เอ็ดเวิร์ด "เน็ด" เคลลี (อังกฤษ: Edward "Ned" Kelly) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เน็ด เคลลี (อังกฤษ: Ned Kelly, 3 มิถุนายน ค.ศ. 185411 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880) เป็นโจรชื่อดังชาวออสเตรเลีย และสำหรับคนบางกลุ่มได้ถือว่าเป็นวีรบุรุษผู้ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐจากรัฐบาลอาณานิคมออสเตรเลียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ

เน็ด เคลลี (ภาพถ่ายครั้งสุดท้ายก่อนวันประหารชีวิต 1 วัน)

เน็ด เคลลีเกิดที่รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เขาเป็นบุตรของนักโทษชาวไอริชและเริ่มมีเรื่องกระทบกระทั่งกับตำรวจของรัฐมาตั้งแต่วัยเด็ก หลังเกิดคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บ้านของเน็ดในปี ค.ศ. 1878 คณะเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เริ่มสืบหาตัวเน็ดซึ่งหลบหนีไปซ่อนตัวป่า และต่อมารัฐบาลอาณานิคมก็ได้ประกาศให้เน็ดและพรรคพวกของเขาอีก 3 คน เป็นกลุ่มบุคคลนอกกฎหมาย 2 ปีถัดมาคณะโจรของเน็ดก็ได้เผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับตำรวจที่เมืองเกลนโรวัน โดยเน็ดและคณะได้สวมเกราะเหล็กและหมวกเหล็กที่พวกเขาทำขึ้นเองเป็นเครื่องป้องกันตัว ผลปรากฏว่ามีเน็ดเพียงคนเดียวที่รอดชีวิตและถูกจับกุมตัวไว้ เขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่เรือนจำเก่าเมืองเมลเบิร์น (Old Melbourne Gaol) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 ความกล้าและชื่อเสียงของเขาได้กลายเป็นภาพลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในวงการประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรม ศิลปะ และภาพยนตร์

นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ประกาศว่าค้นพบที่ฝังศพของเน็ด เคลลี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2008[1]

วัยเด็ก แก้

 
บ้านของเน็ด เคลลีในวัยเด็ก ที่เมืองเบเวอริดจ์ รัฐวิกตอเรีย
 
สภาพพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านของเน็ด เคลลี ที่เมืองเกรตา รัฐวิกตอเรีย

ภูมิหลังของเน็ด เคลลี สามารถศึกษาได้จากประวัติของจอห์น "เรด" เคลลี (John 'Red' Kelly) บิดาของเน็ด เขาเป็นชาวไอริชโดยกำเนิด ซึ่งถูกทางการอังกฤษจับกุมด้วยด้วยสาเหตุบางอย่างที่ไม่อาจสืบทราบได้ในปัจจุบันแล้ว เนื่องจากเอกสารเกี่ยวกับคดีของเขาที่ประเทศไอร์แลนด์ได้สูญหายไประหว่างที่เกิดสงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1922 - 1923 เอียน โจนส์ (Ian Jones) ได้อ้างไว้ในหนังสือ Ned Kelly : A Short Life ว่า จอห์น เคลลีถูกจับกุมเพราะเขาไปลักหมู 2 ตัว แต่คำกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นค้านกับสิ่งที่ เจ.เจ.เคนนีลลี (J. J. Kenneally) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง The Inner History of the Kelly Gang ว่า สาเหตุที่จอห์นถูกจับกุมเพราะเขาเป็นผู้รักชาติชาวไอริช[2] จะอย่างไรตาม หลังจากถูกจับกุมตัวแล้ว จอห์น เคลลี ก็ถูกตัดสินลงโทษใช้แรงงาน 7 ปี และถูกเนรเทศมายังฟานไดเมนส์แลนด์ (Van Diemen's Land, ปัจจุบันคือรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย) เขาเดินทางมาถึงที่นั้นเมื่อปี ค.ศ. 1843 กระทั่งในปี ค.ศ. 1848 จอห์น เคลลีได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ เขาจึงย้ายไปอยู่ที่รัฐวิกตอเรียและได้งานทำที่เมืองเบเวอริดจ์ ในฟาร์มของเจมส์ ควินน์ (James Quinn) จอห์น (ขณะนั้นอายุได้ 30 ปี) ได้แต่งานกับเอลเลน ควินน์ (Ellen Quinn, ขณะนั้นอายุได้ 18 ปี) ลูกสาวของเจ้าของฟาร์ม และมีลูกด้วยกัน 8 คน ลูกคนแรกของพวกเขานั้นเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมาจึงได้ลูกสาวคนแรกชื่อ แอนนี (Annie) เมื่อปี ค.ศ. 1853

