เสือลายเมฆฟอร์โมซา

เสือลายเมฆฟอร์โมซา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neofelis nebulosa brachyura; อังกฤษ: Formosan clouded leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือลายเมฆเฉพาะถิ่นของไต้หวัน[3] การศึกษาโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพที่มีขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1997 ถึง 2012 ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของเสือลายเมฆฟอร์โมซา[4][5] ประชากรของเสือชนิดนี้ถูกขึ้นบัญชีว่าสูญพันธุ์ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็น[2]

เสือลายเมฆฟอร์โมซา
ภาพวาดเสือลายเมฆฟอร์โมซา เผยแพร่ในปี 1862[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
สกุล: สกุลเสือลายเมฆ
(Griffith, 1821)
สปีชีส์: Neofelis nebulosa
ชื่อทวินาม
Neofelis nebulosa
(Griffith, 1821)

อนุกรมวิธาน แก้

Felis nebulosa เคยเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่เสนอโดย Edward Griffith ใน ค.ศ. 1821 ผู้อธิบายหนังเสือลายเมฆที่ยังมีชีวิตอยู่จากมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนไปที่โรงละครสัตว์ในExeter Exchangeที่ลอนดอน[6]Leopardus brachyurus ได้รับการเสนอจาก Robert Swinhoe ใน ค.ศ. 1862 ที่อธิบายหนังเสือลายเมฆจากฟอร์โมซา[1]

ภายหลังมีการจัดให้เสือลายเมฆเป็นชนิดย่อย Neofelis nebulosa brachyurus อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมฝยตัวอย่างขนของ Neofelis เปิดเผยว่าเสือลายเมฆฟอร์โมซาไม่มีความแตกต่างจากเสือลายเมฆบนแผ่นดินใหญ่[7][8] ทำให้เสือลายเมฆฟอร์โมซาในปัจจุบันไม่ถือเป็นชนิดย่อยต่างหากของเสือลายเมฆ[3]

ลักษณะ แก้

มีการอธิบายถึงเสือชนิดนี้ในปี 1862 โดยอาศัยหนังเสือที่มีส่วนหางไม่สมบูรณ์ ขนของมันมีสีซีดไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน มีลายคล้ายเมฆขนาดใหญ่ที่บริเวณไหล่และสีข้าง โดยมีแต้มเล็กน้อยบนลายเมฆดังกล่าว[1][9]

Robert Swinhoe เมื่อเขาได้อธิบายลักษณะเสือลายเมฆฟอร์โมซาเป็นครั้งแรกจากหนังเสือสี่ผืนที่เขาได้มา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงส่วนหางที่สั้น ซึ่งมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของตัวอย่างเสือลายเมฆจากหิมาลัย[1] เสือลายเมฆฟอร์โมซาเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของไต้หวันรองจากหมีดำฟอร์โมซา[4]

ความพยายามครั้งสุดท้าย แก้

 
ตัวอย่างที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

ในการสัมภาษณ์ที่มีขึ้นเมื่อปี 1986 ซึ่งสัมภาษณ์นายพรานพื้นเมืองชาวไต้หวัน 70 คน ได้เปิดเผยว่าพวกเขาเห็นเสือลายเมฆฟอร์โมซาเป็นครั้งสุดท้ายที่ภูเขาต้าอู่เมื่อปี 1983[10] ในปี 1989 พบหนังเสือในบริเวณของอุทยานแห่งชาติ Tarako ซึ่งเป็นบันทึกสุดท้ายที่ได้รับการยืนยัน[11] ในช่วงปี 1990 มีรายงานว่าพบรอยตีนใกล้กับอุทยานแห่งชาติ Yushan ซึ่งเป็นที่สงสัยและไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นเสือชนิดนี้[12][13]

มีการคาดการณ์ว่าเสือชนิดนี้ได้ล่าถอยไปยังเทือกเขาอวี้และภูเขาต้าอู่หลังจากที่มีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวางในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน ปัจจุบันนี้พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติเขาต้าอู่ ที่แผ่ขยายทั่วพื้นที่ประมาณ 480 km2 (190 sq mi) เป็นแหล่งสำหรับผืนป่าดั้งเดิมของไต้หวันตอนล่าง และประกอบด้วยป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ตลอดจนป่าเขตอบอุ่นมีไม้ใบกว้างแบบผสม (temperate broadleaf and mixed forest) และป่าสนเขตอบอุ่น (temperate coniferous forest)[4]

