เหตุจลาจลสโตนวอลล์

เหตุจลาจลสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall riots) หรือชื่ออื่น ๆ การก่อการกำเริบสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall uprising) หรือ กบฏสโตนวอลล์ (อังกฤษ: Stonewall rebellion) เป็นกลุ่มเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงโดยสมาชิกของชุมชนเกย์ (บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ)[note 1] เพื่อเป็นการตอบกลับการจู่โจมของตำรวจที่เริ่มต้นขึ้นในเช้าตรู่วันที่ 28 มิถุนายน 1969 ที่สโตนวอลล์อินน์ ในย่านเกรนิชวิลเลจ แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก เหล่าผู้คนของสโตนวอลล์, บาร์เกย์และเลสเบียนแห่งอื่นในวิลเลจ และผู้คนบนถนนในย่านได้ออกมาต่อสู้กลับเมื่อตำรวจเริ่มใช้ความรุนแรง การจลาจลนั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดที่นำไปสู่ขบวนการปลดแอกเกย์[4][5][6][7] และเป็นการต่อสู้ในยุคใหม่เพื่อสิทธิบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐ[8][9]

เหตุจลาจลสโตนวอลล์
ส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์ที่นำไปสู่
ขบวนการปลดปล่อยเกย์
แผ่นป้ายระลึกถึงเหตุจลาจลที่สโตนวอ์อินน์
วันที่28 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 (1969-06-28 – 1969-07-03)[1][2][3]
สถานที่สโตนวอลล์อินน์
40°44′01.67″N 74°00′07.56″W / 40.7337972°N 74.0021000°W / 40.7337972; -74.0021000
เป้าหมายการปลดแอกชาวเกย์ และ สิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐ
วิธีการจลาจล เดินขบวน
คู่ขัดแย้ง
กรมตำรวจนิวยอร์ก
  • กองกำลังลาดตระเวนยุทธวิธี
  • เขตปกครองที่สี่, ห้า, หก และ เก้า
ชาวสโตนวอลล์อินน์
จำนวน

วันที่ 1: เจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์ก 10 นาย (ภายในอาคาร)

วันที่ 2: เจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กจากหลายเขตปกครอง

วันที่ 1: ผู้สนับสนุน 500 – 600 คน ด้านนอกอาคาร

วันที่ 2: ~ผู้สนับสนุน 1000 ภายในและภายนอกอาคาร

ชาวเกย์อเมริกันในทศวรรษ 1950s และ 1960s เผชิญหน้ากับระบบกฎหมายที่ต่อต้านเกย์[note 2][10] กลุ่มคนรักร่วมเพศแรก ๆ ในสหรัฐเสาะหาการพิสูจน์ว่าชาวเกย์สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ และสนใจในการศึกษาแบบไม่รุนแรง (non-confrontational) สำหรับประเด็นการรักร่วมเพศและการรักเพศตรงข้ามให้เหมือน ๆ กัน ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s ได้มีการเคลื่อนไหวทางสังคม/การเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งออกไปในทางการถกเถียง เช่น ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมือง, วัฒนธรรมต้านขนบ และขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามของสหรัฐ อิทธิพลเหล่านี้ร่วมไปกับสภาพแวดล้อมเสรีนิยมของเกรนิชวิลเลจได้เป็นเหมือนตัวเร่งเร้าให้เกิดการจลาจลสโตนวอลล์

มีองค์กรต่าง ๆ น้อยมากที่เปิดต้อนรับชาวเกย์ในช่วงทศวรรษ 1950s และ 1960s ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่เป็นบาร์ ถึงแม้เจ้าของบาร์เหล่านั้นแทบจะไม่ใช่ชาวเกย์ก็ตาม ในขณะนั้น สโตนวอลล์อินน์มีเจ้าของเป็นมาเฟียชาวอเมริกัน[13][14][15] สโตนวอลล์อินน์เป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้คนที่ยากจนและชายของที่สุดของชุมชนเกย์: บุตช์เลสเบียน, ชายหนุ่มออกสาว, แดรกควีน, โสเภณีชาย, บุคคลข้ามเพศ และ เยาวชนไร้บ้าน บาร์เกย์ต่าง ๆ ต้องเผชิญกับบุกของตำรวจ (Police raids) เป็นกิจวัตรในทศวรรษ 1960s แต่เจ้าหน้าที่เสียการควบคุมอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่สโตนวอลล์อินน์ ความตึงเครียดระหว่างตำรวจนครนิวยอร์กกับผู้อยู่อาศัยชาวเกย์ในเกรนิชวิลเลจได้แตกออกและนำไปสู่การประท้วงอีกในเย็นวันถัดมา และอีกครั้งในหลายคืนถัดมา ในอาทิตย์ถัด ๆ มา ชาววิลเลจได้จัดกลุ่มกันอย่างรวดเร็วขึ้นเป็นกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นไปยังการสร้างสถานที่สำหรับชาวเกย์และเลสเบียนได้สามารถเปิดเผยเกี่ยวกับเพศวิถีของตนโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกจับ

