เป็ดพม่า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Tadorninae
สกุล: Tadorna
สปีชีส์: T.  ferruginea
ชื่อทวินาม
Tadorna ferruginea
(Pallas, 1764)
ไข่ของเป็ดพม่า

เป็ดพม่า หรือ เป็ดรัดดี (อังกฤษ: Ruddy shelduck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tadorna ferruginea) เป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Anatidae พบตามแม่น้ำสายใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง นาเกลือ ตามชายทะเล และบึง แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และเอเชีย ลำตัวมีขนาดใหญ่ ยาว 61-67 เซนติเมตร คล้ายห่าน ขนมีสีน้ำตาลแกมแดงหรือส้มเป็นหลัก ตัวผู้มีสร้อยรอบคอสีดำ ตัวเมียมีใบหน้านวลมากกว่า แต่ตัวเล็กกว่าตัวผู้

มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งอาจถึงพันตัว ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กทั่วไป

ในประเทศไทย แก้

เป็ดพม่าอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ มีรายงานการพบ

และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[2]

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2012). "Tadorna ferruginea". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. "เวลคัมแบ็ค...เป็ดพม่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-04.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tadorna ferruginea ที่วิกิสปีชีส์