เล่ห์กลกับความรัก

เล่ห์กลกับความรัก (เยอรมัน: Kabale und Liebe "คาบาเลอ อุนด์ ลีเบอ") เป็นนาฏกรรมเยอรมันที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนเยอรมัน นามว่า ฟรีดริช ชิลเลอร์ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรักระหว่างลูกขุนนางแฟรดีนันท์ ฟอน วัลเทอร์ (Ferdinand von Walter) และลูกนักดนตรี ลูอีเซอ มิลเลอร์ (Luise Miller) ที่ถูกเล่ห์กลของพ่อแม่ทำลาย นาฏกรรมชิ้นนี้เป็นวรรณกรรมแบบอย่าง ซึ่งมักจะเป็นนาฏกรรมที่นำมาศึกษาตามโรงเรียนเยอรมัน[1]

เล่ห์กลกับความรัก
คาบาเลอ อุนด์ ลีเบอ  
ผู้ประพันธ์ฟรีดริช ชิลเลอร์
ชื่อเรื่องต้นฉบับKabale und Liebe
ผู้วาดภาพประกอบฟรีดริช ชิลเลอร์
ภาษาภาษาเยอรมัน
ประเภทSturm und Drang
สำนักพิมพ์Reclam
วันที่พิมพ์13 เมษายน ค.ศ. 1784
ISBN3-15-000033-5

เบื้องหลัง แก้

ในปี ค.ศ. 1784 นักประพันธ์เผยแพร่ทฤษฎีการใช้เวทีในฐานะเป็นโรงเรียนศิลธรรม (Die Schaubühne als eine moralische Anstalt betrachtet) นักประพันธ์เชื่อว่า เวลาผู้ชมดูละคร จะอินเข้าไปในละคร จะเอาใจเราไปใส่ใจเขาได้ รับรู้ความรู้สึกที่พระเอกได้รับ ฉะนั้นจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการสื่อปัญหาทางศิลธรรมให้เห็น นักประพันธ์ยังเชื่ออีกว่า เวทีเป็นสถานที่ ที่พระเจ้าคืนความยุติธรรมให้แก่มนุษย์ ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมในชีวิตจริง ด้วยเหตุนี้จะทำให้ละครมีความเชื่อถือและมองว่ามีความยุติธรรม ละครบนเวทีจึงสถานที่ ที่มีเสรีภาพในการสอน โดยมากกรณีต้องโทษไม่ได้ จึงสามารถทำหน้าที่สื่อเสรีภาพและหน้าที่ต่อสังคมได้ดี นักประพันธ์ต้องการให้ผู้ชมออกจากการบังคับที่เกิดจากกฎทางศาสนา ทางศิลธรรม หรือทางสังคม ให้มองว่ามนุษย์มีความเป็นตัวของตนเอง ในขณะที่กฎเป็นสิ่งที่เสถียรและเอากฎแก้ทุกปัญหาไม่ได้

เล่ห์กลกับความรัก นาฏกรรม ซึ่งมีความคล้ายเคียงกับนาฏกรรมของเลสซิ้ง (Lessing) มาก ในละครนี้ชิลเลอร์แต่งละครโดยไม่เอาชีวิตขุนนางหรือพระราชาในวังเป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งในสมัยนั้นไม่ค่อยพบละครอย่างนี้ จึงเรียกความสนใจจากประชาชนได้มากขึ้นและชี้แนะความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขุนนางกับชนชั้นกลางได้ดี เนื่องจากชิลเลอร์ซึ่งแต่งงานกับ Charlotte von Wolzogen ซึ่งพี่สาวมีเชื่อสายพระวงศ์ รู้ปัญหาเหล่านี้ จึงบอกผ่านละครให้ประชาชนรับรู้ ชี้แนะความขัดแย้งระหว่างชนชั้นขุนนางและชนชั้นกลางให้เห็น