ระหว่างปี ค.ศ. 1997 และ 2012 มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพกว่า 1,450 จุดทั่วไต้หวัน ในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมพอที่จะเป็นแหล่งที่อยู่ของเสือชนิดนี้ ตั้งแต่พื้นที่ชายทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 3,796 m (12,454 ft), ในพื้นที่ราบลุ่มที่ถูกแบ่งเป็นผืนเล็ก ๆ ไปจนถึงพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครอง[5] การสำรวจนี้รวมไปถึง 13,000 คืนที่กล้องทำงานรวมกันตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2004 บนพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติเขาต้าอู่และ Twin Ghost Lake Important Wildlife Area[4] ระหว่างการบันทึกภาพตอนกลางวันรวม 128,349 วัน พบสัตว์ที่มีศักยภาพพอจะเป็นเหยื่อเสือลายเมฆฟอร์โมซา 12 ชนิด ได้แก่ กวางป่า (Rusa unicolor), เลียงผาฟอร์โมซา (Capricornis swinhoei), เก้งจีน (Muntiacus reevesi), ลิงมาคากฟอร์โมซา (Macaca cyclopis), ไก่ฟ้าสีฟ้าไต้หวัน (Lophura swinhoii) และสัตว์ฟันแทะ แต่กระนั้นก็ไม่พบเสือลายเมฆฟอร์โมซาเลยแม้แต่ตัวเดียว จึงคาดกันว่าเสือชนิดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว[5]

จากการอาศัยระดับการพบเจอสัมพัทธ์ของเสือลายเมฆฟอร์โมซาที่ยังมีชีวิตแม้กระทั่งตอนที่ยังมีพวกมันหลงเหลืออยู่ เกิดสมมติฐานภายในแวดวงของนักวิจัยว่าเสือลายเมฆฟอร์โมซาไม่เคยมีอยู่จริง และหนังเสือที่กลุ่มสังคมพื้นเมืองใช้กันเป็นประจำน่าจะเป็นของเสือลายเมฆซุนดา ซึ่งมีการค้าขายระหว่างหมู่เกาะซุนดา, จีน, และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางนัก เนื่องจากมีบันทึกของเสือลายเมฆฟอร์โมซาบนเกาะซุนดาอยู่จำนวนหนึ่ง มีการรายงานว่าเสือลายเมฆฟอร์โมซา 24 ตัวถูกยิงระหว่างการเข้ายึดครองไต้หวันของกองกำลังญี่ปุ่นในปี 1933[14]

อ้างว่าพบเห็น แก้

ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2018 กลุ่มนายพรานสองกลุ่มให้การว่าพบเห็นเสือลายเมฆฟอร์โมซาในเทศมณฑลไถตง กลุมหนึ่งยืนยันว่าพบเห็นหนึ่งตัวขณะกำลังปีนต้นไม้และล่าแพะบนหน้าผา อีกกลุ่มแย้งว่าได้พบเห็นเสือชนิดนี้วิ่งผ่านสกู๊ตเตอร์จากถนนปีนขึ้นต้นไม้ไป[15][16]

ในวัฒนธรรม แก้

 
ชายชาวพื้นเมืองไต้หวัน (ระบุว่าเป็นชาว Rukai 魯凱族) สวมขนของเสือลายเมฆ ภายถ่ายโดยนักมานุษยวิทยาชาวญี่ปุ่น Torii Ryūzō ไม่ปรากฏวันที่ถ่าย แต่คาดว่าเป็นประมาณปี 1900 ขณะที่เขาอยู่ในไต้หวัน

