เนื้อหมา หมายถึง เนื้อและส่วนอื่นที่กินได้ที่มาจากหมา การบริโภคเนื้อหมาของมนุษย์มีบันทึกในหลายส่วนของโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก ทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัส[2] ปัจจุบัน มีบริโภคเนื้อหมาในหลายส่วนของประเทศจีน[3] เกาหลี[4] และเวียดนาม[5] เนื้อหมายังใช้เป็นอาหารยังชีพในยามสงครามและ/หรือประสบความยากลำบากอื่น ๆ[6][7]

เนื้อหมา
เนื้อหมา
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,096 กิโลจูล (262 กิโลแคลอรี)
0.1 g
ใยอาหาร0 g
20.2 g
19 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(0%)
3.6 μg
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.12 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(15%)
0.18 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(13%)
1.9 มก.
วิตามินซี
(4%)
3 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
8 มก.
เหล็ก
(22%)
2.8 มก.
ฟอสฟอรัส
(24%)
168 มก.
โพแทสเซียม
(6%)
270 มก.
โซเดียม
(5%)
72 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ60.1 g
คอเลสเตอรอล44.4 mg
เถ้า0.8 g
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: Yong-Geun Ann (1999)[1]

ในปัจจุบัน บางวัฒนธรรมมองว่าการบริโภคเนื้อหมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของตน ขณะที่บางวัฒนธรรมถือว่าการบริโภคเนื้อหมาไม่เหมาะสมและน่ารังเกียจด้วยเหตุผลทางสังคมและศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยโลกาภิวัฒน์ทางวัฒธรรม มีการวิจารณ์ระหว่างประเทศมากขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศตะวันตก ตลอดจนองค์การอย่างการคุ้มครองสัตว์โลก) ต่อการบริโภคเนื้อหมาและการทรมานหมาที่ถูกขังในกรงและเลี้ยงเอาเนื้อ ผู้สนับสนุนเนื้อหมาตอบโต้การวิจารณ์โดยแย้งว่า ข้อแตกต่างระหว่างปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงเป็นอัตวิสัย และไม่มีข้อแตกต่างระหว่างการกินเนื้อของสัตว์อื่น[8][9][10] ทว่า บันทึกวัฒนธรรมทางประวัตศาสตร์ในประเทศจีนบันทึกว่า ศาสนาพุทธแบบจีนห้ามบริโภคเนื้อหมา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในห้า "เนื้อต้องห้าม" นอกจากนี้ การกินหมายังถูกห้ามทั้งในกฎหมายอาหารยิว[11]และอิสลาม[12][13]

อ้างอิง แก้

  1. Ann Yong-Geun "Dog Meat Foods in Korea" เก็บถาวร 2007-10-07 ที่ Wikiwix, Table 4. Composition of dog meat and Bosintang (in 100g, raw meat), Korean Journal of Food and Nutrition 12(4) 397 – 408 (1999).
  2. Schwabe, Calvin W. (1979). Unmentionable cuisine. University of Virginia Press. p. 168. ISBN 978-0-8139-1162-5.
  3. Rupert Wingfield-Hayes (29 June 2002). "China's taste for the exotic". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
  4. Anthony L. Podberscek (2009). "Good to Pet and Eat: The Keeping and Consuming of Dogs and Cats in South Korea" (PDF). Journal of Social Issues. 65 (3): 615–632. doi:10.1111/j.1540-4560.2009.01616.x. Dog meat is eaten nationwide and all year round, although it is most commonly eaten during summer, especially on the (supposedly) three hottest days.
  5. "Vietnam's dog meat tradition". BBC News. 31 December 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-05-15.
  6. "Dachshunds Are Tenderer". Time. 25 November 1940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 20 January 2008.
  7. Mawson, Douglas (1914). The Home of the Blizzard.
  8. William Saletan (January 16, 2002). "Wok The Dog – What's wrong with eating man's best friend?". slate.com. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
  9. Ahmed Zihni (2004). "Dog Meat Dilemma". sunysb.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-05-11.
  10. John Feffer (June 2, 2002). "The Politics of Dog – When globalization and culinary practice clash". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11.
  11. Dogs are quadrupeds with paws and so are not kosher. Leviticus 11:27; Nicholas Robert Michael De Lange, An Introduction to Judaism (2000). Oxford Univ. Press: p. 90.
  12. Carnivorous animals with fangs, including lions, tigers, and wolves as well as dogs, are not Halal. Amy Christine Brown, Understanding Food: Principles and Preparation, 4th ed. (2010). Cengage: p. 4.
  13. For instance, see Wu Cheng'en, "Journey to the West" (Xi You Ji), Renmin Wenxue Chubanshe (2002).