สำหรับเน็ด เคลลี เขาเกิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1854 นับเป็นบุตรชายคนโตของจอห์นและเอลเลน เคลลี แต่นับเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนทั้งหมด 8 คน เขาได้รับการทำพิธีศีลจุ่มจากบาทหลวงชาร์ลส โอ'เฮอา (Charles O'Hea) ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ลัทธิออกัสติเนียน ในวัยเด็ก เน็ดได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อย และครั้งหนึ่งเขาได้ยอมเสี่ยงชีวิตช่วยเด็กคนหนึ่งชื่อ ริชาร์ด เชลตัน (Richard Shelton) ให้รอดจากการจมน้ำ เน็ดได้รับรางวัลตอบแทนจากบิดาของเด็กชายคนนั้นเป็นผ้าพันคอสีเขียว ซึ่งเขาได้พกผ้าผืนนั้นติดตัวไว้ตลอดจนกระทั่งถึงการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเขาที่เกลนโรวันในปี ค.ศ. 1880[3]

ครอบครัวเคลลีตกเป็นผู้ต้องสงสัยหลายครั้งจากการขโมยวัวและม้า ถึงแม้ว่าพวกเคยจะไม่เคยถูกดำเนินคดีเลยก็ตาม ครั้งหนึ่งจอห์น เคลลีถูกจับกุมจากการฆ่าและถลกหนังลูกวัวซึ่งถูกอ้างว่าเป็นของเพื่อนบ้านของเขา เขาได้รับการพิสูจน์ว่าบริสุทธิ์ แต่ต้องถูกดำเนินคดีจากการเอาตราประทับบนหนังวัวออกโดยเสียค่าปรับ 25 ปอนด์ หรือรับโทษใช้แรงงานหนัก 6 เดือน จอห์น เคลลีไม่มีเงินมากพอจะเสียค่าปรับ จึงถูกลงโทษใช้แรงงานหนักที่เรือนจำเมืองกิลมอร์ (Kilmore) ส่งผลให้สุขภาพจอห์น เคลลี เสื่อมโทรมลงอย่างร้ายแรง เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับจอห์น เคลลี และสิ่งที่ตำรวจกระทำกับเขานั้น ได้สร้างความสะเทือนใจแก่เน็ด เคลลี ผู้เป็นลูกชายของเขาอย่างยิ่ง

จอห์น เคลลี เสียชีวิตที่เมืองอเวเนล รัฐวิกตอเรีย (Avenel, Victoria) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1866 หลังจากพ้นโทษครั้งสุดท้ายไม่นาน ขณะนั้นเน็ด เคลลี มีอายุได้ 11 ปีแล้ว ในเวลานั้นครอบครัวเคลลีได้จับจองที่ดินและย้ายไปอยู่ที่เมืองเกรตา (Greta) ซึ่งปัจจุบันนี้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เคลลีคันทรี" ("Kelly Country")

