เสนาะ เทียนทอง (เกิด: 1 เมษายน พ.ศ. 2477) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตหัวหน้าพรรคประชาราช ผู้นำ ส.ส.กลุ่มวังน้ำเย็น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเสนาะมีชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "ป๋าเหนาะ"

เสนาะ เทียนทอง
เสนาะ ใน พ.ศ. 2561
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าบรรหาร ศิลปอาชา
ถัดไปสนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าอาทิตย์ อุไรรัตน์
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เลขาธิการพรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ผู้นำบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าบรรหาร ศิลปอาชา
ถัดไปปองพล อดิเรกสาร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2477 (90 ปี)
จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2518–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2543)
ไทยรักไทย (2543–2549)
ประชาราช (2549–2554)
เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอุไรวรรณ เทียนทอง

นายเสนาะ ได้รับฉายาหลายฉายา เช่น "เจ้าพ่อวังน้ำเย็น" และ "ผู้จัดการรัฐบาล" มีบทบาทสนับสนุน หัวหน้าพรรคการเมืองขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี ถึง 3 คน คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ ทักษิณ ชินวัตร

ในสมัยที่นายเสนาะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี นายเสนาะเป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ยาม้า" ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศไทย เป็น "ยาบ้า" และยังคงใช้เป็นชื่อเรียกยาเสพติด ชนิดนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

นายเสนาะ เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่จังหวัดสระแก้ว (จังหวัดปราจีนบุรีในขณะนั้น) จบการศึกษาขั้นสูงสุดระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม สมรสครั้งแรกกับ จิตรา โตศักดิ์สิทธิ์ มีบุตร 3 คน ได้แก่

ต่อมา เสนาะสมรสครั้งที่สอง กับนางอุไรวรรณ เทียนทอง มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ

นอกจากนี้นายเสนาะมีน้องชายคนสุดท้องคือ นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ที่มีบุตรคือ ฐานิสร์ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

บทบาททางการเมือง

นายเสนาะ เทียนทอง เริ่มงานการเมืองครั้งแรกกับพรรคชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2518 และลงสมัคร ส.ส.ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ปราจีนบุรี และสระแก้ว (เมื่อ สระแก้ว แยกออกมาเป็นจังหวัดใหม่) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2531[1] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2535[2] ต่อมานายเสนาะเริ่มมีบทบาทในพรรคมากขึ้น ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติไทย ขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมานายบรรหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2538 และนายเสนาะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายเสนาะ ลาออกจากพรรคชาติไทย เมื่อ พ.ศ. 2539 หลังจากนายบรรหาร ศิลปอาชา ประกาศยุบสภา เข้าร่วมพรรคความหวังใหม่ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ส่งให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายเสนาะได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3]

ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นายเสนาะ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้ พตท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดยให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลในโควตากลุ่มวังน้ำเย็น ในระยะหลัง นายเสนาะถูกลดบทบาทความสำคัญในพรรค จนกระทั่งในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 นายเสนาะได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างรุนแรง[4][5]

นายเสนาะลาออกจากพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 หลังจากที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา และได้ขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อปราศรัยหลายครั้ง จากนั้นนายเสนาะได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า พรรคประชาราช โดยในช่วงแรกของการตั้งพรรคนั้น นายเสนาะจะเป็นหัวหน้าพรรค โดยนโยบายหลักของพรรคที่ประกาศคือ เพื่อปฏิรูปการเมือง และล้มล้างระบอบทักษิณ พรรคประชาราช ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 แต่ได้ ส.ส.เพียง 5 คน อย่างไรก็ตามในการจัดตั้งรัฐบาล นายเสนาะได้นำพรรคประชาราชเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน และนางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ต่อมาภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรค นายเสนาะและพรรคประชาราชไม่ได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ จึงดำรงสถานะเป็นฝ่ายค้านร่วมกับพรรคเพื่อไทยจนกระทั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาในปี พ.ศ. 2554

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และสมาชิกพรรคจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางมาเชิญนายเสนาะเข้าร่วมพรรคเพื่อไทย โดยนายเสนาะได้ตอบรับ[6] และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4 พรรคเพื่อไทย ภายหลังในการจัดตั้งรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานชาย ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 7[7]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 5[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 ในวันเกิดครบรอบ 89 ปี เสนาะประกาศวางมือทางการเมือง [9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคชาติไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสระแก้ว สังกัด พรรคความหวังใหม่
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคไทยรักไทย
  11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคไทยรักไทย
  12. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัด พรรคประชาราช
  13. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคเพื่อไทย


การยึดทรัพย์

ในการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ปรากฏว่านายเสนาะ เป็น 1 ใน 10 นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ในครั้งนี้จำนวนกว่า 62.68 ล้านบาท [10][11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. รู้ทันทักษิณ 4 ฅนวงใน The Insiders. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ขอคิดด้วยคน, 2549. 130 หน้า. ISBN 9789749416457 ฉบับออนไลน์
  5. ""รู้ทันทักษิณ" จับผิดเสนาะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  6. เสนาะสวมเสื้อเป็นสมาชิกเพื่อไทยแล้ว
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  8. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  9. "เทียนทองเสี่ยง 'เสนาะ' ชนบิ๊กบราเธอร์ 'ขวัญเรือน' สู้สายบู๊". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-04-04.
  10. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  11. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๗๗๘, ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓
  15. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๓ จากเว็บไชต์ thaiscouts

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า เสนาะ เทียนทอง ถัดไป
อาทิตย์ อุไรรัตน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
  มนตรี พงษ์พานิช