เล่าฮอง (อังกฤษ: Liu Feng; จีนตัวย่อ: 刘封; จีนตัวเต็ม: 劉封) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลของจ๊กก๊ก เป็นบุตรบุญธรรมของเล่าปี่

เล่าฮอง
ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก
เกิดพ.ศ. 735
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 763
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม劉封
อักษรจีนตัวย่อ刘封
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

เล่าฮองเดิมชื่อเค้าฮอง หลานเล่าปิด ลูกของเค้าล่อ ต่อมาเล่าปี่รับเป็นบุตรบุญธรรม หลังจากที่เล่าปี่ปราบกบฏเตียวบูกับตันสูน ตามคำขอของเล่าเปียวได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเล่าฮอง กวนอูไม่ค่อยพอใจนักกับการที่เล่าปี่รับเล่าฮอง มาเป็นลูกบุญธรรม กวนอูกล่าวกับเล่าปี่ว่า"บุตรท่านก็มีอยู่ เหตุไฉนจึงจะเอาผู้อื่นมาเป็นเนื้อ เหมือนหนึ่งเลี้ยงลูกปูลูกหอย นานไปจะได้รับความเดือดร้อน" เล่าปี่จึงว่า "ถึงผู้อื่นนอกเนื้อก็จริง แต่เรารักใคร่เสมอบุตร ได้เอามาเลี้ยงไว้ก็จะมีกตัญญูรักใคร่ เห็นจะไม่คิดร้ายต่อเรา" กวนอูได้ฟังดังนั้นก็ขัดใจนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด และเมื่อเล่าปี่ตีเอาเมืองซงหยงได้ เล่าปี่จึงให้เล่าฮองปกครองเมืองซงหยงอยู่กับเบ้งตัด อดีตขุนนางในของเล่าเจี้ยงที่เล่าปี่ไปยึดเมืองมา

เมื่อครั้งเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึดในปี พ.ศ. 762 ด้วยแผนของลิบอง ซึ่งขณะเดียวกันกวนอูกำลังเข้าตาจนอยู่ที่เมืองเป๊กเสีย จึงสั่งให้เลียวฮัวไปขอความช่วยเหลือจากเล่าฮองและเบ้งตัด แต่ได้รับการปฏิเสธจาก ทั้งคู่เนื่องจากเบ้งตัดยุยง ให้เล่าฮองไม่ส่งกองทัพไปช่วย ด้วยการกล่าวทำนองว่า "ท่านคิดถึงกวนอูเป็นอา กลัวแต่ว่ากวนอูจะหาคิดว่าท่านเป็นหลานไม่ เมื่อก่อนพระเจ้าเล่าปี่เอาท่านมาเป็นบุตรเลี้ยง กวนอูมีความริษยา หาความสบายใจไม่ ครั้นเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋อง ได้ปรึกษาขงเบ้งว่า เราจะตั้งเล่าฮองบุตรเลี้ยงของเราให้เป็นเจ้า ต่างกรมดีหรือไม่ ขงเบ้งจึงขอให้เล่าปี่ไปปรึกษากวนอูกับเตียวหุย กวนอูทราบเรื่องก็ตอบว่าเล่าฮองนี้เป็นคนเขลา โง่เง่าหาชาติตระกูลมิได้" แล้วก็พูดด้วยถ้อยความแทงใจดำต่าง ๆ นา ๆ เล่าฮองเห็นด้วยกับความคิดเบ้งตัดจึง ไม่ส่งทหารไปช่วย กวนอูจึงจบชีวิตลงหลังจากตีฝ่าทหารซุนกวนไม่สำเร็จในปีเดียวกัน

ต่อมาเบ้งตัดสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊ก (ขณะนั้นอยู่ในความปกครองของโจผี) เพราะทราบว่าเล่าปี่จะส่งทหารไปลอบสังหารเบ้งตัดเนื่องจากมีส่วนทำให้กวนอูสิ้นชีวิต พระเจ้าเล่าปี่โกรธมากจึงให้เล่าฮองยกทัพปราบเบ้งต้ด แต่รบแพ้กลับมา จึงถูกเล่าปี่ สั่งประหารชีวิต ในปี พ.ศ. 763 เมื่ออายุได้ 28 ปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้