โดยรวมแล้ว สมาชิกครอบครัวเคลลีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่างๆ 18 ครั้ง ก่อนที่เน็ดจะถูกประกาศให้เป็นคนนอกกฎหมาย ซึ่งจำนวนการตัดสินให้ผิดจริงตามที่กล่าวหานั้นมีเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำนวนดังกล่าวนี้นับเป็นอัตราการกล่าวหาที่สูงมาจนผิดปกติในขณะนั้น และนับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวของเน็ดถูกเพ่งเล็งจากอำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมนับตั้งแต่พวกเขาอพยพมาอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐวิกตอเรีย อาจเป็นไปได้ว่าครอบครัวของเน็ดจำเป็นต้องอพยพไปจากที่อยู่เดิมเพราะเอลเลนผู้เป็นแม่มีเรื่องผิดใจกับสมาชิกครอบครัวของเธอเอง และเธอก็เคยขึ้นศาลจากคดีความขัดแย้งในครอบครัวด้วย[4] อย่างไรก็ดี แอนโทนี โอ เบรียน (Antony O'Brien) ผู้เขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Bye-Bye Dolly Gray ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเน็ด เคลลี ได้ให้เหตุผลแย้งว่า กิจการตำรวจของอาณานิคมวิกตอเรียในเวลานั้นไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อพิสูจน์ความผิดอย่างแท้จริงแต่อย่างใดนอกเสียจากการจับกุมคือสิ่งที่ทำให้ผู้ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำความผิดจริงเท่านั้น[5]

เริ่มปรากฏชื่อเสียงในทางลบ แก้

ในปี ค.ศ. 1869 เน็ด เคลลี ในวัย 14 ปี ได้ถูกจับกุมจากเหตุทำร้ายหมูของชาวจีนคนหนึ่งชื่อ อาฟุก[6] จีนอาฟุกได้กล่าวหาเขาว่าถูกเน็ดปล้นทรัพย์ ส่วนเน็ดก็ได้กล่าวว่าจีนอาฟุกมีเรื่องวิวาทกับแอนนี่ พี่สาวของเขา ผลปรากฏว่าเน็ดถูกขังคุก 10 วันก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัว นับตั้งแต่นั้นมาฝ่ายตำรวจก็เริ่มจับตามองเน็ดว่าเป็น "โจรป่าหนุ่ม" ("juvenile bushranger" - ดูคำอธิบายในเชิงอรรถด้านล่าง[7])

ในปีต่อมา เน็ดถูกจับกุมและกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับแฮรี พาวเวอร์ ซึ่งเป็นอาญชากรประเภท "โจรป่า" ที่ทางการต้องการตัวมากในขณะนั้น การพิจารณาคดีนี้ในชั้นศาลปรากฏว่าไม่มีหลักฐาน เน็ดจึงได้รับการปล่อยตัวหลังถูกจำคุกนาน 1 เดือน ทัศนะของนักประวัติเกี่ยวกับคดีนี้มีต่างๆ กัน บ้างก็มองว่าคดีนี้เป็นหลักฐานของการรังควานต่อเน็ดจากฝ่ายตำรวจ บ้างก็เชื่อว่าญาติของเน็ดข่มขู่พยานในคดีนี้จนทำให้บรรดาพยาต่างไม่เต็มใจที่จะมอบหลักฐานให้ฝ่ายตำรวจ ทั้งนี้อาจสันนิษฐานได้จากว่าเจมส์ ควินน์ ตาของเน็ด เป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในแถบต้นแม่น้ำคิง (King River) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เกลมอร์สเตชัน" (Glenmore Station) และเป็นสถานที่ที่แฮรี พาวเวอร์ ถูกจับกุมตัว