วัฒนธรรมชาว Rukai แสดงความนับถือเสือลายเมฆฟอร์โมซาอย่างมาก โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษเดินตามเสือลายเมฆไปที่ดินแดนบรรพชน[17] ถือว่าการล่าเสือลายเมฆเป็นสิ่งต้องห้าม[18] ในวัฒนธรรม Paiwan เฉพาะชนชั้นนำเท่านั้นที่มีสิทธิ์สวมใส่หนังเสือลายเมฆ[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Swinhoe, R. (1862). "On the Mammals of the Island of Formosa". Proceedings of the Zoological Society of London: 348–365.
  2. 2.0 2.1 Gray, T.; Borah, J.; Coudrat, C.N.Z.; Ghimirey, Y.; Giordano, A.; Greenspan, E.; Petersen, W.; Rostro-García, S.; Shariff, M.; Wai-Ming, W. (2021). "Neofelis nebulosa". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T14519A198843258. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T14519A198843258.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  3. 3.0 3.1 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z. & Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 64.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Chiang, P.-J. (2007). Ecology and Conservation of the Formosan clouded leopard, its prey, and other sympatric carnivores in southern Taiwan (PDF) (PhD). Blacksburg, Virginia: Virginia Polytechnic Institute and State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.
  5. 5.0 5.1 5.2 Chiang, P. J.; Pei, K. J. C.; Vaughan, M. R.; Li, C. F.; Chen, M. T.; Liu, J. N.; Lin, C. Y.; Lin, L. K.; Lai, Y. C. (2015). "Is the clouded leopard Neofelis nebulosa extinct in Taiwan, and could it be reintroduced? An assessment of prey and habitat". Oryx. 49 (2): 261–269. doi:10.1017/S003060531300063X.
  6. Griffith, E. (1821). "The Chinese, or tortoiseshell Tiger. Felis nebulosa". General and particular descriptions of the vertebrated animals arranged comfortably to the modern discoveries and improvements in zoology. London: Baldwin, Cradock & Joy. p. 37.
  7. Buckley-Beason, V. A.; Johnson, W. E.; Nash, W. G.; Stanyon, R.; Menninger, J. C.; Driscoll, C. A.; Howard, J.; Bush, M.; Page, J. E.; Roelke, M. E.; Stone, G.; Martelli, P. P.; Wen, C.; Ling, L.; Duraisingam, R. K.; Lam, P. V. & O'Brien, S. J. (2006). "Molecular evidence for species-level distinctions in clouded leopards". Current Biology. 16 (23): 2371–2376. doi:10.1016/j.cub.2006.08.066. PMC 5618441. PMID 17141620.
  8. Kitchener, A. C.; Beaumont, M. A. & Richardson, D. (2006). "Geographical variation in the clouded leopard, Neofelis nebulosa, reveals two species". Current Biology. 16 (23): 2377–2383. doi:10.1016/j.cub.2006.10.066. PMID 17141621. S2CID 6838593.
  9. Kitchener, A. C.; Beaumont, M. A.; Richardson, D. (2006). "Geographical Variation in the Clouded Leopard, Neofelis nebulosa, Reveals Two Species". Current Biology. 16 (23): 2377–2383. doi:10.1016/j.cub.2006.10.066. PMID 17141621. S2CID 6838593.
  10. Rabinowitz, A. (1988). "The clouded leopard in Taiwan". Oryx. 22 (1): 46–47. doi:10.1017/S003060530002740X.
  11. Anonymous (1996). "The mystery of the Formosan clouded leopard". Cat News (24): 16.
  12. Lue, K. Y.; Chang, W. S.; Hwa, B. Z. (1992). The Faunal Investigation on Yu-Li Wildlife Nature Reserve. Report 79-02. Taipei: Taiwan Forest Bureau Conservation and Research.
  13. Wang, Y.; Chen, Y.; Lai, C. (1996). Wildlife population study and monitor at Nan-Tzy-Shian River watershed area. Taipei: Conservation and Planning Administration, Ministry of Interior, Taiwan.
  14. "Taiwan's Formosan clouded leopard – can it claw its way back?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  15. Everington, K. (2019). "'Extinct' Formosan clouded leopard spotted in E. Taiwan". Taiwan News.
  16. Hoffner, E. (2019). "Taiwan: Extinct leopard subspecies allegedly seen by rangers". Mongabay. สืบค้นเมื่อ 2019-03-04.
  17. "Rukai Mythology" (ภาษาจีน). Ministry of Culture, ROC. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
  18. Pei, K. (1999). Hunting System of the Rukai Tribe in Taiwan, Republic of China. Proceedings of the International Union of Game Biologists XXIV Congress. Thessaloniki, Greece.
  19. "追尋雲豹的腳蹤". Our Island (ภาษาจีน). Vol. 250. Public Television Service. 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้