เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ด้านเรื่องสั้น นวนิยาย และกวีนิพนธ์ และอาจารย์ม.ธรรมศาสตร์

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์[1] อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นักเขียน "รางวัลศรีบูรพา" ในปี พ.ศ. 2546 เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังได้รับรางวัล "ศิษย์เก่าดีเด่นของคณะรัฐศาสตร์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในปี พ.ศ. 2552
เกิด28 มีนาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีชื่อเสียงจากอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
คู่สมรสจิระนันท์ พิตรปรีชา
บุตร2 คน

ประวัติ แก้

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล สมรสกับจิระนันท์ พิตรปรีชา (อดีต ภรรยา)[2] ปัจจุบันทั้ง 2 ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ความรักของคนทั้งสองเกิดขึ้นระหว่างการปราศรัยทางการเมืองในช่วง ตุลาคม มีบุตรชาย 2 คนคือ แทนไท ประเสริฐกุล(บุตรชายคนแรก) และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล(บุตรคนสุดท้อง)

เสกสรรค์ จบมัธยมปลายจากโรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2510 แล้วสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทุนอเมริกันฟีลด์เซอร์วิสไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมและอยู่ร่วมกับครอบครัวอเมริกัน โดยหลังจากนั้น 1 ปี ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2511 และศึกษาต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นเดียวกับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ) และเป็นผู้นำนักศึกษาในการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ก็ได้รับการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในปี พ.ศ. 2526[3] หลังจากนั้นเสกสรรค์ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยเพื่อทำงานวิจัยต่อในการศึกษาระดับปริญญาเอก และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2530[4]

การทำงานและผลงาน แก้

การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ แก้

ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [7]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง แก้

ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เป็นหนึ่งในแกนนำของนักศึกษาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลลาออก โดยในการเดินขบวน เสกสรรค์รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมฝูงชน เมื่อแกนนำของผู้ชุมนุมได้เข้าเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เสกสรรค์เป็นผู้ควบคุมฝูงชนรอคำตอบอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จนกระทั่งถึงเวลาค่ำ ซึ่งนับว่าผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว ก็ยังไม่ทราบผลการเจรจา เมื่อเข้ากลางดึก ฝูงชนก็เริ่มกระสับกระส่าย และเริ่มไม่ไว้ใจกันเอง บ้างถึงขนาดว่าแกนนำเหล่านั้นหักหลังพวกเดียวกันเองเสียแล้ว เสกสรรค์ก็ได้ตัดสินใจโดยพลการ นำพาฝูงชนเคลื่อนสู่หน้าพระตำหนัก ฯ เพื่อขอพึ่งพระบารมี และถึงแม้ว่าจะได้พบกับ ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมอีกคนที่ได้เข้าเฝ้า ฯ ทั้ง 2 ได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน และขอให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมโดยสงบ แต่ถึงขณะนั้นอารมณ์ของผู้ชุมนุมก็ไม่อาจควบคุมความสงบไว้ได้แล้ว จนนำไปสู่การนองเลือดในรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ เสกสรรค์และจิระนันท์ พิตรปรีชา ซึ่งเป็นคู่รักกันก็ได้หลบหนีเข้าป่า เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และเดินทางกลับเข้าเมืองและได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]

เกียรติยศแห่งการเชิดชูเกียรติ แก้

ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ[9] สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ ประจำปี พุทธศักราช 2552 ในปี พ.ศ. 2552 โดยในปีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปีที่มีการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติจากคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ละเอียดที่สุด[10] เนื่องจากมีผู้ที่เข้าเกณฑ์การได้รับคัดเลือกและได้มีการเสนอชื่อผู้ควรได้รับการเชิดชูเกียรติจำนวนมาก โดยศิลปินแห่งชาติทั้ง 9 ท่านในศิลปะในทุกสาขาและได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ. พ.ศ. 2553 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ผลงานบางส่วน แก้

ผลงานเกียรติยศเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ แก้

  • "ฤดูกาล (หนังสือ)" : เรื่องสั้นเรื่องแรก เขียนในป่า พิมพ์ครั้งที่ 1. จำนวน 126 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, มีนาคม 2555. ISBN 9789749748992.[11]
  • "ฟองเวลา" : กาพย์กลอนและคำรำพึง พิมพ์ครั้งที่ 2. จำนวน 96 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, สนพ. 2540. ISBN 9749748344.[12]
  • "ดอกไผ่"  : เรื่องสั้น ละครชีวิตบนเวทีกระดาษ จำนวน 127 หน้า, กรุงเทพฯ : สามัญชน, มีนาคม 2555. ISBN 9786167474021. [13] [14]

ผลงานคัดสรรจากหน้าหนังสือพิมพ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชีวประวัติเสกสรรค์
  2. ชีวิตคู่เสกสรรค์[ลิงก์เสีย]
  3. ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
  4. เสกสรรค์กลับมาศึกษาต่อปริญญาเอกในประเทศไทย
  5. รางวัลวิจัยปรีดี พนมยงค์ คนแรก จากมูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  6. IMDb, 14 tula, songkram prachachon, The Internet Movie Database
  7. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  8. ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
  9. ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พุทธศักราช 2552 โดยได้รับการประกาศรายชื่อการเชิดชูเกียรติในฐานะ 1 ใน 9 ของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2552
  10. ประกาศผลแล้ว"เสกสรรค์-ปรีชา-มัณฑนา" เป็นศิลปินแห่งชาติปี 52 ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2553
  11. "เรื่องสั้นเรื่องแรก เขียนในป่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-21. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
  12. กาพย์กลอนและคำรำพึง
  13. ละครชีวิตบนเวทีกระดาษ[ลิงก์เสีย]
  14. "ดอกไผ่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
  15. การผ่านพ้นของยุคสมัย (อ้างอิง1), สำนักพิมพ์สามัญชน
  16. การผ่านพ้นของยุคสมัย(อ้างอิง2), สำนักพิมพ์สามัญชน
  17. ผู้ชายที่กำลังสูญพันธุ์
  18. จลาจลทางปัญญา[ลิงก์เสีย]
  19. ถ้าหากไม่มีวันนั้น
  20. จากหนังสือพิมพ์เล่ม 4
  21. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หน้า ๑๔๕

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้