เดือนตุลาคม ค.ศ. 1870 เน็ด เคลลีถูกจับอีกครั้งจากการทำร้ายพรานเหยี่ยว (hawker) ชื่อ เยเรเมียร์ แมคคอร์แมค (Jeremiah McCormack) และการส่งจดหมายหุ้มด้วยหนังอัณฑะลูกวัวไปยังภรรยาวัยสาวของแมคคอร์แมค อันเป็นการกระทำที่หยาบคาย คดีนี้มีสาเหตุมาจากวันก่อนหน้าที่เน็ดจะถูกจับนั้น นายพรานแมคคอร์แมคได้กล่าวหาเบน โกลด์ (Ben Gould) มิตรคนหนึ่งของครอบครัวเคลลี ว่าเอาม้าของเขาไปใช้โดยไม่ขออนุญาต โกลด์ได้เขียนจดหมายชี้แจงถึงแมคคอร์แมค ส่วนเน็ดก็ได้ส่งจดหมายนี้ผ่านทางญาติคนหนึ่งของเขาไปยังภรรยาของแมคคอร์แมค ในครั้งนี้เน็ดถูกตัดสินโทษแต่ละคดีให้ใช้แรงงานหนัก 3 เดือน

กรณีฟิสท์แพททริค แก้

การสังหารที่ลำธารสตริงจีบาร์ค แก้

ปล้นธนาคาร แก้

จดหมายเจอริลเดอรี แก้

การต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่เกลนโรวัน แก้

 
ชุดเกราะของเน็ด เคลลี ซึ่งได้ใช้ในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่เกลนโรวัน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งรัฐวิกตอเรีย

ความลับของคณะโจรเคลลีถูกเปิดเผยโดยอารอน เชอริต ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของโจ เบิร์น และเป็นสายลับให้กับตำรวจ อารอนถูกโจ เบิร์น และแดน เคลลียิงเสียชีวิตที่บ้านของเขาเองเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1880 ตำรวจ 4 นายซึ่งทางการได้ส่งคุ้มครองอารอนโดยเปิดเผยในเวลานั้นได้ซ่อนตัวอยู่ใต้เตียงนอนในบ้านของอารอนและไม่ออกไปสู้กับฆาตกรทั้งสองคน กระทั่งในรุ่งเช้าเมื่อแน่ใจแล้วว่าโจ เบิร์น และแดน เคลลีออกไปจากที่นั้นแล้วจึงออกมาจากที่ซ่อน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แผนการณ์ของเน็ดที่ต้องการจะสู้กับตำรวจต้องล่าช้าออกไปมาก

คณะโจรเคลลีได้เดินทางมาถึงเมืองเกลนโรวันในวันที่ 27 มิถุนายน และได้กวาดต้อนตัวประกันประมาณ 70 คนไปรวมกันที่โรงแรมเกลนโรวันอินน์ (Glenrowan Inn) ซึ่งเป็นโรงแรมเล็กๆ แห่งหนึ่งในท้องถิ่น พวกเขารู้ดีว่าตำรวจจะเดินทางมาที่นั้นด้วยรถไฟ จึงได้งัดรางรถไฟออกเพื่อให้ขบวนรถไฟของตำรวจตกราง

สมาชิกคณะโจรต่างสวมใส่เสื้อเกราะที่พวกเขาทำขึ้นเอง เสื้อเกราะดังกล่าวทำจากเหล็กผาลไถที่ได้มาทั้งจากการขโมยและมีผู้มอบให้ แต่ละตัวนมีน้ำหนักประมาณ 96 ปอนด์ (ประมาณ 44 กิโลกรัม) มีหมวกเหล็กประกอบครบชุดทั้ง 4 ตัว กล่าวกันว่าหมวกเหล็กของโจ เบิร์นนั้นเป็นหมวกใบที่ดีที่สุด เพราะที่ช่องมองนั้นทำเป็น 2 ช่องเพื่อบังส่วนจมูกด้วย เสื้อเกราะเหล่านี้จะทำด้วยฝีมือผู้ใดนั้นไม่อาจสืบทราบได้ เจ.เจ.เคนนีลลีได้กล่าวว่าเสื้อเหล่านี้แดน เคลลี น้องชายของเน็ด และทอม ลอยด์ เพื่อนของเน็ดคนหนึ่งช่วยกันทำขึ้น และหมวกเหล็กนั้นก็มีแต่เฉพาะของเน็ดเท่านั้น สำหรับสมาชิกคณะโจรคนอื่นไม่มีหมวกเหล็กใช้

ขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในโรงแรงเกลนโรวัน ความพยายามของคณะโจรเคลลีที่จะถอดรางรถไฟก็ล้มเหลวลงจากการกระทำของโทมัส เคอร์นาว ครูคนหนึ่งซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันและได้รับการปล่อยตัวจากคณะโจร เคอร์นาวได้พยายามพูดจูงใจให้เน็ดปล่อยตัวเขาจนสำเร็จ จากนั้นเขาจึงรีบหาทางบอกให้ฝ่ายตำรวจรู้ตัวโดยยืนโบกผ้าพันคอสีแดงของเขาให้ตำรวจรู้ว่ามีอันตราย ฝ่ายตำรวจจึงหยุดรถไฟก่อนที่รถไฟจะถึงจุดที่รางถูกถอดและกระจายกำลังปิดล้อมโรงแรมทันที

รุ่งเช้าวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน เน็ด เคลลีออกมาจากโรงแรมพร้อมกับสวมชุดเกราะเหล็ก เขาเดินตรงไปยังฝ่ายตำรวจและยิงปืนสู้กับตำรวจ กระสุนปืนฝ่ายตำรวจที่ยิงตอบโต้นั้นไม่เข้าในส่วนที่เน็ดสวมชุดเกราะป้องกันไว้ ทว่าช่วงขาท่อนล่างของเน็ดนั้นไม่มีเกราะป้องกัน เขาจึงถูกยิงที่ขาจนกระทั่งล้มลงเพราะหมดกำลังที่จะสู้ เน็ดจึงถูกฝ่ายตำรวจจับเป็นเพียงคนเดียว ส่วนสมาชิกคนอื่นในคณะโจรปรากฏว่าเสียชีวิตทั้งหมด โดยโจ เบิร์นถูกกระสุนปืนเข้าที่หว่างขาตัดเส้นเลือดใหญ่ ทำให้เสียเลือดมากจนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนแดน เคลลี และสเตฟ ฮาร์ท จากปากคำของบาทหลวงแมททิว กิบนีย์ ซึ่งได้เข้าไปในโรงแรมเกลนโรวันอินน์ขณะเพลิงไหม้เพื่อหาผู้รอดชีวิต ได้ให้การว่าทั้งสองคนน่าจะฆ่าตัวตายโดยถอดเกราะออกแล้วต่างคนต่างก็ยิงอีกคนหนึ่งเข้าที่หัวใจเพื่อจบชีวิตพร้อมกัน ส่วนฝ่ายตำรวจนั้นบาดเจ็บเล็กน้อยเพียงคนเดียว คือ ผู้กำกับการตำรวจฟรานซิส แฮร์ (Francis Hare) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อำนวยการปราบคณะโจรเคลลีครั้งนี้ เข้าถูกกระสุนปืนที่ข้อมือแล้วหนีออกจากพื้นที่ต่อสู้ จากความขลาดกลัวของเขาที่แสดงออกดังกล่าว ทำให้ต่อมาคณะกรรมาธิการแห่งรัฐวิกตอเรียมีมติปลดแฮร์ออกจากราชการตำรวจ[8] ตัวประกันหลายคนก็ถูกยิงในเหตุการณ์นี้เช่นกัน ในจำนวนนี้ได้เสียชีวิตถึง 2 คน เจ.เจ.เคนนีลลีได้เล่าไว้ในหนังสือของเขาว่า ตัวประกันส่วนใหญ่บาดเจ็บเพราะถูกกระสุนปืนฝ่ายตำรวจที่มุ่งแต่จะระดมยิงคณะโจรเพียงอย่างเดียว มากกว่าที่จะถูกกระสุนปืนจากฝ่ายคณะโจรเคลลี

จุดจบของเน็ด เคลลี แก้

 
การพิจารณาคดีเน็ด เคลลี
 
เน็ด เคลลี ในคอกพิจารณาคดี
 
รูปหล่อศีรษะหลังเสียชีวิต (Death mask) ของเน็ด เคลลี ที่เรือนจำเก่าเมืองเมลเบิร์น