เดือนกันยายน ค.ศ. 1782 ชิลเลอร์หนีไปยังมันไฮม์ (Mannheim) หลังจากที่โดนกักบริเวณ เนื่องจากออกนอกแคว้นเวือร์ทเทิมแบร์ค (Württemberg) ไปชมการแสดงครั้งแรกของ Die Räuber ซึ่งเป็นละครของเขาเช่นกัน โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากแคว้น จึงโดนทำโทษกักบริเวณและโดนห้ามเขียน ด้วยเหตุนี้ในละครจึงสามารถพบข้อบกพร่องของสังคม ที่ชิลเลอร์ต้องการสื่อให้ผู้ชมเห็นด้วย อย่างเช่น

  • การใช้เงินฟุ่มเฟือย แคว้นเวือร์ทเทิมแบร์ค (Württemberg) เป็นแคว้นที่ในขณะนั้นจน ทั้งๆที่สถานภาพการเงินแย่ก็ยังทำกิจกรรมเลียนแบบไวแซร (Versaille) เช่นจัดงานเลี้ยง จัดงานเต้นรำ จัดงานล่าสัตว์ ฯลฯ ซึ่งผลาญเงินไปจำนวนมาก โดยให้ประชาชนต้องมารับภาระนี้แทน
  • การขายทหาร เนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงขายทหารให้แก่อเมริกา โดยใช้กำลังหรือวางยาจับประชากร เช่นชาวนา ขายให้แก่เจ้านายต่างชาติ
  • ระบบพระสนม เนื่องจากเจ้าแคว้นมีพระสนมมากมาย จึงให้ผู้ชมเห็นชีวิตประจำวันของการเป็นพระสนม
  • เล่ห์เพทุบาย ในขณะที่ชิลเลอร์อยู่ที่แคว้นเวือร์ทเทิมแบร์คเห็นผู้ว่าการปลอมจดหมายเพื่อเล่นงานศัตรูและเพื่อรักษาตำแหน่งตัวเอง
  • การปกครองตามอำเภอใจ ชิลเลอร์เห็นนักข่าวที่ไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครอง โดนจับกุมโดยไร้เหตุผล

เนื้อเรื่อง แก้

แฟรดีนันท์ (Ferdinand)เป็นลูกขุนนางคนหนึ่ง ซึ่งหลงรักลูกสาวนักดนตรี ลูอีเซอ (Luise) ทั้งพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายต่างไม่เห็นด้วยที่สองคนรักกัน เนื่องจากพ่อของแฟรดีนันท์ต้องการให้ลูกชายแต่งงานกับเลดี้มิลฟอร์ด (Lady Milford) เพื่อขยายอิทธิพลในวัง แฟรดีนันท์เองไม่ยอมเชื่อฟังพ่อและชวนลูอีเซอหนี

เนื่องจากลูกชายไม่เชื่อฟัง พ่อของแฟรดีนันท์จึงวางแผน โดยให้จับพ่อแม่ของลูอีเซอและขู่ที่จะประหาร ลูอีเซอซึ่งมาขอให้ปล่อยพ่อแม่ ต้องเอาความรักที่มีต่อแฟรดีนันท์มาแลกกับชีวิตของพ่อแม่ เธอต้องเขียนจดหมายรักให้ผู้รักษาการในวัง ฟอน คาลบ์ (von Kalb) นอกจากนั้นยังต่อสาบานว่าจะต้องบอกว่าจดหมายนี้เขียนด้วยความสมัครใจของตนเอง

ต่อมาแฟนดินานได้รับจดหมายฉบับนี้ ซึ่งทำให้อิจฉามาก ลูอีเซอเองต้องการแสดงให้เห็นแฟรดีนันท์ว่า ความรักเธอหมั่นคง จึงจะฆ่าตัวตาย แต่พ่อของเธอมาห้ามเอาไว้ทัน โดยบอกว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาปมาก

