เอมีล ฟิชเชอร์

นักเคมีชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1852–1919)

แฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์ (เยอรมัน: Hermann Emil Louis Fischer FRS FRSE FCS; 9 ตุลาคม ค.ศ. 1852 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919) เป็นนักเคมีชาวเยอรมันและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1902 เขาค้นพบเอสเทอริฟิเคชันของฟิชเชอร์ นอกจากนี้เขายังพัฒนาฟิชเชอร์โพรเจกชันซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับการวาดอะตอมของคาร์บอนที่ไม่สมมาตร เขาไม่เคยใช้ชื่อตัวชื่อแรก (แฮร์มัน) และเป็นที่รู้จักมาตลอดชีวิตในชื่อเอมีล ฟิชเชอร์[2][3][4][5]

เอมีล ฟิชเชอร์
เกิดแฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์
9 ตุลาคม ค.ศ. 1852(1852-10-09)
อ็อยส์เคียร์เชิน เขตไรน์
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919(1919-07-15) (66 ปี)
เบอร์ลิน เยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบ็อน
มหาวิทยาลัยสทราซบูร์
มีชื่อเสียงจากการศึกษาน้ำตาลและพิวรีน
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยมิวนิก (1875–1881)
มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน (1881–1888)
มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค (1888–1892)
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (1892–1919)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกอาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกอัลเฟรท ชต็อค
อ็อทโท ดีลส์
อ็อทโท รุฟ
วอลเทอร์ เอ. เจคอบส์
ลูทวิช คนอร์
อ็อสคาร์ พีโลที
ยูลีอุส ทาเฟิล

ช่วงต้น แก้

ฟิชเชอร์เกิดที่เมืองอ็อยส์เคียร์เชิน ใกล้กับโคโลญ เป็นลูกของเลาเร็นทซ์ ฟิชเชอร์ นักธุรกิจ และยูเลีย เพินส์เกิน ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาต้องการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่พ่อของเขาบังคับให้เขาทำงานในธุรกิจของครอบครัวจนกระทั่งเห็นว่าลูกชายของเขาไม่เหมาะ ต่อมาฟิชเชอร์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบ็อนใน ค.ศ. 1871 แต่ย้ายไปที่มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ใน ค.ศ. 1872[6] เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1874 จากการศึกษาเกี่ยวกับเทลิอีน (phthalein) ภายใต้การดูแลของอาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์[6] และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัย

การวิจัย แก้

ฟิชเชอร์เป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลงานที่เกี่ยวกับน้ำตาล: ในบรรดาผลงานอื่น ๆ การสังเคราะห์ D-(+)-กลูโคส[7] และพิวรีน (รวมถึงการสังเคราะห์กาเฟอีนครั้งแรก)

ฟิชเชอร์ยังมีบทบาทในการค้นพบบาร์บิเชอริต ซึ่งเป็นยาระงับประสาทที่ใช้สำหรับการนอนไม่หลับ โรคลมชัก ความวิตกกังวล และการระงับความรู้สึก เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวยากล่อมประสาทบาร์บิเชอริตเป็นครั้งแรกร่วมกับโยเซ็ฟ ฟ็อน เมริง แพทย์ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1904

อ้างอิง แก้

  1. "Fellows of the Royal Society". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16.
  2. Horst Kunz (2002). "Emil Fischer – Unequalled Classicist, Master of Organic Chemistry Research, and Inspired Trailblazer of Biological Chemistry". Angewandte Chemie International Edition. 41 (23): 4439–4451. doi:10.1002/1521-3773(20021202)41:23<4439::AID-ANIE4439>3.0.CO;2-6. PMID 12458504.
  3. Lichtenthaler, F. W. (1992). "Emil Fischers Beweis der Konfiguration von Zuckern: eine Würdigung nach hundert Jahren". Angewandte Chemie. 104 (12): 1577–1593. doi:10.1002/ange.19921041204.
  4. Forster, Martin Onslow (1 January 1920). "Emil Fischer memorial lecture". Journal of the Chemical Society, Transactions. 117: 1157–1201. doi:10.1039/CT9201701157.
  5. Biography Biography of Fischer from Nobelprize.org website
  6. 6.0 6.1 Farber, Eduard (1970–1980). "Fischer, Emil Hermann". Dictionary of Scientific Biography. 5. New York: Charles Scribner's Sons. pp. 1–5.
  7. Fischer, Emil (1890). "Synthese des Traubenzuckers". Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft. 23: 799–805. doi:10.1002/cber.189002301126.