เฟื้อ หริพิทักษ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ (22 เมษายน พ.ศ. 2453 – 19 ตุลาคม 2536) ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เป็นศิลปินและจิตรกร ผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2526[1] และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2]

เฟื้อ หริพิทักษ์

เกิดเฟื้อ
22 เมษายน พ.ศ. 2453
ตำบลราษฎร์บูรณะ อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 (83 ปี)
ชื่ออื่นเฟื้อ ทองอยู่
การศึกษามหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน
ศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่าง
อาชีพศิลปิน, จิตรกร
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2536
องค์การราชบัณฑิตยสถาน
ผลงานเด่น
ตำแหน่งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วาระ9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร
สมถวิล หริพิทักษ์
บุตรทำนุ
บิดามารดาเปล่ง ทองอยู่
เก็บ ทองอยู่
รางวัล
  • ในประเทศ
    • ศิลปินชั้นเยี่ยม - สาขาจิตรกรรม - พ.ศ. 2500
    • ศิลปินแห่งชาติ - สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2528
  • ต่างประเทศ
    • แมกไซไซ - สาขาบริการสาธารณะ - พ.ศ. 2526

ประวัติ แก้

นายเฟื้อเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2453 ที่จังหวัดธนบุรี มีนามเดิมว่า นาย เฟื้อ ทองอยู่[3] เป็นบุตรชายของ นายเปล่งมหาดเล็ก ต่อมา พ.ศ. 2468 ศึกษาระดับประถมศึกษาที่วัดสุทัศน์ และระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จากนั้น พ.ศ. 2483 ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวภารตี ที่ประเทศอินเดีย รับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2497[4] ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม

เฟื้อเป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นลึกซึ้ง ด้วยการค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เหมาะกับการแสดงออกทางด้านจิตรกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะตนโดยการถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสันที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี) ใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังปรากฏในผลงานจิตรกรรมมากมาย เช่น จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ฯลฯ[5]

นอกจากนี้ เฟื้อยังสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ มีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 23,000 วัด ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือการบูรณปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎกวัดระฆังโฆสิตาราม[6]

เฟื้อสมรสกับหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส มีบุตร 1 คน คือ ทำนุ หริพิทักษ์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เฟื้อตกเป็นเชลยไทยในอินเดีย เพราะไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ เขาถูกพรากจากภรรยา จึงเปลี่ยนไปนับถือพระวิษณุ และเปลี่ยนนามสกุลจากทองอยู่ เป็นหริพิทักษ์[3] และได้สมรสใหม่อีกครั้งกับ นางสมถวิล หริพิทักษ์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Hariphitak, Fua". The Ramon Magsaysay Award Foundation.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายเฟื้อ หริพิทักษ์). เล่ม 103 ตอนที่ 209 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2529.
  3. 3.0 3.1 ส.ศิวรักษ์. "แด่นายกรุณา กุศลาสัย". กรุณา–เรืองอุไร กุศลาสัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2020.
  4. ชาธิป สุวรรณทอง (19 มิถุนายน 2015). "มรดกศิลปะของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์". กรุงเทพธุรกิจ.
  5. พิภพ บุษราคัมวดี (2010). "บทที่ ๒ งานศิลปกรรมของ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์". ใน สน สีมาตรัง (บ.ก.). ๑๐๐ ปี เฟื้อ หริพิทักษ์: ชีวิตและงาน (PDF) (2 ed.). กรุงเทพฯ: หอศิลป์ มหาวิทยาลยศิลปากร. ISBN 978-974-641-345-9.
  6. "หอพระไตรปิฎก และ บันทึกของนายเฟื้อ". ArtBangkok.com. 27 พฤศจิกายน 2012.
  7. เฟื้อ หริพิทักษ์ ครูใหญ่ในวงการศิลปะ. สยามศิลปิน. 2. 3 มีนาคม 2015.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ). เล่ม 102 ตอนที่ 17 ง ฉบับพิเศษ หน้า 4014. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการ). เล่ม 110 ตอนที่ 36 ง ฉบับพิเศษ หน้า 68 เล่มที่ 013. วันที่ 26 มีนาคม 2536.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้