เอียง ธิริทธ์ (สกุลเดิม เขียว;[1] เขมร: អៀង ធីរិទ្ធ[2]; 10 มีนาคม พ.ศ. 2474 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558) [3] เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในเขมรแดงแต่ไม่เคยเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการของเขมรแดง[4] เป็นภรรยาของเอียง ซารี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย เธอเองเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคมตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 จนกระทั่งเขมรแดงสิ้นสุดอำนาจใน พ.ศ. 2522[5] เธอเป็นน้องสาวของเขียว ปนนารี ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกของพล พต เธอถูกจับกุมโดยศาลพิเศษแห่งกัมพูชาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 พร้อมกับเอียง ซารี สามีในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

เอียง ธิริทธ์
รัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม ค.ศ. 1975 – 7 มกราคม ค.ศ. 1979
นายกรัฐมนตรีพล พต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เขียว ธิริทธ์

10 มีนาคม ค.ศ. 1932
จังหวัดพระตะบอง, กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
เสียชีวิต22 สิงหาคม ค.ศ. 2015(2015-08-22) (83 ปี)
จังหวัดไพลิน, ประเทศกัมพูชา
คู่สมรสเอียง ซารี
(m. ค.ศ. 1951–2013; เขาเสียชีวิต)
ญาติเขียว พอนนารี (พี่สาว)

ชีวิตช่วงแรก แก้

ธิริทธิ์เกิดที่จังหวัดพระตะบอง [6] บิดาของเธอเป็นผู้พิพากษาที่อพยพออกมายังพระตะบองในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อเดิมของเธอคือเขียว ธิริทธ์[7] จบการศึกษาจากโรงเรียนสีสุวัตถิ์และได้หมั้นกับเอียง ซารี ตั้งแต่อยู่ในกัมพูชา เธอเดินทางไปฝรั่งเศสพร้อมพี่สาวเพื่อไปศึกษาต่อทางด้านวรรณคดีอังกฤษ และได้สมรสกับเอียง ซารีใน พ.ศ. 2494

ชีวิตช่วงกลาง แก้

ธิริทธิ์เดินทางกลับกัมพูชาใน พ.ศ. 2500 และเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เธอเป็นสมาชิกอาวุโสของระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการสังคมและประธานสภากาชาดกัมพูชาประชาธิปไตยระหว่าง พ.ศ. 2518 – 2519 [8]

ชีวิตช่วงปลาย แก้

 
ธิริทธ์ในศาล พ.ศ. 2554

ธิริทธิ์อยู่กับเอียง ซารีสามีของเธอในบ้านพักทางใต้ของพนมเปญ[9] จนกระทั่งถูกจับกุมเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[10] ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์และถูกปล่อยตัว[11] อัยการออกมาคัดค้านการปล่อยตัว ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ศาลได้กลับคำวินิจฉัยที่ให้ปล่อยตัวธิริทธิ์ และให้นำตัวมาวินิจฉัยทางการแพทย์อีกครั้ง ก่อนจะปล่อยตัวไปเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2555

เธอเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ด้วยอาการป่วยหลายโรค ทั้งโรคหัวใจ ภาวะสมองเสื่อม ที่จังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา [12][13]

อ้างอิง แก้

  1. David Chandler: "Voices from S-21", Chapter 3: "Choosing Enemies", p.69. University of California, 1999. "In mid-1976 Khieu Thirith, who was Ieng Sary's wife and Pol Pot's sister-in-law (...)"
  2. "តួឯកក្នុងសំណុំរឿង០០២៖ អៀង ធីរិទ្ធ (IENG THIRITH)" [Starred in Case 002: Ieng Thirith] (ภาษาเขมร). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ 2015-06-06.
  3. Summons - Expert. Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia: 18 August 2011.
  4. ECCC, Co-Investigative Judges, Closing Order, 15 September 2010, para. 1207.
  5. "Ieng Thirith". Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-21. สืบค้นเมื่อ 18 February 2014.
  6. Munthit, Ker (November 11, 2007). "Ieng Thirith: A pioneer among female leaders of the Khmer Rouge". MSNBC. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-18. สืบค้นเมื่อ 15 November 2011.
  7. David Chandler: "Voices from S-21", Chapter 3: "Choosing Enemies", p.69. University of California, 1999. "In mid-1976 Khieu Thirith, who was Ieng Sary's wife and Pol Pot's sister-in-law (...)"
  8. Ben Kiernan: "The Pol Pot Regime", Chapter Three: Cleansing the Countryside, p. 101, Yale University, 1996. "Khieu Thirith was "in charge of culture, social welfare and foreign affairs, sharing the last field with her husband Ieng Sary."
  9. Michael Sheridan (February 19, 2006). "Pol Pot's in-laws face trial". London: timesonline.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
  10. "ECCC detains Ieng Sary, wife for questioning", Xinhua, November 12, 2007.
  11. Kong Sothanarith (2011-11-17). "Tribunal Finds Ieng Thirith Unfit for Upcoming Trial". VOA Khmer. สืบค้นเมื่อ 2014-02-02.
  12. http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/khmer-rouge-first-lady-ieng-thirith-dies-cambodia-tribunal
  13. ลาโลกแล้ว! อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งเขมรแดง
  • Philip Short. Pol Pot: Anatomy of a Nightmare. Henry Holt and Company, 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้