เอกชัย นพจินดา ชื่อเล่น นิดหน่อย​ แต่นิยมเรียกนามแฝง​ว่า แจ็กกี้ อดีตผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาที่มีชื่อเสียง, อดีตผู้ประกาศข่าวกีฬาทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, อดีตบรรณาธิการและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน, สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน และนิตยสารสตาร์ซอคเก้อร์รายสัปดาห์

เอกชัย นพจินดา
ย.โย่ง
เอกชัย นพจินดา ขณะรายงานข่าวกีฬาเอเชียนเกมส์ 1994
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2496
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต6 มีนาคม พ.ศ. 2540 (43 ปี)
โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล กรุงเทพมหานคร​ ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตภาวะหัวใจวาย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นย.โย่ง
การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
ศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย
อาชีพผู้บรรยายการแข่งขันกีฬา
ผู้ประกาศข่าวกีฬา
บรรณาธิการ
คอลัมนิสต์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 25172540
นายจ้างสยามสปอร์ตซินดิเคท (2517–2540)
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (2531–2540)
มีชื่อเสียงจากคัมภีร์ฟุตบอลเมืองไทย
โทรทัศน์ช่อง 7 สี
คู่สมรสยุรี นพจินดา
บุตรทวีพร นพจินดา
ญาติธราวุธ นพจินดา
เว็บไซต์เอกชัย นพจินดา

ประวัติ แก้

เอกชัยเกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันโทไพฑูรย์ (บิดา) กับพันโทหญิงอุไร (มารดา) มีน้องชายซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปคือธราวุธ นพจินดา (เกิด: 31 มีนาคม พ.ศ. 2499; ถึงแก่กรรม: 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555; อายุ 56 ปี) [1] แต่ได้โยกย้ายมาอาศัยที่อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เอกชัยเริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา จังหวัดลพบุรี แต่เนื่องจากพ่อของเขารับราชการทหารก็ต้องโยกย้ายอยู่เสมอ จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนอักษรเจริญ และมาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากวชิราวุธวิทยาลัย และเมื่อปี พ.ศ. 2532 เขาสมรสกับยุรี (นามสกุลเดิม: วีระสุคนธ์; เกิด: 12 มีนาคม พ.ศ. 2504; ถึงแก่กรรม: 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550; อายุ 46 ปี) พยาบาลประจำโรงพยาบาลศิริราช โดยทั้งสองพบกันในปี พ.ศ. 2529 ระหว่างที่เอกชัยเข้ารับการผ่าตัด เส้นเอ็นลูกสะบ้าที่หัวเข่าข้างซ้ายซึ่งฉีกขาด และทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันคนหนึ่ง ชื่อทวีพร นพจินดา (ชื่อเล่น: แตงโม) ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2533

งานสื่อมวลชนสายกีฬา แก้

ในขณะที่เอกชัยกำลังศึกษาอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง เขาจึงลาออกจากมหาวิทยาลัยและเข้าสู่วงการสื่อมวลชนสายกีฬา เพราะความชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะฟุตบอลอังกฤษ (เป็นแฟนของสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด) โดยเริ่มจากการเป็นนักแปลข่าวกีฬาที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 จากนั้นพิศณุ นิลกลัด ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าข่าวกีฬาของบ้านเมือง, ผู้สื่อข่าวกีฬาของสยามสปอร์ตซินดิเคท และช่อง 7 สี จึงทาบทามให้เอกชัยมาเป็นผู้แปลข่าว การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 11 ซึ่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินาเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2521 ให้กับทางสยามสปอร์ตฯ

จากนั้นจึงรับงานเขียนคอลัมน์ และเป็นบรรณาธิการหนังสือ ในเครือสยามสปอร์ตอีกหลายฉบับ โดยใช้นามปากกาว่า ย.โย่ง เนื่องจากเป็นผู้มีรูปร่างผอมสูง ต่อมายังเป็นผู้ประกาศข่าวกีฬา ในช่วงข่าวภาคค่ำประจำวัน และผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาทางช่อง 7 สี โดยเอกชัยเริ่มทำงานกับทางช่อง 7 สีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ร่วมกับ จักรพันธุ์ ยมจินดา และพิศณุด้วย จนมีชื่อเสียงในฐานะผู้บรรยายฟุตบอลที่มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่ง เนื่องจากมีความรอบรู้ในเรื่องฟุตบอลอย่างแตกฉาน เอกชัยจึงได้รับฉายาจากแฟนฟุตบอล ผู้อ่านและผู้ชมว่าเป็น คัมภีร์ลูกหนัง หรือ คัมภีร์ฟุตบอล ของประเทศไทย ทั้งนี้ นายเอกชัยยังมีชื่อเสียง จากการเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ประเภทกีฬา นาทีระทึกใจ, ชั่วโมงระทึกใจ และ เจาะสนาม ที่ผลิตโดย บริษัท จีเอส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และออกอากาศทางช่อง 7 สี

การเสียชีวิต แก้

เอกชัยถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2540 เวลา 21.45 น. ด้วยภาวะหัวใจวาย ขณะนำส่งโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ระหว่างการเล่นเทนนิส ร่วมกลุ่มกับสุรางค์ เปรมปรีดิ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, พิศณุ และเพื่อนร่วมงาน ที่สนามเทนนิสภายในที่ทำการ ช่อง 7 เอชดี ญาติประกอบพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ที่ศาลา 12 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีพระราชทานเพลิงศพเอกชัย หลังจากนั้น ยุรี นพจินดาและยอดชาย ขันธะชวนะ (นามปากกา: ยอดทอง) เพื่อนสนิทตั้งแต่ครั้งศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย จนกระทั่งร่วมงานกันที่สยามสปอร์ตฯ ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิเอกชัย นพจินดา ขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักกีฬาเยาวชน และกิจการกีฬาของประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้