เอซี/ดีซี (อังกฤษ: AC/DC, เขียน ACϟDC) เป็นวงร็อกออสเตรเลีย ก่อตั้งวงในซิดนีย์ ในปี 1973 โดยพี่น้องแมลคัมและแอนกัส ยัง ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปจะจำแนกวงนี้ว่าเป็นแนวฮาร์ดร็อกและถือว่าเป็นผู้บุกเบิกดนตรีเฮฟวีเมทัล[1][2] แต่พวกเขาก็มักจะจำแนกแนวเพลงพวกเขาว่าเป็น "ร็อกแอนด์โรล"[3]

เอซี/ดีซี
เอซี/ดีซี แสดงในบัวโนสไอเรสปี 2009
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดซิดนีย์ ออสเตรเลีย
แนวเพลง
ช่วงปี1973 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
แยกตัวจากมาร์คัสฮุกโรลแบนด์
สมาชิก
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์www.acdc.com

เอซี/ดีซี เผชิญกับการเปลี่ยนสมาชิกในวงหลายหน ก่อนที่จะออกอัลบั้มชุดแรก High Voltage ในปี 1975 สมาชิกของวงเริ่มคงตัวเมื่อมือเบส มาร์ก อีแวนส์มาแทนที่ คลิฟ วิลเลียมส์ ในปี 1977 ต่อมาในปี 1979 วงได้บันทึกเสียงอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในชื่อชุด Highway to Hell นักร้องนำและผู้ร่วมเขียนเพลง บอน สก็อต เสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 หลังจากคืนที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก วงได้ตัดสินใจแยกวงไป แต่แล้วอดีตนักร้องวงกอร์ดี ที่ชื่อไบรอัน จอห์นสันก็ถูกเลือกให้มาแทนที่สก็อต ต่อมาในปีนั้นวงออกอัลบั้มชุดที่ขายดีที่สุดของวงในชื่อชุด Back in Black

อัลบั้มถัดมาของวง Those About to Rock We Salute You ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงและถือเป็นอัลบั้มแรกของวงที่สามารถขึ้นอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา เอซี/ดีซี เริ่มเสื่อมความนิยมลงไปหลังจากมือกลอง ฟิล รัดด์ถูกไล่ออกในปี 1983 และถูกแทนที่ด้วยไซมอน ไรต์ (ต่อมาร่วมวงกับดิโอ) ฟิล รัดด์กลับมาอีกครั้งในปี 1994 (หลังจากสเลดถูกให้ออกจากวง) และเขาได้ทำงานใหอัลบั้มปี 1995 ชุด Ballbreaker ในปี 2000 ออกผลงานอัลบั้มชุด Stiff Upper Lip ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ ทางวงออกผลงานชุดล่าสุด Black Ice เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2008[4]

เอซี/ดีซี มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 200 ล้านชุดทั่วโลก[5] รวมถึงขายอัลบั้มในสหรัฐอเมริกาได้กว่า 71 ล้านชุด[6] อัลบั้มชุด Back in Black มียอดขายราว 45 ล้านชุดทั่วโลก[7] โดยมียอดขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียวที่ 22 ล้านชุด ซึ่งถือเป็นอัลบั้มที่มียอดขายมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5[8] เอซี/ดีซี ติดอยู่อันดับที่ 4 ของการจัดอันดับทางช่องวีเอชวันในหัวข้อ "100 ศิลปินฮาร์ดร็อกที่ยอดเยี่ยมที่สุด"[9] และอันดับ 7 ของการจัดอันดับทางช่องเอ็มทีวี ในหัวข้อ "วงเฮฟวีเมทัลที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล"[10] ในปี 2004 พวกเขาติดอยู่อันดับที่ 72 ทางนิตยสารโรลลิงสโตน ในหัวข้อ 100 ศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล

ประวัติ แก้

พื้นภูมิหลังและชื่อ แก้

 
โล้โก้วงถูกคิดคั้นในปี 1977 โดย Gerrad Huerta , โดยรับทำหน้าที่โดย Bob Defrin, กำกับภาพวาดโดย Atlantic Records ในช่วงยุค 1970 ถูกปล่อยมาครั้งแรกในอัลบั้ม Let There Be Rock ในปีค.ศ. 1977 ในรูปแบบเวอร์ชันนานาชาติ

พี่น้อง แมลคัมและแอนกัส และจอร์จ ยัง เกิดใน กลาสโกว์ , ประเทศสกอตแลนด์ , และย้ายไปซิดนีย์กับครอบครัวของพวกเขาในปี 1963 , จอร์จได้เรียนรู้วิธีเล่นกีตาร์ , และเขาก็ได้เป็นสมาชิกวง The Easybeats เป็นหนึ่งในวงที่มีความประสบความสำเร็จในช่วงยุค 1960 ในประเทศออสเตรเลีย , ในปี 1966 , พวกเขาเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเริ่มมีชื่อเสียงจากเพลง Friday on My Mind[11]แมลคัม เดินตามรอยจอร์จโดยเล่นวงในเมือง Newcastle, New South Wales และก่อตั้งวง Velvet Underground (อย่าสับสนกับวงดนตรีนิวยอร์กที่ใช้ชื่อว่า The Velvet Underground)[12]พี่ชายคนโตของพวกเขา อเล็ก ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในสหราชอาณาจักรและไล่ตามความฝันทางดนตรีในปี 1967 , อเล็กซานเดอร์ฟอร์มวงโดยทำหน้าที่มือเบสในกรุงลอนดอนกับวง Grapfruit โดยมีอีกชื่อว่า The Grapeful และอดีตสมาชิกจาก Tony Rivers และวง The Castaways , John Perry , Geoff Swettenham และ Pete Swettenham

