ว็บ 2.0 (อังกฤษ: Web 2.0) มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-centered design) และ การร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการของเว็บ 2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม หรือดูเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจ สำหรับตัวอย่างของเว็บ 2.0 ได้แก่ บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ สารานุกรมเสรี วิดีโอแชริง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ แมชอัพส์ และ โฟล์คโซโนมี

แท็กคลาวด์ แสดงผลของเว็บ 2.0

คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม โอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547[1][2] คำว่า "เว็บ 2.0" นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัวเว็บ 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด แต่เป็นคำที่กล่าวถึงลักษณะโดยรวมที่ผู้พัฒนาเว็บเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบเว็บไซต์ และผู้ใช้ปลายทางเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้งานเว็บ ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้เริ่มแนวความคิด และสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของเว็บ 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า "เว็บ 2.0" จะถูกนำมาเรียกใช้ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของเบอร์เนิร์ส ลี คือการสร้างสื่อที่เอื้อต่อการร่วมสรรค์สร้างของผู้ใช้งาน เป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่รับ แต่สามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้วย[3][4]

นิยาม แก้

WEB 2.0 นั้นมีคำจำกัดความหลายอย่าง ทิม โอไรล์ลีย์ ได้กล่าวไว้ว่าเว็บ 2.0 เปรียบเหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมีลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกัน ภายใต้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวม โอไรล์ลีย์ ได้แสดงตัวอย่างของระดับของเว็บ 2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้

  • ระดับ 3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย สไกป์ อีเบย์ เครกส์ลิสต์
  • ระดับ 2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่งโอไรลลีย์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ ฟลิคเกอร์ เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
  • ระดับ 1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ไรต์รีย์ (ปัจจุบันคือ กูเกิลดอคส์) และ ไอทูนส์
  • ระดับ 0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น แมปเควสต์ และ กูเกิล แมปส์

ซึ่งแอปพลิเคชันหลายตัวที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอย่าง อีเมล เมสเซนเจอร์ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในลักษณะของเว็บ 2.0 แต่อย่างใด[5]

โดยลักษณะที่เด่นชัดของเว็บ 2.0 นั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว โดยรวมไปถึงการรวดเร็ว และการง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งบล็อกและเว็บที่ให้บริการอัปโหลดภาพถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างของเว็บ 2.0 ที่ให้เห็นได้ทั่วไป ที่มีการให้บริการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการใช้งานที่ง่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด เห็นได้ว่าลักษณะของเว็บ 2.0 นั้นก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหา ที่รวดเร็ว และมีการแบ่งปันข้อมูลที่ง่ายขึ้น โดยลักษณะของเว็บเปลี่ยนจากทางเน้นหนักทางด้านเทคนิค ไปในด้านข้อมูลข่าวสารแทนที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านธุรกิจต่อมา[6]

ลักษณะ และเทคโนโลยีที่แสดงถึงเว็บ 2.0 แก้

เว็บ 2.0 ส่วนใหญ่ จะมีลักษณะและคุณสมบัติ ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดดังนี้ :

  • Search

หาข้อมูลจากคีย์เวิร์ด

  • Links

โยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์อื่น

  • Authoring

สามารถสร้างหรือแก้ไขข้อมูลร่วมกันได้ ในวิกิผู้ใช้สามารถ เพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูล ในบล็อกผู้ใช้สามารถโพสต์คอมเมนต์ได้

  • Tags

จัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูลโดยใช้แท็ก - คำสั้นๆ ใช้อธิบายว่าข้อมูลนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

  • Extension

ส่วนเสริมสำหรับเว็บแอปพลิเคชัน รวมถึงซอฟต์แวร์จำพวก อะโดบี รีดเดอร์ แฟลช ไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลต์ แอ็กทีฟเอ็กซ์ จาวา ควิตไทม์ และอื่นๆ

  • Signals

เทคโนโลยีที่แจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา เช่น RSS Atom เป็นต้น

เว็บ 3.0 แก้

หลังจากที่มีความนิยมในคำว่า "เว็บ 2.0" ได้มีการนิยามหลากหลายของคำว่า "เว็บ 3.0" ออกมากล่าวถึงเทคโนโลยีในอนาคตที่ยังไม่มี อย่างไรก็ตามไม่มีการนิยามคำว่าเว็บ 3.0 และไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนคำว่า เว็บ 2.0

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Graham, Paul (November 2005). "Web 2.0". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 2006-08-02. I first heard the phrase 'Web 2.0' in the name of the Web 2.0 conference in 2004.
  2. O'Reilly, Tim (2005-09-30). "What Is Web 2.0". O'Reilly Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2006-08-06.
  3. "DeveloperWorks Interviews: Tim Berners-Lee". IBM. 2006-07-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-21. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
  4. Nate Anderson (2006-09-01). "Tim Berners-Lee on Web 2.0: "nobody even knows what it means"". arstechnica.com. สืบค้นเมื่อ 2006-09-05.
  5. Tim O'Reilly (July 17, 2006). "Levels of the Game: The Hierarchy of Web 2.0 Applications". O'Reilly radar. สืบค้นเมื่อ August 8, 2006.
  6. Barnwal, Rajesh (2007-01-21). "Web 2.0 is all about understanding the economic value of social interaction". AlooTechie. สืบค้นเมื่อ 2008-02-23.

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้