมทุนปิด วอลชสคอย DB
  • บริษัทร่วมทุนปิด คอสมอส

ตั้งแต่ปี 2009, หุ้น 38% ของบริษัทเป็นของรัฐบาลรัสเซีย[5]


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 e-disclosure.ru http://e-disclosure.ru/portal/files.aspx?id=1615&type=3. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  2. "Список аффилированных лиц". e-disclosure.ru. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
  3. "Business briefs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-11-10.
  4. Harvey, Brian (2007). "The design bureaus". The Rebirth of the Russian Space Program (1st ed.). Germany: Springer. ISBN 978-0-387-71354-0.
  5. 5.0 5.1 5.2 "OAO Rocket and Space Corporation Energia after S.P. Korolev". OAO Energia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-11. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.