แมลคัมและแอนกัส ยัง คิดค้นที่จะตั้งชื่อไอเดียกับน้องสาวของเขา , มาร์กาเร็ต ยัง , เห็นชื่อย่อ AC/DC ของจักรเย็บผ้า โดยคำว่า AC/DC เป็นคำย่อที่มีความหมายว่า ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) /ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ทางวิชาไฟฟ้า , สองพี่น้องรู้สึกว่าชื่อนี้เหมาะที่จะเป็นชื่อวงอย่างมาก , และเปรียบเหมือนแรงขับเคลื่อนสำคัญให้กับวง[13][14] AC/DC เป็นตัวเด่นชัดเหมือนเขียนเขียนตัวอักษร แม้ว่าวงจะถูกเรียกขานในนาม Acca Dacca ในประเทศออสเตรเลีย[15][16] รูปวง AC/DC เป็นสายฟ้าอยู่กึ่งกลาง แบ่งแยกกับคำ AC และ DC และรูปนี้ยังคงใช้ทุกสตูดิโออัลบั้ม , แต่ยกเว้นเฉพาะอัลบั้ม Dirty Deeds Done Dirt Cheap ในเวอร์ชันนานาชาติ.[17]

ช่วงแรก แก้

ในเดือนพฤศจิกายน 1973 , แมลคัมและแอนกัส ยังฟอร์มวง AC/DC ขึ้นและได้รับเลือก Larry Van Kriedt มาทำหน้าที่มือเบส , Dave Evans ร้องนำ , และได้ Colin Burgess จากวง Masters Apprentices มาทำหน้าที่มือกลอง[18]

โดยแอนกัส ยังได้มักมีลักษณะเฉพาะคือการใส่ชุดแบบนักเรียนขึ้นคอนเสริ์ตอยู่หลายหน , ไอเดียนี้มาจากน้องสาวของเขา มาร์กาเร็ต , แอนกัสพยายามที่จะหาชุดแหวกแนวขึ้นคอนเสริ์ต เช่น ; ศึกตำนานหน้ากากโซโร สไปเดอร์-แมน , กอลลิล่า และการล้อเลียนซูเปอร์แมน , ในชื่อ Super-Ang[12] ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ , มีสมาชิกภายในวงใส่ชุดที่ดึงดูหรือชุดผ้าตุ่น โดยอาจจะมีความคล้ายคลึงกับวง Skyhoods จากเมือง เมลเบิร์น โดยวง Skyhoods มักขึ้นแสดงด้วยชุดที่แหวกแนวเป็นประจำอยู่บ่อยครั้ง

พี่น้องตระกูลยัง ตัดสินใจบอกกับเดฟ อีแวนส์ไม่เหมาะที่จะเป็นฟร้อนแมนท์ของวงเพราะพวกเขาเหมาะที่จะเป็น แกลมร็อก เฉกเช่น Gary Glitter[19] บนเวที , เดฟ อีแวนส์ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกับวงเป็นครั้งเป็นคราว ๆ , Dennis Laughlin อดีตนักร้อง Sherbet (ก่อน Daryl Braithwaite จะขึ้นมาเป็นนักร้อง) , Dave Evans ไม่ได้เดินตามรอย Dennis Laughlin , ซึ่งก็มีส่วนทำให้ความรู้สึกที่ไม่ดีของวงดนตรีที่มีต่อ Evans[19]

ช่วงยุค Bon Scott (1974-80) แก้

การเดินทางเริ่มต้น (1974-77) แก้

ในเดือนกันยายน 1974 Bon Scott ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการร้องและเป็นเพื่อนของ George Young ได้เข้ามาแทนที่ Dave Evans[20] หลังเพื่อนของเขา Vince Lovegrove แนะนำให้แก่ George Youngเหมือนเฉกเช่นคู่หูยัง Bon Scott เกิดในประเทศสก็อตแลนต์ก่อนจะอพยพถื่นฐานไปยังออสเตรเลียในวัยเด็ก , โดยทางวงได้อัดเทปเพียงหนึ่งซิงเกิลกับ Dave Evans "Can I Sit Next To You, Girl" / "Rockin' in the Parlour"; ท้ายที่สุดเพลงนี้ถูกแก้และอัดใหม่โดย Bon Scott โดย Can I Sit Next To You Girl'' แทร็กที่ 7 ในอัลบั้ม TNT (1975) และเป็นแทร็กที่ 6 ในอัลบั้ม High Voltage (1976) ในเวอร์ชันนานาชาติ