ครั้นเธอถูกห้ามฆ่าตัวตาย เธอจึงต้องเผจญข้อกล่าวหาของแฟรดีนันท์ ซึ่งยังสันนิษฐานว่าลูอีเซอมีคนรักคนใหม่แล้ว แฟรดีนันท์ซึงโกรธมาก จึงวางยาพิษ เพื่อตายรวมกัน ในขณะที่พิษกำลังออกฤทธิ์ลูอีเซอเปิดเผยความลับและให้อภัยที่แฟรดีนันท์วางยา ก่อนตายแฟรดีนันท์พ่อของแฟรดีนันท์เข้ามาพบ ซึ่งแฟรดีนันท์ก็ยื่นมี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การให้อภัยเช่นกัน[2]

ตัวละครหลัก แก้

  • Präsident von Walter – ขุนนาง
  • Ferdinand – ลูกชายของฟอนวัลเทอร์
  • Hofmarschall von Kalb – ผู้รักษาการในวัง
  • Lady Milford –คนโปรดของพระราชา
  • Wurm – ที่ปรึกษาของวัลเทอร์
  • Miller – นักดนตรี
  • Luise – ลูกสาวของมิลเลอร์
  • Sophie – สาวรับใช้ของเลดี้มิลฟอร์ด

กลุ่มตัวละคร แก้

ชนชั้นกลาง แก้

นักดนตรี มิลเลอร์ มีฐานะในชนชั้นกลาง ซึ่งยึดระบบชนชั้นมาก จึงไม่ต้องการให้ลูกสาวแต่งงานกับลูกขุนนาง แต่ในขณะเดียวกันให้เสรีภาพแก่ลูกสาวมาก เช่น ให้ลูกสาวเลือกคนในชนชั้นได้ นอกจากนั้นมิลเลอร์มีความมั่นใจสูง เช่นขณะที่ฟอน วัลเทอร์มา ก็ไม่เกรงกลัว บอกว่าสังคมในชนชั้นขุนนางไม่ดี แย่กว่าชนชั้นกลางมาก แต่มิลเลอร์ก็ยังเห็นแก่เงินในบางส่วน จึงค่อนข้างสุภาพต่อแฟรดีนันท์

ภรรยามิลเลอร์ เป็นตัวอย่างของกลุ่มใหญ่ในชนชั้นกลาง ซึ่งเกรงกลัวต่อชนชั้นขุนนางมาก ฝันที่จะมีฐานะดีขึ้น เนื่องจากการแต่งงาน จึงสนับสนุนความรักของแฟรดีนันท์และลุอีเส

ลุอีเส อายุ 16 ปี เป็นสาวที่สวยมาก รักครอบครัวมาก นอกจากนั้นนับถือศาสนาคริสมาก มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อ เนื่องจากพ่อให้เสรีภาพมาก ลุอีเสไม่ค่อยชอบสังคมในวัง

วุรืม (แปลว่าไส้เดือน) ผู้ปรึกษาของฟอนวัลเทอร์ ทำทุกอย่างเพื่อเงินได้ เป็นคนที่ชอบฉวยโอกาส

ชนชั้นขุนนาง แก้

ฟอน วัลเทอร์ ข้ามศพประธานาธิบดีก่อนเพื่อครองตำแหน่งนี้ พยายามที่จะขยายอิทธิพล จึงต้องการให้ลูกชายแต่งกับ Lady Milford นอกจากนั้นยังมีความเห็นว่าการแต่งงาน เป็นเพียงแค่การขยายอำนาจเท่านั้น จึงไม่ต้องการให้ลูกชายแต่งกับลูกสาวชนชั้นกลาง แต่หลังจากการตายของลูกชายก็มองเห็นว่ามนุษย์ไม่ใช่เป็นหมากที่จับเดินได้ตามอำเภอใจ มีชีวิตจิตใจ จึงยอมสละตำแหน่งได้ยอมรับโทษ

แฟรดีนันท์ เป็นตัวอย่างของคนสมัย Sturm und Drang เติมไปด้วยความรู้สึก ไม่สนใจระบบชนชั้น มองมนุษย์ที่นิสัยใจคอ ไม่ใช่ที่ฐานะ จึงไม่ชอบระบบชนชั้นขุนนาง เนื่องจากเป็นคนที่รักสุดๆ จึงแค้นที่ลุอีเสปฏิเสธความรัก จึงยอมกอดคอกันตาย