หลังถูกจับกุมที่เกลนโรวัน เน็ด เคลลีถูกจำคุกและเข้ารับการพิจารณาคดี ศาลได้พิพากษาให้เน็ด เคลลีถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอจากคดีสังหารตำรวจ 3 นายที่ลำธารสตริงจีบาร์ค ซึ่งผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้คือเซอร์ เรดมอนด์ แบรรี ผู้เคยกล่าวว่าจะตัดสินให้เน็ดเข้าคุก 15 ปีตั้งแต่ก่อนที่เน็ดจะผันตนเองมาเป็นโจร การพิจารณาคดีครั้งนี้เป็นที่กล่าวขวัญมากจากการที่เน็ดซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ได้กล่าวคำโต้ตอบกับผู้พิพากษาแบรรีหลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาแล้ว ในตอนท้ายของการโต้ตอบครั้งนั้น ผู้พิพากษาได้เอ่ยประโยคสุดท้ายตามธรรมเนียมศาลอังกฤษว่า "ขอพระเป็นเจ้าประทานความกรุณาแด่วิญญาณของท่านด้วย" ("May God have mercy on your soul") เน็ดก็ได้ตอบโต้ว่า "ข้าพเจ้าจะไปยังศาลที่ยิ่งใหญ่กว่าศาลนี้ และข้าพเจ้าจะไปรอท่านอยู่ที่นั่น" ("I will go a little further than that, and say I will see you there when I go")[9] หลังจากนั้นเน็ด เคลลี ก็ถูกแขวนคอที่เรือนจำเก่าเมืองเมลเบิร์นในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 หนังสือพิมพ์ในขณะนั้น (หนังสือพิมพ์ The Age และหนังสือพิมพ์ The Herald) ได้รายงานว่า คำพูดสุดท้ายที่เน็ดเอ่ยออกมาก่อนถูกแขวนคอคือ "นี่แหละชีวิต" ("Such is life") แต่ในบันทึกความทรงจำของผู้คุมคนหนึ่งได้เล่าไว้ว่า เมื่อเน็ดได้รับโอกาสให้พูดครั้งสุดท้าย เขาได้พูดพึมพำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผู้จดบันทึกนั้นได้ยินไม่ชัด ต่อมาเซอร์ เรดมอนด์ แบร์รีก็ถึงแก่กรรมจากการเป็นฝีที่คอเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 หลังการประหารชีวิตเน็ด เคลลีผ่านไปแล้ว 12 วัน

อนึ่ง ก่อนการประหารชีวิตเน็ด เคลลีนั้น ประชาชนจากที่ต่างๆ ในออสเตรเลียได้พากันรวบรวมรายชื่ออุทธรณ์ต่อข้าหลวงผู้สำเร็จราชการอาณานิคมวิกตอเรียเพื่อขอเว้นโทษประหารแก่เน็ด เคลลี แต่ไม่เป็นผล จำนวนรายชื่อที่รวมได้ในครั้งนั้นไม่อาจทราบแน่นอนได้ แต่ประมาณการว่ามีมากกว่า 30,000 รายชื่อขึ้นไป[10]

