เบเคตอาเตน (พระราชธิดาในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สาม)

เบเคตอาเตน (มีพระชนม์ชีพในช่วงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าหญิงแห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่ 18 พระองค์ถือเป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้องของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีติเย ฉะนั้นพระองค์เป็นพระขนิษฐาของฟาโรห์อเคนาเตน[1] พระนามของพระองค์มีความหมายว่า "หญิงสาวรับใช้แห่งอาเตน"

เบเคตอาเตน ในไฮเออโรกลีฟ
it
n
ra
G29
t
B1

เบเคตอาเตน
Bꜣk.t Jtn
หญิงสาวรับใช้แห่งอาเทน
ภาพสลักของพระนางติเยกับพระนางเบเคตอาเตน

พระประวัติ แก้

พระองค์เป็นที่รู้จักจากสุสานในเมืองอาร์มานา ซึ่งเป็นสุสานของฮูยา ผู้เป็นข้าราชสำนักในสมเด็จพระราชินีติเย[2]

พระองค์ปรากฎอยู่ร่วมกันพระนางติเยในสองภาพสลัก หนึ่งเป็นภาพสลักที่พระนางติเยประทับนั่งคนละฝั่งกับฟาโรห์อเคนาเตนและพระนางเนเฟอร์ติติ โดยพระองค์ประทับนั่งอยู่ที่เก้าอี้ขนาดเล็กถัดจากพระนางติเย อีกภาพสลักนั้นพระองค์ประทับยืนถัดจากพระนางติเย และบนฝาผนังฝั่งตะวันออกของสุสานแห่งฮูยาสลักภาพของฟาโรห์อเคนาเตนจูงพระหัตถ์ของพระนางติเยไปยังวิหารพร้อมกันกับพระองค์

ทับหลังบนฝาผนังฝั่งเหนือสลักภาพฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ประทับนั่งตรงกันข้ามพระนางติเยพร้อมกับพระองค์ โดยข้ารับใช้ทั้งสามยืนอยู่อยู่เบื้องหลังพระนางติเย

 
อเคนาเตนกับพระนางติเย โดยพระนางเบเคตอาเตนประทับยืนอยู้ข้างหลัง
 
อเมนโฮเทปที่ 3, พระนางติเย และพระนางเบเคตอาเตน

ข้อสันนิษฐาน แก้

พระองค์ปรากฎแค่ตำแหน่งของ พระราชธิดาแห่งฟาโรห์ เป็นได้ได้ว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์ขณะวัยเยาว์ เนื่องจากพระองค์มิได้ถูกบันทึกหรือถูกกล่าวถึงอีกเลยหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางติเย นักไอยคุปตวิทยาบางท่านนั้นสันนิษฐานว่า พระองค์เป็นบุคคลคนเดียวกันกับพระนางเนเบตา[3] อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานใดที่จะมาพิสูจน์ว่าพระองค์ทั้งเป็นบุคคลเดียวกัน

ตามทฤษฎีหนึ่ง ในความจริงแล้วพระองค์เป็นพระราชธิดาในฟาโรห์อเคนาเตนกับพระมเหสีรองนามว่า คิยา พระองค์อาจจะปรากฎในภาพสลักร่วมกันกับพระนางคิยา ที่ปรากฎพระนามลงท้ายว่า -อาเตน โดยที่พระนามเต็มได้หายไป ภายหลังจาการสิ้นพระชนม์ของพระนางคิยา พระองค์ได้ปรากฎร่วมในภาพสลักกับพระนางเมริทอาเตนและพระนางอังค์เซนปาอาเตนพร้อมกับพระราชธิดานามว่า เมริทอาเตน ตาเชริ และ อังค์เซนปาอาเตน ตาเชริ (ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่ถูกแต่งขึ้นมาในฐานะบุตรของพระนางคิยา)[4] โดยทฤษฎีมีความเป็นมามาจาก พระองค์มิเคยเป็นพระขนิษฐาของฟาโรห์อเคนาเตนตามภาพสลักในเมืองอาร์มานา แต่เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเคนาเตน โดยพระองค์นั้นมิเคยปรากฎในภาพสลักร่วมกันกับพระราชธิดาในพระนางเนเฟอร์ติติเลย จึงแสดงให้ห็นว่าพระองค์นั้นเป็นพระราชธิดาในพระมเหสีของฟาโรห์อเคนาเตนพระองค์อื่น ซึ่งอาจจะเป็นพระนางคิยา จนภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมารดา พระองค์ได้ถูกอุปการะโดยพระอัยยิกาของพระองค์คือ พระนางติเย[5][6]

เรื่องนวนิยาย แก้

อาร์มานาน คิงส์ ซีรีย์ แก้

พระองค์เป็นตัวละครหลักในห้าเรื่องนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย แมกซ์ โอเวอร์ตัน และเผยแพร่โดย ไรท์เตอร์ส แอกแชงจ์ อี-พับบลิซซิ่ง โดยเป็นนวนิยายติดตามพระชนม์ชีพของพระองค์ ตั้งแต่วัยเยาว์จนสิ้นพระชนม์ ในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสมหาราช ชื่อนวนิยายห้าเล่มครอบคลุมพระชนม์ชีพของพระองค์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อเคนาเตน (สคารับ-อเคนาเตน), ฟาโรห์สเมงห์คาเร (สคารับ-สเมงห์คาเร), ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน (สคารับ-ทุตอังค์อามุน), ฟาโรห์ไอย์ (สคารับ-ไอย์) และฟาโรห์โฮเรมเฮบ (สคารับ-โฮเรมเฮบ) นวนิยายชุดที่หกในเรื่องนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1960 เกี่ยวข้องกับการค้นพบหลุมฝังศพของพระองค์

เดอะ อีจิปเทียน แก้

พระองค์มีบทบาทตัวละครรองในนวนิยายเรื่อง เดอะ อีจิปเทียน ของไมก้า วอลทาริ นามว่า เบเคตอาตอน (และในภาพยนตร์ใช้นามว่า เบเคตอามุน) ในนวนิยาย พระองค์ได้แต่งงานกับโฮเรมเฮบ ขุนศึกแห่งอียิปต์โบราณ แม้ว่าจะเป็นคนธรรมดาที่ต้องการพระองค์ตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่พอใจที่ถูกคนธรรมดาสามัญแตะต้องและพระองค์ยื่นคำขาดว่า ว่าถ้าเขาแตะพระองค์อีกครั้งพระองค์จะนอนกับบุรุษทุกคนในธีบส์

อ้างอิง แก้

  1. Aidan Dodson & Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, Thames & Hudson (2004), p.154
  2. N. de G. Davies, The rock tombs of El-Amarna, Parts III and IV, 1905 (Reprinted 2004), The Egypt Exploration Society, ISBN 0-85698-160-5. Facsimile in Internet Archive: Part III. The Tombs of Huya and Ahmes, 1905
  3. Joyce Tyldesley: Nefertiti – Egypt's Sun Queen
  4. Dr. Marc Gabolde: The End of the Amarna Period
  5. Kramer, Enigmatic Kiya, from: A Delta-man in Yebu edited by A. K. Eyma, C. J. Bennett, Universal-Publishers, 2003
  6. Jacobus van Dijk, A noble lady from Mitanni and other royal favorites from the eighteenth dynasty, from Essays on ancient Egypt in honour of Herman te Velde, Brill, 1997