ในเดือนตุลาคม 1974 อัลบั้ม High Voltage ที่จัดจำหน่ายเฉพาะออสเตรเลีย เริ่มทำการอัด ซึ่งใช้เวลาถึง 10 วัน[21] เขียนเพลงโดยสองพี่น้องยัง แต่งเนื้อโดย Bon Scott ภายในเวลาไม่กี่เดือน สมาชิกวงก็เริ่มสเถียรภาพ ร่วมร้องโดย Bon Scott , สองพี่น้องยัง มือเบส Mark Evans และมือกลอง Phil Rudd สิ้นปีทางวงได้ปล่อยซิงเกิล It's a Long Way to The Top และทำให้พวกเขากลายเป็นวงร็อคขวัญใจตลอดกาล[22] มันถูกรวมอยู่ในอัลบั้มที่สอง , TNT (1975) ซึ่งจัดจำหน่ายแค่ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยภายในอัลบัมนี้ยังมีเพลงโดดเด่น High Voltage โดยเป็นเพลงแรกที่เขียนและอัดลงในอัลบั้ม เนื่องจาก High Voltage ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลก่อนที่อัลบั้ม T.N.T. จะถูกปล่อยออกมา โดยผู้คนคิดว่ามันน่าจะเป็นเพลงเปิดตัวของวง

ในระหว่างช่วงปี 1974 และ 1977 ยังคงได้รับความช่วยเหลือโดยปรากฏอยู่ในรายการทอล์กโชว์ Molly Meldrum's Countdown, บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพอเมริกัน (ABC) กล่าว AC/DC เป็นหนึ่งในวงยอดนิยมและประสบความสำเร็จในออสเตรเลีย โดยการแสดงของพวกเขาใน 3 เมษายน 1977 เป็นการปรากฏในทีวีครั้งสุดท้ายหลังจากห่างเหินมากกว่า 20 ปี

ผลงานอัลบั้ม แก้

สตูดิโออัลบั้ม แก้

สมาชิก แก้

สมาชิกปัจจุบัน แก้

[24][25]

อดีตสมาชิก แก้

อ้างอิง แก้

  1. Dale Hoiberg, บ.ก. (2007-09-24). "AC/DC". Encyclopædia Britannica Ultimate Reference Suite (2008 ed.). ISBN 1-59339-292-3. {{cite encyclopedia}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Dale Hoiberg, บ.ก. (2007-09-24). "heavy metal". Encyclopædia Britannica Ultimate Reference Suite (2008 ed.). ISBN 1-59339-292-3. {{cite encyclopedia}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Engleheart, Murray (1997-11-18). AC/DC — Bonfire. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "AC/DC Completes Recording New Album". Blabbermouth.net. 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "Back to roots for AC/DC". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
  6. "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  7. "AC/DC, fuoco alle polveri: <<Lasciate che ci sia il rock!>>". Gazzetta di Parma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-27. สืบค้นเมื่อ 2009-03-20.
  8. "Top 100 Albums". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  9. "100 Greatest artists of hard rock". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  10. "The Greatest Metal Bands of All Time". MTV. สืบค้นเมื่อ 2008-08-02.
  11. Baker, Glenn A. "History of Albert Music". Albert Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  12. 12.0 12.1 Walker, Clinton (2001). Highway to Hell: The Life and Times of AC/DC Legend Bon Scott. pp. 128–133. ISBN 1-891241-13-3.
  13. White, Dave. "AC/DC". About.com – Classic rock. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  14. "AC/DC History". AC/DC – Bedlam in Belgium. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  15. "Tracker to Acca Dacca". The Age (theage.com.au). Melbourne, Australia: Fairfax Digital. 17 May 2004. สืบค้นเมื่อ 18 October 2008.
  16. "AC/DC ACDC". Only Melbourne (onlymelbourne.com.au). 1 October 2004. pp. Melbourne, Australia. สืบค้นเมื่อ 18 October 2008. Its now rock 'n' roll history after Melbourne discovered acca-dacca so did the rest of the world, going on to become one of the biggest bands in the world.
  17. "Album covers for AC/DC". Bliss. Elsten Software Limited. สืบค้นเมื่อ 10 July 2014.
  18. "Rock Snaps". Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  19. 19.0 19.1 Stenning, Paul; Rob Johnstone (November 2005). AC/DC – Two Sides to Every Glory. Chrome Dreams. pp. 32–34. ISBN 1-84240-308-7.
  20. Saulnier, Jason (3 January 2013). "Dave Evans Interview". Music Legends. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  21. "Timeline". AC/DC official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  22. Boulton, Martin (10 September 2004). "Laneway to the top for AC/DC". The Age. Melbourne. สืบค้นเมื่อ 2 August 2008.
  23. 23.0 23.1 23.2 "AC/DC Confirms 2020 Lineup, Releases First Official Band Photo – Music News @ Ultimate-Guitar.Com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  24. Moran, Jonathon (7 February 2010). "Gen Y Pop Princess Taylor Swift vs Baby Boom Rockers AC/DC". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 January 2013.
  25. 25.0 25.1 25.2 "AC/DC Confirm Axl Rose Is New Lead Singer". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้