การทดสอบการใช้เหตุผลเอสเอที (SAT Reasoning Test) เป็นข้อสอบมาตรฐานสำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถานบันอุดมศึกษาในระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา เอสเอทีได้รับการพัฒนาโดย College Board ซึ่งองค์การองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรในสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้ข้อสอบได้รับการพัฒนาโดย Educational Testing Service[1] แต่ในปัจจุบันองค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ในการจัดสอบเท่านั้น ข้อสอบใช้ในการวัดความสามารถของเด็กในการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยจัดสอบครั้งแรกในปี 1926 โดยมีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้งหลังจากนั้น ข้อสอบนี้เคยมีชื่อว่า ข้อสอบความถนัดทางการศึกษา (Scholastic Aptitude Test) จากนั้นเปลี่ยนเป็น ข้อสอบทางการศึกษา (Scholastic Assessment Test) แต่ในตอนนี้เอสเอทีไม่มีความหมายดังกล่าวอีกต่อไป ข้อสอบเอสเอทีนั้นทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผลเช่นเดียวกับข้อสอบความถนัดทั่วไปที่จัดสอบโดยสทศ.

ข้อสอบปัจจุบันได้รับการจัดสอบเป็นครั้งแรกในปี 2005 ปัจจุบัน (2014) ค่าสอบคือ $52.50 ($98.50 สำหรับการสอบนอกสหรัฐฯ) ทั้งนี้ไม่รวมค่าสมัครสอบสาย[2] ข้อสอบแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งคือการอ่านจับใจความ (Critical Reading) การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (Math) และการเขียน (Writing) คะแนนเต็มแต่ละ Part คือ 800 คะแนนคะแนนรวมของทั้งสามส่วนนี้เป็นคะแนนที่ผ่านการปรับเทียบโดยคะแนนต่ำสุดที่เป็นไปได้คือ 600 และสูงสุดคือ 1600

ข้อสอบและการสอบ แก้

ข้อสอบเอสเอทีประกอบไปด้วยข้อสอบสามความถนัด แบ่งออกเป็น 10 ส่วน โดยสอบการอ่านจับใจความ การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และการเขียนทั่วไป คะแนนของแต่ละวิชาอยู่ระหว่าง 200-800 แต่ละวิชามีสามส่วนโดยแต่ละส่วนมีจำนวนข้อมากมายแตกต่างกันไป ส่วนที่ 10 ซึ่งคือส่วนสุดท้ายเป็นส่วนสาธิตโดยอาจจะเป็นวิชาใดก็ได้ ส่วนที่ 10 นี้ใช้ในการปรับเทียบคะแนนโดยใช้การแจกแจงแบบปกติและปรับเทียบคะแนนจริงเป็นคะแนนระหว่าง 200-800

ข้อสอบการอ่านจับใจความทดสอบความรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษและการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากบทคัดย่อ โดยบทคัดย่อแต่ละบทนำมาจากเอกสารในหลากหลายวิชา

ข้อสอบการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทดสอบความสามารถใช้คณิตศาสต์เบื้องต้นซึ่งส่วนที่ยากที่สุดทดสอบความรู้ด้านพีชคณิตและทฤษฎีจำนวน ข้อสอบเหมือนกับส่วนอื่น คือเป็นข้อส่วนปรนัย ทั้งนี้ข้อสอบในวิชาคณิตศาสตร์นี้มีข้อสอบปรนัยแบบเติมตัวเลข นักเรียนสามารถใช้เครื่องคำนวณระหว่างการสอบได้

ข้อสอบการเขียนทดสอบความรู้ด้านไวยากรณ์และการเขียนที่ดี มีข้อสอบเลือกส่วนที่ผิด ข้อสอบเติมประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และข้อสอบเขียนเรียงความโดยเป็นส่วนเดียวของข้อสอบที่เป็นข้อสอบอัตนัย ทั้งนี้ ข้อสอบส่วนเขียนเรียงความเป็นส่วนที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมมาที่สุดเพราะการเขียนส่วนใหญ่ไม่มีเนื้อความ นักเรียนอาจเขียนข้อมูลที่ผิดแต่หากเขียนโดยใช้ไวยากรณ์และศัพท์ที่ดีแล้ว นักเรียนก็อาจได้คะแนนสูงได้

คะแนนสอบ แก้

หลังจากตรวจข้อสอบเสร็จแล้ว คะแนนจะถูกปรับเทียบโดยใช้การแจกแจงแบบปกติแล้วรายงานให้ผู้สอบผ่านทางอินเทอร์เน็ตและส่งให้กับมหาวิทยาลัยในเวลาประมาณหนึ่งเดือน

นอกจากการสอบเอสเอทีนี้แล้ว ยังมีข้อสอบรายวิชาเอสเอทีซึ่งเป็นข้อสอบซึ่งสอบความรู้เฉพาะเจาะจง เช่นข้อสอบคณิตศาสตร์ในข้อสอบเอสเอทีรายวิชา (Subject Tests) สอบความรู้ด้านสถิติ ลิมิต ฟังก์ชัน และเมทริกซ์...ทั้งนี้ยากกว่าข้อสอบการใช้เหตุผลเอสเอทีมาก ข้อสอบรายวิชายังมีข้อสอบวิทยาศาสตร์ สังคม และภาษาต่างประเทศ

ปัญหาของข้อสอบ แก้

ข้อสอบเอสเอทีได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ได้สอบความสามารถของผู้สอบจริงๆ เพราะไอคิวกับคะแนนสอบไม่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ ยังมีการวิจารณ์ว่าข้อสอบเอสเอทีลำเอียงทางเชื้อชาติและรายรับ เด็กอเมริกาผิวขาวและเอเซียสอบได้คะแนนดีกว่าเด็กอเมริกาผิวสีมาก ผู้สอบที่มีฐานะทางสังคมดีกว่ามักจะได้คะแนนสูงกว่าอีกด้วย ทั้งนี้ เริ่มมีมหาวิทยาลัยที่ยกเลิกการใช้คะแนนเอสเอทีแล้ว

อ้างอิง แก้

  1. "About the College Board". College Board. สืบค้นเมื่อ May 29, 2007.
  2. "SAT Fees: 2010–11 Fees". College Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ September 5, 2010.

อ่านต่อ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Admission tests