เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม

เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม (ฮันกึล: 명성황후; ฮันจา: 明成皇后; อังกฤษ: Empress Myeongseong; The last (Korean) Empress) เป็นละครชุดทางโทรทัศน์ซึ่งผลิตเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยสถานีโทรทัศน์ระบบกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ฮันกึล: 한국 방송 공사, Hanguk Bangsong Gongsa; อังกฤษ: Korean Broadcasting System; ชื่อย่อ: KBS; เคบีเอส) มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์เกาหลี ว่าด้วยพระประวัติจักรพรรดินีมย็องซ็อง สมเด็จพระมเหสีเอกในสมเด็จพระจักรพรรดิโคจง พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โชซอน

เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม
ภาพหน้าจอหัวเรื่อง
จากที่เสนอฉายในประเทศไทย
명성황후
ประเภทอิงประวัติศาสตร์
สร้างโดยเกาหลีใต้ ระบบกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
แสดงนำเกาหลีใต้ ลี มี-ฮย็อน,
มูน กึน-ยอง,
ยู ดอง-กึน,
ลี จิน-วู
ดนตรีแก่นเรื่องปิดNa Kakeodeun (If I Leave)
ประเทศแหล่งกำเนิดเกาหลีใต้ สาธารณรัฐเกาหลี
ภาษาต้นฉบับเกาหลีใต้ เกาหลี
จำนวนตอน124
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างเกาหลีใต้ ยูน ยอง-ฮุน
สถานที่ถ่ายทำพระราชวังคยองบกกุง,
โซล
ออกอากาศ
เครือข่ายเกาหลีใต้ เคบีเอส-2ทีวี
ไทย ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศไทย 26 มกราคม –
11 พฤษภาคม 2555

ละครชุดนี้ออกอากาศเป็นครั้งแรกในสาธารณรัฐเกาหลี ทางเคบีเอสทีวีช่อง 2 ในทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 21:50-22:55 น. ระหว่างวันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 จำนวนทั้งสิ้น 124 ตอน ต่อมาบริษัท ทีวีบี-ทรี เน็ตเวิร์ก จำกัด จัดซื้อลิขลิทธิ์สำหรับแพร่ภาพในประเทศไทย เพื่อนำเสนอฉายทุกวันทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยแบ่งเป็นวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 02:15-03:25 น. และวันเสาร์กับวันอาทิตย์ ในเวลา 02:15-04:00 น. โดยเริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม (เข้าสู่วันใหม่ ศุกร์ที่ 27 มกราคม) จนถึงวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม (เข้าสู่วันใหม่ เสาร์ที่ 12 พฤษภาคม) พ.ศ. 2555 อนึ่ง หากมีการถ่ายทอดสดและเทปบันทึก การแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2011-12 ก็จะงดการออกอากาศไปในช่วงระยะนั้น

เรื่องย่อ แก้

สมเด็จพระจักรพรรดินีเมียงซอง ในสมเด็จพระจักรพรรดิโกจงแห่งจักรวรรดิเกาหลี มีพระนามเดิมว่ามิน จา-ยอง ซึ่งประสูติในครอบครัวสามัญชนที่จังหวัดคยองกี ขณะเดียวกัน เมื่อพระราชพิธีพระบรมศพของพระเจ้าชอลจงเสร็จสิ้นลง พระพันปีโช พระสนมในพระเจ้าชอลจง ที่ขณะนั้นเป็นผู้ปกครองสูงสุดของฝ่ายใน มีดำริให้จัดหาพระมเหสีเอก เพื่อประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระเจ้าโกจง (พระราชอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ซึ่งพระชายามินแห่งยอฮึงในแทวอนกุน พระมารดาในพระเจ้าโกจง เสนอชื่อมิน จา-ยอง เพื่อการนี้ เนื่องจากเป็นญาติห่างๆ ของพระนางเอง โดยพระพันปีโชก็เห็นชอบด้วย ต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการ ประกาศให้มิน จา-ยอง ขึ้นเป็นพระมเหสี

