เรือหลวงมัจฉาณุ

เรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย

เรือหลวงมัจฉาณุ[1] (HTMS Matchanu) เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล โดยเรือหลวงมัจฉาณุ ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงวิรุณ

เรือหลวงมัจฉาณุ
เรือหลวงมัจฉาณุ
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ
ชื่อlist error: <br /> list (help)
เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง)
HTMS Matchanu (II)
ตั้งชื่อตามมัจฉาณุ (จากเรื่องรามเกียรติ์)
อู่เรืออู่ต่อเรือมิตซูบิชิ, โกเบ, ประเทศญี่ปุ่น
ปล่อยเรือ6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
เดินเรือแรก24 ธันวาคม พ.ศ. 2479
เข้าประจำการ19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ปลดระวาง30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ความเป็นไปขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
สถานะหอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือดำน้ำ
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
  • บนผิวน้ำ 374.5 ตัน
  • ขณะดำ 430 ตัน
ความยาว: 51 เมตร
ความกว้าง:

4.10 เมตร

ความสูง: 11.65 เมตร
กินน้ำลึก: 3.60 เมตร
ระบบพลังงาน:
  • 2 × เครื่องยนต์ดีเซล 8 สูบ 1,100 แรงม้า (820 กิโลวัตต์)
  • 1 × เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (400 กิโลวัตต์)
ความเร็ว:
  • ผิวน้ำ 15.7 นอต
  • ใต้น้ำ 8.1 นอต
  • มัธยัสต์ 10 นอต
  • พิสัยเชื้อเพลิง: 4,770 nmi (8,830 km; 5,490 mi)
    ทดสอบความลึก: 60 m (200 ft)
    ลูกเรือ: 33 นาย
    (สัญญาบัตร 5 นาย, ประทวน 28 นาย)
    ยุทโธปกรณ์:
    • 1 × ปืนกลลูวิสต่อสู้อากาศยานขนาด 76/25 ม.ม.
    • 1 ×ปินใหญ่ขนาด 8 ซม.
    • 4 × ตอร์ปิโดขนาด 45 ซม. แบบ เอ.เค.

    ชื่อเรือหลวงมัจฉาณุ เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2480 มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ มัจฉานุ จากเรื่องรามเกียรติ์

    เรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ กองทัพเรือไทยจึงถือว่าวันที่ 4 กันยายน เป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ

    เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง

    เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ออกไปลาดตระเวนอยู่หน้าฐานทัพเรือเรียม (กัมพูชา) ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด

    เรือหลวงมัจฉาณุปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่

    ภายหลังปลดประจำการ เรือทั้งสี่ลำได้นำมาจอดเทียบกันที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้มีการขายเรือให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพื่อทำการศึกษาและทำการวิศวกรรมย้อนกลับ[ต้องการอ้างอิง] คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้นำมาจัดสร้างสะพานเรือจำลอง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ

    อ้างอิง แก้

    • ศิริพงษ์ บุญราศรี. เรือดำน้ำแห่งราชนาวีสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พ.ศ. 2547. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-276-277-5
    • สงวน อั้นคง, สิ่งแรกในเมืองไทย ชุด 2, แพร่พิทยา
    1. ในเอกสารกองทัพเรือไทย ระบุชื่อเรือดำน้ำว่า "มัจฉานุ" แต่ในพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ลงนามโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)) ขนานนามเรือดำน้ำว่า "มัจฉาณุ"

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้

     
    ผังโครงสร้างเรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ
     
    เรือหลวงมัจฉาณุในปัจจุบัน ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพเรือ โรงเรียนนายเรือ