การค้นพบหลุมฝังศพของเน็ด แก้

ผลสืบเนื่องและบทเรียนจากคดีของเน็ด เคลลี แก้

ผลกระทบในด้านวัฒนธรรม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. 'Ned Kelly's burial site' found
  2. J. J. Kenneally, The Inner History of the Kelly Gang, p. 17.
  3. The boy's great-grandson coincidentally became an Australian Rules footballer, Ian "Bluey" Shelton and played 91 first-grade games for Essendon from 1959 to 1965 — Bluey was "as game as Ned Kelly", and played his last season with Essendon with only one eye, following a tractor accident on his farm at Avanel.[1] [2] [3][4] เก็บถาวร 2007-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Jones, p. 25
  5. O'Brien, pp. 12-16
  6. "Ah Fook". Glenrowan 1880. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-20. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  7. คำว่า bushranger ในภาษาอังกฤษหมายถึงโจรประเภทหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าเพื่อหลบหนีการไล่ล่าจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศออสเตรเลีย ในที่นี้จึงได้ใช้คำว่า "โจรป่า" เป็นคำแปลเทียบเคียงเพื่อให้ได้ความหมายใกล้เคียงกับคำเดิมมากที่สุด
  8. J.J. Kenneally, pp. 190-191
  9. "The sentencing of Edward Kelly". ironoutlaw.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-26. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  10. "REPRIEVE". ned online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-29.

อ้างอิง แก้

  • Sadleir, J., Recollections of a Victorian Police Officer, George Robertson & Co., (Melbourne), 1913. (Facsimile reprint, Penguin Books, 1973, ISBN 0-14-070037-4)
  • O'Brien, Antony (2006). Bye-Bye Dolly Gray. Hartwell: Artillery Publishing. (historical fiction with lots of Kelly oral and histories in a twisting & turning plot)
  • Brown, Max (1948). Australian Son. Melbourne: Georgian House. (plus reprints) (a sound pro-Kelly history of the events)
  • 'Cameron Letter', 14 December 1878, in Meredith, J. & Scott, B. Ned Kelly After a Century of Acrimony, Lansdowne, Sydney, 1980, pp. 63–66. (Ned Kelly's own words)
  • Gibb, D. M. (1982). National Identity and Counsciousness: Commentary and Documents. Melbourne: Nelson. (Chapter 1. Ned Kelly's view of his world and others)
  • Hare, F.A. (1892). The Last of the Bushrangers. London. (a police perspective of the 'criminal class')
  • Hobsbawm, E.J. (1972). Bandits. Ringwood: Pelican. (wide ranging world wide history on social bandits in which he argues that Ned Kelly can be better understood)
  • Jones, Ian (1995). Ned Kelly : A Short Life. Port Melbourne: Lothian. (a comprehensive and well researched piece of history and events)
  • Kenneally, J.J. (1929). Inner History of the Kelly Gang. (plus many reprints) (the first pro-Kelly piece of literature)
  • McDermott, Alex, บ.ก. (2001). The Jerilderie Letter. Melbourne: Text Publishing. (an insight into the famous Jerilderie Letter)
  • McMenomy, Keith (1984). Ned Kelly: The Authentic Illustrated Story. South Yarra: Curry O'Neill Ross. (lots of photos from the era, photos of records etc. a sound research piece)
  • McQuilton, John, The Kelly Outbreak 1788-1880; The geographical dimension of social banditry, 1979. (among the most important academic works, which expands on Hobsbawm; links the unresolved land problems to the Kelly Outbreak)
  • Penzig, Edgar, F. (1988). Bushrangers - Heroes or Villains. Katoomba: Tranter. ( a pro-police/establishment piece)
  • Deakin University (1995). The Kelly Outbreak Reader. Geelong: Deakin University. (is now hard to locate but it contains a wide selection of research documents and commentary for university level history students)
  • Turnbull, C (1942). Ned Kelly: Being his own story of his life and crimes. Melbourne: Hawthorn Press. ( very hard to locate, but Ned Kelly become a national figure)
  • Wilcox, Craig (2005). Australia's Boer War: The War in South Africa 1899-1902. South Melbourne: Oxford. (has a cartoon of 1900 depicting Ned Kelly and the gang capturing The Boer President Paul Kruger)
  • O'Brien, Phil (2002) "101 Adventures that got me Absolutely Nowhere" Vol 2 (p.92 A resemblance to Ned Kelly's makeshift body armour of a child with a pot overturned on his head)
  • Keith Dunstan, Saint Ned, (1980), chronicles lesser known aspects of Ned Kelly's life, whilst discussing the rise of the 'Kellyana' industry.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้