หลังเหตุจลาจล ชาวเกย์และเลสเบียนในนิวยอร์กซิตีได้เผชิญกับอุปสรรคทางเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น และช่วงอายุ ในการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนที่เหนียวแน่น ภายในระยะเวลาหกเดือน องค์กรนักิจกรรมเกย์สองแห่งได้ก่อตั้งขึ้นในนิวยอร์กโดยมีมุ่งยุทธวิธีที่รุนแรง (confrontational tactics) และมีหนังสือพิมพ์สามเจ้าที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สิทธิของชาวเกย์และเลสเบียน หนึ่งปีหลังเหตุจลาจล ได้มีการจัดไพรด์พาเรดครั้งแรกขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 1970 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ ในนิวยอร์กซิตี, ลอสแอนเจลิส และซานฟรานซิสโก[16] ในปี 2016 ได้มีการตั้งอนุสรณ์สถานแห่งชาติสโตนวอลล์ขึ้นที่บริเวณเกิดเหตุจลาจล[17]

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2019 อธิบดีกรมตำรวจนิวยอร์กซิตี เจมส์ พี. โอนีลล์ ได้แถลงรายงานขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของกรมตำรวจนิวยอร์กสำหรับการกระทำของเจ้าหน้าที่ในเหตุจลาจลสโตนวอลล์เมื่อปี 1969[18][19]

หมายเหตุ แก้

  1. คำว่า"เกย์"ในเวลานั้น สื่อถึงสมาชิก LGBT ทั้งหมด
  2. Illinois decriminalized sodomy in 1961, but at the time of the Stonewall riots every other state criminalized homosexual acts, even between consenting adults acting in private homes. "An adult convicted of the crime of having sex with another consenting adult in the privacy of his or her home could get anywhere from a light fine to five, ten, or twenty years—or even life—in prison. In 1971, twenty states had 'sex psychopath' laws that permitted the detaining of homosexuals for that reason alone. In Pennsylvania and California sex offenders could be committed to a psychiatric institution for life, and [in] seven states they could be castrated."[10] Through the 1950s and 1960s, castration, emetics, hypnosis, electroshock therapy, and lobotomies were used by psychiatrists to try to "cure" homosexuals.[11][12]

อ้างอิง แก้

  1. Grudo, Gideon (June 15, 2019). "The Stonewall Riots: What Really Happened, What Didn't, and What Became Myth". The Daily Beast.
  2. "New-York Historical Society commerates 50th anniversary of Stonewall Uprising with special exhibitions and programs". New-York Historical Society. April 23, 2019.
  3. "Movies Under the Stars: Stonewall Uprising". New York City Department of Parks and Recreation. June 26, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
  4. Julia Goicichea (August 16, 2017). "Why New York City Is a Major Destination for LGBT Travelers". The Culture Trip. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
  5. "Brief History of the Gay and Lesbian Rights Movement in the U.S". University of Kentucky. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
  6. Nell Frizzell (June 28, 2013). "Feature: How the Stonewall riots started the LGBT rights movement". Pink News UK. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
  7. "Stonewall riots". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
  8. U.S. National Park Service (October 17, 2016). "Civil Rights at Stonewall National Monument". Department of the Interior. สืบค้นเมื่อ August 6, 2017.
  9. "Obama inaugural speech references Stonewall gay-rights riots". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2013. สืบค้นเมื่อ January 21, 2013.
  10. 10.0 10.1 Carter 2004, p. 15.
  11. Katz 1976, pp. 81–197.
  12. Adam 1987, p. 60.
  13. Duberman 1993, p. 183.
  14. Carter 2004, p. 79–83.
  15. "Stonewall Uprising: The Year That Changed America - Why Did the Mafia Own the Bar?". American Experience. PBS. April 2011. สืบค้นเมื่อ June 5, 2019.
  16. "Heritage | 1970 Christopher Street Liberation Day Gay-In, San Francisco". SF Pride. June 28, 1970. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2014. สืบค้นเมื่อ June 28, 2014.
  17. Nakamura, David; Eilperin, Juliet (June 24, 2016). "With Stonewall, Obama designates first national monument to gay rights movement". Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 24, 2016.
  18. Gold, Michael; Norman, Derek (June 6, 2019). "Stonewall Riot Apology: Police Actions Were 'Wrong,' Commissioner Admits". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.
  19. "New York City Police Finally Apologize for Stonewall Raids". advocate.com. June 6, 2019. สืบค้นเมื่อ June 6, 2019.

บรรณานุกรม แก้