แนวคิดเยอรมันของ เลเบินส์เราม์ (เยอรมัน: Lebensraum; ออกเสียง: [ˈleːbənsˌʁaʊm] ( ฟังเสียง); "พื้นที่อยู่อาศัย") ประกอบด้วยนโยบายและแนวทางปฏิบัติของลัทธิล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐานซึ่งได้เผยแพร่ในประเทศเยอรมนีตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890–1940 ได้รับความนิยมเป็นครั้งแรกในช่วงราว ค.ศ. 1901 เลเบินส์เราม์ได้กลายเป็นเป้าหมายทางการเมืองของจักรวรรดิเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1914–1918) เดิมทีเป็นองค์ประกอบหลักของ Septemberprogramm ในการขยายดินแดน ด้วยความสุดโต่งที่สุดของอุดมการณ์นี้ได้รับสนับสนุนจากพรรคนาซีในจักรวรรดิไรช์ที่สาม จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

แผนที่มหาจักรวรรดิเยอรมัน ตามนโยบายเลเบินส์เราม์ อ้างอิงขอบเขตประเทศจากแผนเกเนอราลพลันโอสท์, เขตการบริหารงานรัฐ, และหน่วยชุทซ์ชตัฟเฟิล (SS).[1]

ภายหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เลเบินส์เราม์ได้กลายเป็นอุดมการณ์หลักของลัทธินาซีและได้ให้เหตุผลสำหรับการขยายดินแดนของเยอรมนีไปยังยุโรปกลาง-ตะวันออก[2] นโยบายเจเนรัลพลันโอสท์ของนาซี (แผนใหญ่สำหรับตะวันออก) ขึ้นอยู่กับหลักการของมัน ได้มีการระบุว่าประชากรส่วนใหญ่ในประเทศแถบยุโรปตะวันออกจะต้องถูกกำจัดออกไปอย่างถาวร (เช่น การเนรเทศไปยังไซบีเรีย, ความตาย หรือการกดขี่ข่มเหง) รวมทั้งชาวโปล ชาวยูเครน ชาวรัสเซีย และชาวสลาฟอื่น ๆ คนชาติเหล่านี้ได้ถูกถือว่า เป็นคนเชื้อชาติต่ำต้อยและไม่ใช่อารยัน รัฐบาลนาซีได้มุ่งเป้าไปยังการฟื้นฟูดินแดนเหล่านั้นให้กับชาวอาณานิคมเยอรมันในชื่อว่า เลเบินส์เราม์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและภายหลังจากนั้น[3][4][5] ประชากรชาวพื้นเมืองทั้งหมดจะต้องถูกทำลายโดยความอดอยาก เพื่อให้สามารถผลิตกสิกรรมที่เกินดุลของเยอรมนี[3]

โครงการทางยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์สำหรับการครองโลกนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในอำนาจของเลเบินส์เราม์ซึ่งถูกติดตามโดยสังคมทางเชื้อชาติชั้นเลิศ[4] ผู้คนที่ถูกถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเผ่าพันธุ์อันต่ำต้อย ภายในดินแดนการขยายของเลเบินส์เราม์จะต้องถูกขับไล่หรือถูกทำลาย[4] สุพันธุศาสตร์แห่งเลเบินส์เราม์ได้มีการสันนิษฐานถึงสิทธิของชนเผ่าอารยัน เชื้อชาติปกครอง (Herrenvolk) เพื่อกำจัดชนพื้นเมืองที่พวกเขาถือว่าเป็นพวกเชื้อชาติที่ต่ำต้อย (อุนแทร์เมนเชน) ในชื่อของพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขา[4] นาซีเยอรมนียังได้ให้การสนับสนุนชนชาติ "อารยัน" อื่น ๆ ที่ติดตามโครงการเลเบินส์เราม์ของตน เช่น โครงการ Spazio vitale ของฟาสซิสต์อิตาลี[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Utopia: The 'Greater Germanic Reich of the German Nation'". München - Berlin: Institut für Zeitgeschichte. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
  2. Allan Bullock & Stephen Trombley, ed. "Lebensraum." The New Fontana Dictionary of Modern Thought (1999), p. 473.
  3. 3.0 3.1 André Mineau (2004). Operation Barbarossa: Ideology and Ethics Against Human Dignity. Rodopi. p. 180. ISBN 9042016337 – โดยทาง Google Books.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Shelley Baranowski (2011). Nazi Empire: German Colonialism and Imperialism from Bismarck to Hitler. Cambridge University Press. p. 141. ISBN 0521857392 – โดยทาง Google Books.
  5. Jeremy Noakes (March 30, 2011). "BBC – History – World Wars: Hitler and Lebensraum in the East".
  6. Mark Mazower (2013) [2008]. Hitler's Empire: Nazi Rule in Occupied Europe. Penguin UK. p. 431. ISBN 0141917504 – โดยทาง Google Books.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Hitler, Adolf (March 21, 1939). Mein Kampf. Introduction by James Vincent Murphy, the Irish translator of Mein Kampf who worked in Goebbels's Ministry of Propaganda from 1934 to 1938 (died 1946). Hurst and Blackett. The copy contains both, Volume 1: A Retrospect, and Volume 2: The national Socialist Movement, fully unexpurgated; in text file format without pagination. Reprinted in 1939 (before the US entered the war) by Houghton Mifflin, Boston Massachusetts. This book is still banned from publication in Germany – via Project Gutenberg Australia. Note: The term 'Lebensraum', as loan-word adopted in the English historiography long after World War II ended, does not appear in the first prewar translation of the original. [Also:] Mein Kampf by Adolf Hitler (DjVu). Introduction by John Chamberlain et al. Reynal A Hitchcock; published by arrangement with Houghton Mifflin Company. 1941. Paginated, Complete and Unabridged – via Internet Archive. [And:] Mein Kampf. Houghton Mifflin. 1971. ISBN 978-0-395-07801-3. [As well as:] Hitler, Adolf (2016). Mein Kampf. Adolf Hitler. ISBN 6050418349 – via Google Books.