เพปไทด์ส่งสัญญาณ

เพปไทด์ส่งสัญญาณ (อังกฤษ: signal peptide, targeting signals, signal sequences, transit peptides, localization signals) เป็นเพปไทด์สายสั้นๆ (มีกรดอะมิโน 3-60 ตัว) ที่ควบคุมการขนส่งโปรตีน ความหมายอย่างแคบหมายถึง สายเพปไทด์สั้นๆที่สังเคราะห์ก่อนซึ่งนำเพปไทด์นั้นๆไปสู่เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม และเข้าสู่วิถีการหลั่งสารต่อไป ซึ่งต่างจากเพปไทด์ขนส่ง [1] ซึ่งเป็นเพปไทด์ที่นำโปรตีนชนิดนั้นๆไปสู่ ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ หรืออะพิโคพลาสต์ แต่ความหมายอย่างกว้างหมายถึง ลำดับกรดอะมิโนที่นำโปรตีนที่สังเคราะห์ในไซโตซอลไปสู่ออร์แกเนล์ต่างๆทั้งนิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม คลอโรพลาสต์ อะโปพลาสต์ และเพอรอกซิโซม เพปไทด์ส่งสัญญาณในโปรตีนบางชนิดถูกตัดออกเมื่อการขนส่งโปรตีนเสร็จสิ้นลง

การสังเคราะห์โปรตีนที่จะหลั่งเข้าสู่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมซึ่งอาศัยการทำงานของเพปไทด์ส่งสัญญาณในการเข้าไปจับเอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม

อ้างอิง แก้

  1. Olof Emanuelsson, Søren Brunak, Gunnar von Heijne, Henrik Nielsen (2007). "Locating proteins in the cell using TargetP, SignalP, and related tools". Nature Protocols. 2: 953–971. PMID 17446895.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้