ระยะแรกนั้น พระมเหสีมิน (พระอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น) ทรงสนพระทัยแต่เพียงการให้กำเนิดรัชทายาทถวายพระเจ้าโกจงเท่านั้น ทว่าพระพลานามัยของพระนางกลับไม่ทรงแข็งแรงนัก จึงต้องสูญเสียพระโอรสถึงสองพระองค์ในเวลาไม่นาน ส่งผลให้แทวอนกุนซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะนั้น ไม่พอพระทัยในพระนางอย่างยิ่ง ถึงกับสั่งการให้กักตัวพระนางไว้ในพระตำหนักที่ประทับ มิให้เข้าเฝ้าฯพระเจ้าโกจงอีก (ภายหลังพระมเหสีมิน ก็ให้กำเนิดพระโอรสเป็นผลสำเร็จ ทรงพระนามว่าองค์ชายลีชอก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิซุนจง) หลังจากนั้นแทวอนกุนก็สนับสนุนลีซังกุง ซึ่งมีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับพระเจ้าโกจงมาตั้งแต่ก่อนราชาภิเษกสมรส ให้ขึ้นเป็นพระสนมลีแห่งยองโพ และมีพระโอรสทรงพระนามว่าองค์ชายฮวอนฮา

แทวอนกุนจึงรีบแต่งตั้งให้องค์ชายฮวอนฮาเป็นรัชทายาทโดยทันที และยังมีแผนการจะผลักดันให้พระสนมลี ขึ้นเป็นพระมเหสีองค์ใหม่ด้วย ทว่าพระมเหสีมินทรงเรียกประชุม ขุนนางสกุลมินแห่งยอฮึง และขุนนางผู้ใกล้ชิดพระองค์ เพื่อยื่นฎีกาต่อพระเจ้าโกจงผ่านสภาปกครอง แจ้งว่าแทวอนกุนซ่องสุมกำลังคนเพื่อล้มล้างพระเจ้าโกจง และสถาปนารัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์แทน ซึ่งนับเป็นข้อหาร้ายแรงโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากเห็นแก่ความเป็นพระบิดา พระเจ้าโกจงจึงตัดสินลงโทษเพียงเนรเทศ ออกจากพระราชวังคย็องบก ไปยังพระตำหนักมุนยอนซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ต่อมาในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าโกจง แทวอนกุนเข้าใจสถานการณ์ของบ้านเมืองมากขึ้น จึงปรับความเข้าใจกับสะใภ้ของตนเป็นผลสำเร็จ

ระหว่างที่ทรงถูกแทวอนกุนกักตัวไว้ในพระตำหนัก พระมเหสีมินใช้เวลาเหล่านั้น ทรงศึกษาหนังสือตำราต่างๆ เป็นอันมาก จนกระทั่งทรงพระปรีชาสามารถอย่างสูง ในทางการเมืองการปกครอง การต่างประเทศ การศึกษา และการสาธารณสุขสมัยใหม่ เมื่อพระเจ้าโกจงทรงเนรเทศพระบิดาออกจากพระราชวังแล้ว พระนางจึงเข้าช่วยบริหารราชกิจอยู่หลังฉากมู่ลี่ เช่นที่พระพันปีโชเคยปฏิบัติในช่วงต้นรัชกาล โดยในบางกรณีก็ทรงว่าราชกิจด้วยพระองค์เองทีเดียว นอกจากนี้ พระนางยังทรงเจริญสัมพันธไมตรี กับหลายประเทศแถบตะวันตกเช่น จักรวรรดิรัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี เป็นต้น เพื่อเปิดรับรูปแบบการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการสมัยใหม่เข้าสู่โชซอน และเพื่อขอความช่วยเหลือทางทหาร ในกรณีที่เกิดอันตรายกับบ้านเมือง

ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งต้องการแผ่นดินโชซอนเป็นเมืองขึ้นเช่นกัน ก็ต้องเตรียมการอยู่ถึงสิบปี จึงจะชนะสงครามกับจักรวรรดิต้าชิง ผู้เป็นเจ้าอาณานิคมเดิมของโชซอนได้สำเร็จ ขณะที่พระมเหสีมิน ก็กำลังเตรียมการปฏิรูปการเมืองสมัยใหม่ เพื่อให้ราชอาณาจักรโชซอนเป็นชาติเอกราชอย่างแท้จริง พระนางจึงถือเป็นเสี้ยนหนามที่สำคัญยิ่งของญี่ปุ่น ดังนั้น มิอุระ โกะโระ ทูตญี่ปุ่นประจำโชซอน จึงส่งมือสังหารไปลอบปลงพระชนม์พระมเหสีมินเสีย หลังจากนั้นสมาชิกราชวงศ์โชซอนก็เข้าพำนักในสถานทูตรัสเซีย เพื่อหยุดยั้งอำนาจอิทธิพลของฝ่ายญี่ปุ่น โดยยกสถานะอาณาจักรของตนขึ้นเป็นเอกราช ใช้ชื่อว่าประเทศแทฮัน (เกาหลี) พร้อมกันนั้น พระเจ้าโกจงก็สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ (สมเด็จพระจักรพรรดิ) และสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ แก่พระมเหสีมินผู้วายชนม์ให้เป็นที่ เมียงซองฮองเฮา (สมเด็จพระจักรพรรดินี)[1]

ตัวละครที่สำคัญ แก้

  • พระมเหสีเมียงซอง (มิน จา-ยอง) - สามัญชนผู้กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย เมื่ออายุสิบหกก็สมรสเข้าวังหลวง ศึกษาบทกวีและประวัติศาสตร์จีนจนแตกฉาน ต่อมาทรงสูญเสียพระโอรส แต่ก็ทำให้พระนางทรงเข้มแข็ง จนกระทั่งทรงเป็นราชินีผู้ปรีชาสามารถอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์เกาหลี
  • พระเจ้าโคจง - บุตรชายคนเล็กขององค์ชายฮึงซอน ขึ้นเป็นพระราชาด้วยสถานะบุตรบุญธรรมพระนางซินจ็อง ผู้อ่อนแอไร้ความสามารถ จึงถูกพระญาติหลายคนบงการบริหารราชกิจ คำนึงแต่ความรักความเสน่หา
  • แทวอนกุน (องค์ชายฮึงซอน) - พระบิดาในพระเจ้าโคจง เป็นผู้คลั่งชาติแบบอนุรักษนิยม เกลียดชังต่างชาติไม่ว่าตะวันตกหรือตะวันออก และยังเป็นคนอารมณ์ร้อนวู่วาม จนกลายเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองกับสะใภ้ของตน และเป็นต้นเหตุที่ทำให้โชซอนต้องล่มสลายลงในที่สุด
  • พระสนมลีแห่งยองโพ (ลีซังกุง) - พระสนมที่พระเจ้าโคจงโปรด จึงเกิดความลำพองใจ เป็นพระมารดาขององค์ชายฮวอนฮาซึ่งต่อมาสิ้นพระชนม์ นางจึงสะเทือนใจจนถึงกับเป็นใบ้และสิ้นชีวิตอย่้างเดียวดายนอกวัง
  • พระนางซินจ็อง - พระชายาในเจ้าชายรัชทายาทฮโยมย็อง ทรงรับเป็นพระมารดาบุญธรรมของพระเจ้าโคจง และยังทรงช่วยบริหารราชกิจหลังฉากมู่ลี่ในช่วงต้นรัชกาล
  • องค์ชายฮุงยิน - พระเชษฐาในองค์ชายฮึงซอน เป็นเจ้ากรมมหาดเล็ก ภายหลังเข้าเป็นฝ่ายพระมเหสี แต่ถูกสังหารระหว่างเหตุจลาจล
  • มิน ซึง-โฮ - พระเชษฐาในพระมเหสีเมียงซอง เป็นกำลังสำคัญผู้มีความรู้เชิงการเมืองการปกครอง แต่ถูกสังหารระหว่างเหตุจลาจล
  • ชางซังกุง - นางกำนัลในพระเจ้าโกจง มีนิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย หยิ่งยโสโอหัง เมื่อมีพระโอรสก็ขึ้นเป็นซังกุง และตั้งตนเป็นปรปักษ์กับพระมเหสี
  • ฮุง กิล-ฮุน - พี่ชายของฮุงซังกุง (นางในคนสนิทในพระมเหสีเมียงซอง) เป็นนักรบยอดฝีมือผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดี ซึ่งพระมเหสีไว้วางพระราชหฤทัย โดยทรงให้ถวายอารักขาระหว่างลี้ภัยทางการเมืองทุกครั้ง[2]