เลดี้มิลฟอร์ด เป็นพระสนม ในละครนี้อยู่ระหว่าชนชั้นขุนนางและชนชั้นกลาง หนีมาจากอังกฤษและเนื่องจากสถานการณ์บังคับจึงตอบสนองความรักให้แก่พระราชา จึงเป็นพระสนม ในฐานะนี้เธอพยายามที่จะปรับปรุงระบบชนชั้นขุนนาง พยายามบอกให้พระราชาแก้ไข แต่ลึกๆในใจเธอแสวงหาความรักที่แท้จริง เธอพร้อมที่จะหนีไปกับแฟรดีนันท์ เพื่อไปสร้างชีวิตใหม่ แต่แฟรดีนันท์ไม่ตอบสนองเธอ แต่เธอก็พยายามที่จะบังคับ ใช้อำนาจของเธอบีบลุอีเส แต่ความรักลุอีเสมั่นคง เธอจึงไปต่างประเทศ เพื่อตัดทุกสิ่งทุกอย่าง เลดี้มิลฟอร์ดเป็นตัวอย่างที่ดีของคนที่เริ่มแรกไม่มีฐานะ ที่เต็มไปด้วยคุณธรรม หลงใหลในฐานะและเปลี่ยนไป ใช้อำนาจบีบบังคับผู้อื่น จนตัวเองไปส่วนของชนชั้นขุนนางไป

การใช้ภาษา แก้

ชิลเลอร์ใช้ภาษาระดับสูง วาทศิลป์ และ การกล่าวเกินความเป็นจริง นิยามสังคมชนชั้นขุนนางที่เย็นและเยาะเย้ยอุดมคิตของมนุษย์ จะเห็นได้ว่ามีภาษาฝรั่งเศสมาแทรกบางส่วน เพื่อให้ผู้ชมเห็นว่าการสนทนานั้นไร้สาระ เพียงแต่มีเปลือกนอกเท่านั้น ส่วนวาจาของฟอนวัลเทอร์มีลักษณะ โอ้อวด และหยิ่ง ส่วนลูกน้องใช้ภาษาที่โอ้อวดและหยิ่งน้อยกว่า แต่ก็ยังเรียกได้ว่านายว่าขี้ข้าพลอย

ชิลเลอร์ใช้ภาษาแยกแยะชนชั้น โดยให้ชนชั้นกลางใช้ภาษาง่ายๆ อย่างเช่น "ฉันแดกจนอิ่มแล้ว" (Ich hab mich satt gefressen) เช่นเดียวกับภรรยามิลเลอร์ ที่ใช้คำทับศัพท์ผิด ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของคนชนชั้นกลาง ส่วนเลดี้มิลฟอร์ดจะใช้ภาษาทั่วไปจึงเข้าใจได้ว่าเธออยู่ระหว่างสองชนชั้น

ภาพยนตร์ แก้

นำมาทำเป็นภาพยนตร์ดังนี้

  • 2009, Kabale und Liebe โดย Andreas Kriegenburg
  • 2005, Kabale und Liebe โดย Leander Haußmann
  • 1980, Kabale und Liebe โดย Heinz Schirk
  • 1967, Kabale und Liebe โดย Gerhard Klingenberg
  • 1959, Kabale und Liebe โดย Harald Braun

โอเปร่าและลิเบรตโต แก้

จูเซปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi) ได้นำมาทำเป็นอุปรากร นามว่า Luisa Millerโดยประพันธ์ดนตรี ในขณะที่บทร้อง(ลิเบรตโต)ประพันธ์โดยสาลวาโทอเร คัมมาราโน (Salvatore Cammarano) ซึ่งนำแสดงครั้งแรก วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1849

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kabale und Liebe. Lektüreschlüssel. Reclam Universal-Bibliothek, Band 15335
  2. Schafarschik, Walter: Erläuterungen und Dokumente zu: Friedrich Schiller: Kabale und Liebe, ISBN 978-3-15-008149-5