เมืองทองธานี (อังกฤษ: Muang Thong Thani) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมขนาดใหญ่บริเวณโดยรอบทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ (จุดตัดระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ กับแนวเชื่อมต่อระหว่างทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษอุดรรัถยา) ในพื้นที่ตำบลคลองเกลือ ตำบลบางพูด และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในเครือบริษัทบางกอกแลนด์ โครงการเมืองทองเริ่มก่อสร้างปี 2533 โดยมีเป้าประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ 4,700 ไร่ให้เป็นเมืองย่อมๆ รองรับประชาชนไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน[1][2] เดือนพฤษภาคม 2533 เปิดตัวคอนโดมีเนียมเลควิวเจาะกลุ่มตลาดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก[3] เดือนมกราคม 2534 เปิดตัวโครงการสำหรับกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลาง อันได้แก่ โครงการป๊อปปูล่าคอนโด 10 ชั้น จำนวน 27 ตึก ประกอบไปด้วยโครงการครูเมืองทองธานี เป็นแฟลตราคาพิเศษเพื่อผู้พักอาศัยที่เป็นครู คอนโดมิเนียมมีทั้งหมด 24 อาคาร อาคารดังกล่าว ประกอบด้วย อาคารครูเมืองทอง 14 อาคาร อาคารเมืองทองธานีเพื่อข้าราชการ จำนวน 9 อาคาร อาคารไพลินสแควร์ จำนวน 4 อาคาร [4]ซึ่งภายในประกอบไปด้วยหมู่บ้าน เมืองทองนิเวศน์ 3 รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองทอง 3 เป็นที่ตั้งของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยศิลปากร City Campus นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, สถานกีฬาเมืองทองธานี (ธันเดอร์โดม), ธันเดอร์โดมสเตเดียม, การกีฬาแห่งประเทศไทย, The Tennis Academy of Asia, วัดผาสุกมณีจักร และโรงเรียนอีกหลายโรงเรียน

รายละเอียดโครงการ แก้

สำนักงาน แก้

  • อาคารสำนักงานขนาดสูง หลายอาคาร
  • อาคารพาณิชย์
  • นิวเจนีวา
  • คอนโดมิเนียมอุตสาหกรรม
  • ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานแจ้งวัฒนะ
  • กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม แก้

หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ แก้

สถานศึกษา แก้

ที่พักอาศัย แก้

  • เลค วิว คอนโดมิเนียม
  • ป๊อปปูล่า คอนโดมิเนียม
  • บ้านพักอาศัย โครงการ 1-3

กีฬา แก้

ศูนย์การค้า แก้

  • บีไฮฟ์ ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งมอลล์
  • คอสโม บาซาร์
  • คอสโม วอล์ก

สิ่งแวดล้อม แก้

  • สวนสาธารณะเมืองทองธานี
  • ทะเลสาบเมืองทองธานี

การเดินทาง แก้

รถประจำทาง แก้

เมืองทองธานีมีท่ารถประจำทาง ขสมก. สาย 166 (เข้าไปในอิมแพ็คเมืองทองธานี)

เมืองทองธานี แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (เมืองทองธานี) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (เมืองทองธานี) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
166 (1) เมืองทองธานี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เมืองทองธานี
ปากเกร็ด
เซ็นทรัลงามวงศ์วาน
ทางด่วน
พระรามหก
ตึกชัย
รพ.พระมงกุฎฯ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

04:15 น. 05:00 น. 22:00 น. 23:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

ขสมก.
  • สาย 166 : เมืองทองธานี - (ปากเกร็ด) - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

นอกจากรถประจำทาง ขสมก. สาย 166 แล้วยังมีรถประจำทางสายอื่นๆดังนี้

  • สาย 210 (2-27) (หมวด 1) : เมืองทองธานี - สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า เดินรถโดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด (มีเที่ยววิ่งน้อย)
  • สาย 391 (หมวด 3) : เมืองทองธานี - ปากเกร็ด (มีรถบริการเพียง 1 คัน)

มีรถสองแถว 3 สาย ได้แก่

  • สาย 1 คอนโดเมืองทอง - แจ้งวัฒนะ
  • สาย 2 คอนโดเมืองทอง - ติวานนท์
  • สาย 3 คอสโม่บาซาร์ - MRT ศรีรัช

นอกจากนี้แล้ว เมืองทองธานียังมีบริการรถคิวตู้หลายสาย สำหรับให้บริการผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี โดยเฉพาะในส่วนของป็อปปูล่า คอนโดมีเนียม ซึ่งมีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และรองรับผู้ที่มาใช้บริการที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ประกอบด้วย

  • สายเมืองทอง - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สายเมืองทอง - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • สายเมืองทอง - สนามหลวง
  • สายเมืองทอง - เมเจอร์ รังสิต
  • สายเมืองทอง - เดอะมอลล์บางกะปิ
  • สายเมืองทอง - สีลม (เฉพาะช่วงเช้าของวันทำงาน)

และยังมีรถโดยสารปรับอากาศสายพิเศษ สายเมืองทอง - อิมแพ็ค - สถานีหมอชิต ซึ่งทางบางกอกแลนด์ดำเนินการบริการด้วยตนเอง โดยจำหน่ายตั๋วโดยสารในรูปแบบคูปองใบละ 30 บาท เชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟฟ้ามายังศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็คอีกด้วย

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด แก้

  • สถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี

รถไฟฟ้าสายสีชมพู แก้

  • สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35
  • สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บริเวณสำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง เป็นสถานีร่วมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ประกอบด้วย 2 สถานี คือ[5]
  1. สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01)
  2. สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02)

ถนนสายหลัก แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Toonpirom, Vanida (2022-08-24). ""เมืองทองธานี" ภารกิจสร้างเมือง ส่งต่อจากรุ่นพ่อ สู่รุ่นลูก".
  2. https://www.ddproperty.com/areainsider/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80-10233
  3. "NHA virtual museum". site001.ap.tu.ac.th.
  4. "เปิดไทม์ไลน์สร้าง "เมืองใหม่" (เกือบร้าง) กว่าจะยิ่งใหญ่ทุกวันนี้". mgronline.com. 2020-04-16.
  5. ไฟเขียว 'บีทีเอส' ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองส่วนต่อขยาย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′42″N 100°32′24″E / 13.911770°N 100.540070°E / 13.911770; 100.540070