นักแสดงนำ แก้

  • ลี มี-ฮย็อน - แสดงเป็น จักรพรรดินีมย็องซ็อง (ตอนที่ 1 และ 10-81)
  • ชอย มยอง-กิล - แสดงเป็น จักรพรรดินีมย็องซ็อง (ตอนที่ 82-124)
  • มูน กึน-ยอง - แสดงเป็น มิน จา-ยอง (จักรพรรดินีมย็องซ็องเมื่อทรงพระเยาว์)
  • ลี จิน-วู - แสดงเป็น พระเจ้าโคจง
  • ลี จุน - แสดงเป็น พระเจ้าโคจงเมื่อทรงพระเยาว์
  • ยู ดอง-กึน - แสดงเป็น แทว็อนกุนฮึงซ็อน
  • ชอง ซอน-คยอง - แสดงเป็น พระชายาลีควีอินแห่งยองโพ (ลีซังกุง)
  • ซอนวู อึน-ซอก - แสดงเป็น มารดาของมิน จา-ยอง
  • Lee Deok-hui - แสดงเป็น พระชายามินในแทวอนกุน (พระมารดาพระเจ้าโกจง)
  • คิม ยอง-นิม - แสดงเป็น พระนางซินจ็อง
  • ลี ยอง-โฮ - แสดงเป็น องค์ชายฮึงยิน
  • Eom Yoo-shin - แสดงเป็น พระชายาในองค์ชายฮึงยิน
  • ปาร์ก ยอง-จิ - แสดงเป็น คิม บยอง-ฮัก
  • คิม ฮโย-วอน - แสดงเป็น มิน ซึง-โฮ
  • คิม จู-ยอง - แสดงเป็น ยี คยอง-ฮา
  • Yoo Hye-yeong - แสดงเป็น the Queen (Identified as Queen Cheolin of the Andong Kim clan; Cheoljong's Queen)
  • คิม จยอง-ฮา - แสดงเป็น the Royal Dowager Queen (Identified as Queen Hyohyeon of the Andong Kim clan; Heonjong's Queen Consort)
  • คิม ซาง-ซู - แสดงเป็น โช ดู-ซอน
  • ชอง แจ-โฮ - แสดงเป็น Kim Jwa-geun
  • Han Beom-hui - แสดงเป็น Yi Jae-myeon (Prince Imperial Heung)
  • คิม ซุง-ฮวาน - แสดงเป็น มิน คยอง-โฮ
  • Hyeon Seok - แสดงเป็น มิน แท-โฮ
  • ลี แจ-อึน - แสดงเป็น ชางซังกุง
  • คิม โบ-มิ - แสดงเป็น ฮุงซังกุง
  • ฮง อิล-ควอน - แสดงเป็น ฮุงกิลฮุน (พี่ชายฮุงซังกุง)

รางวัลที่ได้รับ แก้

  •   เคบีเอส 2001 :-
    • นักแสดงนำยอดเยี่ยม - ลี มี-ฮย็อน
    • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม - คิม ซุง-ฮวาน
    • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม - คิม โบ-มิ
    • พีดีอวอร์ดประจำปีนี้ - ยุน ชาง-บุม

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้